Please use this identifier to cite or link to this item:
http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/80075
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | วิลาวัณย์ เตือนราษฎร์ | - |
dc.contributor.advisor | ศิวพร อึ้งวัฒนา | - |
dc.contributor.author | สุประวีณ์ วิภูศิริ | en_US |
dc.date.accessioned | 2024-10-06T09:28:29Z | - |
dc.date.available | 2024-10-06T09:28:29Z | - |
dc.date.issued | 2567-06-18 | - |
dc.identifier.uri | http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/80075 | - |
dc.description.abstract | Outbreaks of respiratory infections in children aged 0-4 years at early child development centers have been continuously increasing. Therefore, screening for respiratory infections by teachers at these centers is crucial in preventing occurrence of the disease. This quasi-experimental research, using a two-group pretest-posttest design, aimed to study the effects of an experiential learning program on the respiratory infection screening practices of teachers in early child development centers. The sample consisted of 48 teachers from these centers, divided into a control group of 24 and an experimental group of 24, selected through purposive sampling. The research tools used included: 1) tools for conducting the research: an experiential learning program developed by the researcher based on experiential learning theory, spanning 6 weeks, along with PowerPoint presentations, video media, a manual, and a demonstration kit for respiratory infection screening practices; and 2) tools for data collection: an evaluation form for respiratory infection screening practices in children, which was reviewed and revised by six experts, achieving a content validity index of 1 and a reliability of 0.83 Participants’ general data was analyzed using descriptive statistics, paired t-test, and independent t-test statistics. The results showed that the group that received the program had a statistically significantly higher average score for respiratory infection screening practices after receiving the program compared to before receiving it (p < .001). Moreover, after receiving the program, the experimental group had a statistically significantly higher average score for respiratory infection screening practices than the control group (p = .001). The research findings can be used to promote effective respiratory infection screening practices by teachers in early child development centers. | en_US |
dc.language.iso | other | en_US |
dc.publisher | เชียงใหม่ : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ | en_US |
dc.subject | ผลของโปรแกรมการเรียนรู้เชิงประสบการณ์ | en_US |
dc.subject | การปฏิบัติการคัดกรอง | en_US |
dc.subject | โรคติดเชื้อระบบทางเดินหายใจ | en_US |
dc.subject | ครูในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก | en_US |
dc.subject | การติดเชื้อ | en_US |
dc.subject | Effect of the Experiential Learning Program | en_US |
dc.subject | Screening Practices | en_US |
dc.subject | Teachers in Child Development Centers | en_US |
dc.subject | Infection | en_US |
dc.subject | Respiratory Tract Infection | en_US |
dc.title | ผลของโปรแกรมการเรียนรู้เชิงประสบการณ์ต่อการปฏิบัติการคัดกรองโรคติดเชื้อระบบทางเดินหายใจของครูในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก | en_US |
dc.title.alternative | Effect of the experiential learning program on respiratory tract infection screening practices of teachers in Child Development Centers | en_US |
dc.type | Thesis | |
thailis.controlvocab.thash | การตรวจคัดโรค | - |
thailis.controlvocab.thash | การติดเชื้อในเด็ก | - |
thailis.controlvocab.thash | ทางเดินหายใจติดเชื้อ | - |
thailis.controlvocab.thash | ทางเดินหายใจ -- โรค | - |
thailis.controlvocab.thash | เด็ก -- โรค | - |
thailis.controlvocab.thash | การประเมินความเสี่ยงด้านสุขภาพ | - |
thailis.controlvocab.thash | ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก | - |
thesis.degree | master | en_US |
thesis.description.thaiAbstract | การระบาดของโรคติดเชื้อระบบทางเดินหายใจในเด็กอายุ 0-4 ปี ในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง การปฏิบัติการคัดกรองโรคติดเชื้อระบบทางเดินหายใจของครูในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กจึงมีความสำคัญอย่างยิ่งในการป้องกันการเกิดโรค การศึกษาวิจัยกึ่งทดลอง (Quasi–experimental research) แบบสองกลุ่มวัดผลก่อนและหลัง (two group pretest-posttest design) นี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมการเรียนรู้เชิงประสบการณ์ต่อการปฏิบัติการคัดกรองโรคติดเชื้อระบบทางเดินหายใจของครูในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก กลุ่มตัวอย่างคือ ครูในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก จำนวน 48 คน แบ่งออกเป็น กลุ่มควบคุม 24 คน กลุ่มทดลอง 24 คน คัดเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง (purposive sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย 1) เครื่องมือที่ใช้ในการดำเนินการวิจัย ได้แก่ โปรแกรมการเรียนรู้เชิงประสบการณ์ ที่ผู้วิจัยได้พัฒนาขึ้นมาจากทฤษฎีการเรียนรู้เชิงประสบการณ์ (Experiential learning) ระยะเวลา 6 สัปดาห์ สื่อ Power Point สื่อวิดีทัศน์ คู่มือ และชุดอุปกรณ์สาธิตการปฏิบัติการคัดกรองโรคติดเชื้อระบบทางเดินหายใจ 2) เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลได้แก่ แบบประเมินการปฏิบัติการคัดกรองโรคติดเชื้อระบบทางเดินหายใจในเด็ก ซึ่งผ่านการตรวจสอบและแก้ไข จากผู้ทรงคุณวุฒิจำนวน 6 ท่าน ได้ค่าความเที่ยงตรงของเนื้อหา (content validity index) เท่ากับ 1 และค่าความเชื่อมั่น (reliability) เท่ากับ 0.83 วิเคราะห์ข้อมูลทั่วไปของกลุ่มอย่าง ด้วยสถิติเชิงพรรณนา สถิติ Pair t-test และสถิติ independent t-test ผลการวิจัยพบว่า กลุ่มที่ได้รับโปรแกรมฯ มีคะแนนเฉลี่ยการปฏิบัติการคัดกรองโรคติดเชื้อระบบทางเดินหายใจของครูในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กภายหลังได้รับโปรแกรมฯ สูงกว่าก่อนเข้าร่วมโปรแกรมฯ แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < .001) และภายหลังได้รับโปรแกรมฯ กลุ่มที่ได้รับโปรแกรมฯ มีคะแนนเฉลี่ยการปฏิบัติการคัดกรองโรคติดเชื้อระบบทางเดินหายใจของครูในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กสูงกว่ากลุ่มที่ไม่ได้รับโปรแกรมฯ แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p = .001) ผลการวิจัยสามารถนำไปใช้ส่งเสริมให้ครูในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กปฏิบัติการคัดกรองโรคติดเชื้อระบบทางเดินหายใจในเด็กได้อย่างมีประสิทธิภาพ | en_US |
Appears in Collections: | NURSE: Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
631231005 - สุประวีณ์ วิภูศิริ - watermark.pdf | 3.36 MB | Adobe PDF | View/Open Request a copy |
Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.