Please use this identifier to cite or link to this item:
http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/80086
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | ศรัญญา กันตะบุตร | - |
dc.contributor.author | มยุรฉัตร บำรุงพรไพศาล | en_US |
dc.date.accessioned | 2024-10-09T11:16:02Z | - |
dc.date.available | 2024-10-09T11:16:02Z | - |
dc.date.issued | 2567-07-24 | - |
dc.identifier.uri | http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/80086 | - |
dc.description.abstract | This independent study aims to study Domestic Traveling Motivation After the COVID-19 Pandemic of Lamphun Province Residents. The data was collected by using the Questionnaires from 385 samples Lamphun Province Residents and Travelled within last one year. A Questionnaire was analyzed by using Descriptive statistics such as Frequency , Percentage and Mean and Inferential statistics such as t-test for compare between Domestic Traveling Motivated of Push and Pull Factors and Concerns of COVID-19 pandemic by Gender. Then One-Way ANOVA for compare between Domestic Traveling Motivated of Push and Pull Factors and Concerns of COVID-19 pandemic by Monthly income. The study was found that majority of respondents were females aged between 36-45 years old, with a monthly income of 30,001-45,000 baht. They primarily worked as government officials or state employees. Most of them traveled for tourism with their families, using cars to travel both to destinations in other provinces and within Lamphun province. Their most frequently visited destination province for tourism was Chiang Mai. They favored natural mountainous attractions, typically staying for 1-2 nights during their trips. They did not participate in any government policy, preferred staying at resorts, and spent between 15,001-20,000 baht on their trips. The main reason for their domestic tourism was the perceived affordability of travel expenses are not expensive The study of push motivations, The highest average of Sub-factors in each part such as Self-discovery is I sought to visit places highly valued and admired by the majority. Local experiences is I learn about arts, culture, history, and philosophy. Building relationships through new experiences is I sought to visit diverse landscapes. Escape is to reduce stress, pressure, anxiety, and dissatisfaction. Self-rejuvenation is restore balance in their lives. Self-development is cultivate spiritual values in life. Belief and faith is blessings or made wishes for their lives. The study of pull motivations, The highest average of Sub-factors in each part such as Engaging narratives is I deeply researched and studied the stories and origins of tourist destinations before traveling. SHA policy is I chose tourist destinations that implemented body temperature checks upon entry. Convenience of tourist destinations is I preferred tourist destinations with a pleasant atmosphere over compelling narratives. Local food and activities is I selected tourist destinations with diverse shopping options. Popular trends is I chose tourist destinations based on their reputation or popularity. Sports and festivals is tour services that provided access to history or culture. Beauty and safety is selected tourist attractions are safe. Privacy is I chose tourist destinations accessible by private vehicle. The study of concerns related to the COVID-19 situation .The highest average of Sub-factors in each part such as Social interactions is worried about traveling in public places. Economic is concerned that household income might not be sufficient to sustain living expenses. Health is worried that family members might contract COVID-19. Classified by Gender. It was found that there were differences in some sub-factors of Push factors such as Self-discovery, Local experiences, Adventure. Some sub-factors of Pull factors such as Engaging narrative and concerns related to the COVID-19 situation such as Social Interaction, Economic. Classified by Monthly income. It was found that there were differences in some sub-factors of Push factors such as Self-discovery, Local Experiences, Adventure, Self-rejuvenation Some sub-factors of Pull factors such as Deep Storie, SHA Policy, Sports and Festivals, Privacy and concerns related to the COVID-19 situation such as Social Interaction, Health. | en_US |
dc.language.iso | other | en_US |
dc.publisher | เชียงใหม่ : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ | en_US |
dc.subject | แรงจูงใจในการท่องเที่ยว | en_US |
dc.subject | การแพร่ระบาดของ โควิด-19 | en_US |
dc.subject | Domestic Traveling Motivation After COVID-19 | en_US |
dc.title | แรงจูงใจในการท่องเที่ยวภายในประเทศหลังการแพร่ระบาดของโควิด-19 ของผู้อาศัยในจังหวัดลำพูน | en_US |
dc.title.alternative | Domestic traveling motivation after COVID-19 pandemic of Lamphun Province residents | en_US |
dc.type | Independent Study (IS) | |
thailis.controlvocab.thash | การจูงใจ (จิตวิทยา) | - |
thailis.controlvocab.thash | ไทย -- ภูมิประเทศและการท่องเที่ยว | - |
thailis.controlvocab.thash | การท่องเที่ยว | - |
thailis.controlvocab.thash | การเดินทาง | - |
thailis.controlvocab.thash | พฤติกรรมผู้บริโภค -- ลำพูน | - |
thailis.controlvocab.thash | การระบาดใหญ่ของโควิด-19, ค.ศ. 2020- | - |
thesis.degree | master | en_US |
thesis.description.thaiAbstract | การค้นคว้าแบบอิสระฉบับนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาแรงจูงใจในการท่องเที่ยวภายในประเทศหลังการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ของผู้อาศัยในจังหวัดลำพูนโดยใช้แรงจูงใจแบบผลักดัน แรงจูงใจแบบดึงดูด และความกังวลใจที่มีต่อสถานการณ์โควิด-19 เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยแบบสอบถามจากกลุ่มตัวอย่างจำนวน 385 ราย วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพรรณนา ได้แก่ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และใช้สถิติอนุมาน ได้แก่ t-test เพื่อเปรียบเทียบความแตกต่างของค่าเฉลี่ยระดับความคิดเห็นต่อแรงจูงใจในการท่องเที่ยวภายในประเทศหลังการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 และความกังวลใจที่มีต่อสถานการณ์โควิด-19 จำแนกตามเพศ ใช้ One-way ANOVA เพื่อเปรียบเทียบความแตกต่างของค่าเฉลี่ยระดับความคิดเห็นต่อแรงจูงใจในการท่องเที่ยวภายในประเทศหลังการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 และความกังวลใจที่มีต่อสถานการณ์โควิด-19 จำแนกตามรายได้ต่อเดือน ผลจากการศึกษาพบว่าผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง อายุ 36-45 ปี มีรายได้ต่อเดือน 30,001-45,000 บาท มีอาชีพรับราชการ/พนักงานของรัฐ ส่วนใหญ่เดินทางท่องเที่ยวกับครอบครัว ใช้รถยนต์ในการเดินทางท่องเที่ยวไปจังหวัดปลายทางและภายในจังหวัด เคยเดินทางท่องเที่ยวจังหวัดเชียงใหม่มากที่สุด ชื่นชอบแหล่งท่องเที่ยวแนวธรรมชาติภูเขา ใช้ระยะเวลาในการท่องเที่ยวแบบค้าง 1-2 คืน ไม่เข้าร่วมโครงการใดของภาครัฐ เลือกพักที่รีสอร์ท มีค่าใช้จ่ายในการท่องเที่ยว 15,001-20,000 บาท เหตุผลส่วนใหญ่ในการท่องเที่ยวภายในประเทศคือค่าใช้จ่ายในการท่องเที่ยวไม่แพง ผลการศึกษาแรงจูงใจแบบผลักดัน พบว่าปัจจัยย่อยที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุดในแต่ละด้านเป็นดังนี้ ด้านการการค้นหาตัวเอง ได้แก่ เพื่อไปเยือนสถานที่ที่คนส่วนใหญ่ให้ความสำคัญและชื่นชม ด้านการมีประสบการณ์ในท้องถิ่น ได้แก่ เพื่อเรียนรู้ในศิลปะวัฒนธรรม ประวัติศาสตร์และหลักปรัชญาด้านการผจญภัย ได้แก่ เพื่อความรู้สึกตื่นเต้นเร้าใจและสัมผัสประสบการณ์ที่คาดไม่ถึง ด้านการเสริมสร้างความสัมพันธ์ด้วยประสบการณ์ใหม่ ได้แก่ เพื่อเยี่ยมชมทิวทัศน์ที่แตกต่าง ด้านการหลีกหนี ได้แก่ เพื่อลดความเครียด แรงกดดัน ความวิตกกังวล และความไม่พอใจ ด้านการเติมพลังให้ตัวเอง ได้แก่ เพื่อคืนความสมดุลให้ชีวิต ด้านการพัฒนาตัวเอง ได้แก่ เพื่อสร้างคุณค่าทางจิตใจให้กับชีวิต ด้านความเชื่อความศรัทธา ได้แก่ เพื่อเป็นสิริมงคลต่อชีวิตหรือการขอพร ผลการศึกษาแรงจูงใจแบบดึงดูด พบว่าปัจจัยย่อยที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุดในแต่ละด้านเป็นดังนี้ ด้าน เรื่องราวที่ลึกซึ้ง ได้แก่ ฉันอ่านและศึกษาเรื่องราว ที่มาของแหล่งท่องเที่ยวก่อนเดินทางอย่างลึกซึ้ง ด้านนโยบาย SHA ได้แก่ ฉันเลือกแหล่งท่องเที่ยวที่มีการตรวจวัดอุณหภูมิร่างกาย เวลาเข้าพื้นที่ท่องเที่ยว ด้านความสะดวกของแหล่งท่องเที่ยว ได้แก่ ฉันเลือกแหล่งท่องเที่ยวด้วยบรรยากาศมากกว่าเรื่องราวของแหล่งท่องเที่ยว ด้านอาหารและกิจกรรมท้องถิ่น ได้แก่ ฉันเลือกแหล่งท่องเที่ยวที่มีแหล่งช้อปปิ้งที่หลากหลาย ด้านเรื่องราวที่เป็นกระแสนิยม ได้แก่ ฉันเลือกแหล่งท่องเที่ยวจากความมีชื่อเสียงหรือเป็นที่นิยม ด้านกีฬาและเทศกาล ได้แก่ ฉันให้ความสำคัญกับการบริการนำเที่ยวที่ทำให้ฉันเข้าถึงประวัติศาสตร์หรือวัฒนธรรม ด้านความสวยงามและปลอดภัย ได้แก่ ฉันเลือกแหล่งท่องเที่ยวที่สถานที่ท่องเที่ยวมีความปลอดภัย ด้านความเป็นส่วนตัว ได้แก่ ฉันเลือกแหล่งท่องเที่ยวที่สามารถเดินทางไปได้ด้วยรถส่วนตัว ผลการศึกษาความกังวลใจที่มีต่อสถานการณ์โควิด-19 พบว่าปัจจัยย่อยที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุดในแต่ละด้านเป็นดังนี้ ด้านการมีปฏิสัมพันธ์ในสังคม ได้แก่ ฉันกังวลเรื่องการเดินทางในที่สาธารณะด้านเศรษฐกิจ ได้แก่ ฉันกังวลว่ารายได้ของครัวเรือนทั้งหมดในขณะนั้นไม่เพียงพอในการดำรงชีวิต ด้านสุขภาพ ได้แก่ ฉันกังวลว่าคนในครอบครัวจะติดเชื้อโควิด เมื่อจำแนกตามเพศ พบว่ามีความแตกต่างกันบางปัจจัยย่อยของแรงจูงใจแบบผลักดัน ได้แก่ ด้านการค้นหาตัวเอง ด้านการมีประสบการณ์ในท้องถิ่น ด้านการผจญภัย แรงจูงใจแบบดึงดูดได้แก่ ด้านเรื่องราวที่ลึกซึ้ง และความกังวลใจที่มีต่อสถานการณ์โควิด-19 ได้แก่ ด้านการมีปฏิสัมพันธ์ในสังคม ด้านเศรษฐกิจ เมื่อจำแนกตามรายได้ต่อเดือน พบว่าความแตกต่างกันในบางปัจจัยย่อยของแรงจูงใจแบบผลักดัน ได้แก่ ด้านการค้นหาตัวเอง ด้านการมีประสบการณ์ในท้องถิ่น ด้านการผจญภัย ด้านการเติมพลังให้กับตัวเอง แรงจูงใจแบบดึงดูด ได้แก่ ด้านเรื่องราวที่ลึกซึ้ง ด้านนโยบายSHA ด้านกีฬาและเทศกาล ด้านความเป็นส่วนตัว และความกังวลใจที่มีต่อสถานการณ์โควิด-19 ได้แก่ ด้านการมีปฏิสัมพันธ์ในสังคม ด้านสุขภาพ | en_US |
Appears in Collections: | BA: Independent Study (IS) |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
641532100-มยุรฉัตรรวม บำรุงพรไพศาล.pdf | 1.33 MB | Adobe PDF | View/Open Request a copy |
Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.