Please use this identifier to cite or link to this item: http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/80055
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorพิชญลักษณ์ พิชญกุล-
dc.contributor.authorฮุ่ยซิน, เซียวen_US
dc.date.accessioned2024-09-23T09:51:24Z-
dc.date.available2024-09-23T09:51:24Z-
dc.date.issued2024-08-15-
dc.identifier.urihttp://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/80055-
dc.description.abstractThe objective of this independent research study is to investigate the satisfaction of Chinese tourists towards tourism in Nimmanhaemin area, of Chiang Mai Province. An online questionnaire was used as the data collection tool. The sample group consisted of 400 Chinese tourists who had previously visited the Nimmanhaemin area. The study employed the 5As tourism components theory to assess tourist satisfaction, which includes five factors: accessibility, accommodation, attractions, activities, and ancillary services. The collected data were analyzed using descriptive statistics including percentages, means, and standard deviations, along with Importance-Performance Analysis (IPA), which categorizes results into four quadrants (A, B, C, D). The findings reveal that most respondents were female, aged between 21-30 years, with a bachelor's degree, single, and self-employed, earning an average monthly income of 4,000-5,000 yuan. They traveled with family and learned about the Nimmanhaemin area through WeChat application. The respondents rated the importance of all of the five factors as very high, ranked by average values as follows: accommodation, accessibility, activities, ancillary services, and attractions. In terms of satisfaction, respondents rated all five factors highly, with the following order by mean: activities, attractions, accommodation, ancillary services, and accessibility. The IPA analysis showed that accessibility and accommodation fall into Quadrant A (important to Chinese tourist satisfaction but not well-addressed). Attractions and activities are in Quadrant D (less important to satisfaction but well-addressed). Ancillary services fall into Quadrant C (less important and not well-addressed).en_US
dc.language.isootheren_US
dc.publisherเชียงใหม่ : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่en_US
dc.subjectนักท่องเที่ยวชาวจีน ย่านนิมมานเหมินท์ ความพึงพอใจ Chinese tourists Nimmanhaemin area Satisfactionen_US
dc.titleความพึงพอใจของนักท่องเที่ยวชาวจีนต่อการท่องเที่ยวในย่านนิมมานเหมินท์ จังหวัดเชียงใหม่en_US
dc.title.alternativeSatisfaction of chinese tourists towards tourism in Nimmanhaemin area, Chiang Mai provinceen_US
dc.typeIndependent Study (IS)
thailis.controlvocab.thashนักท่องเที่ยว -- จีน-
thailis.controlvocab.thashย่านนิมมานเหมินท์-
thailis.controlvocab.thashความพอใจของผู้บริโภค -- จีน-
thesis.degreemasteren_US
thesis.description.thaiAbstractการศึกษาค้นคว้าอิสระในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักท่องเที่ยวชาวจีนต่อการท่องเที่ยวในย่านนิมมานเหมินท์ จังหวัดเชียงใหม่ โดยใช้แบบสอบถามออนไลน์เป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล กลุ่มตัวอย่าง คือ นักท่องเที่ยวชาวจีนที่เคยเดินทางมาท่องเที่ยวในย่านนิมมานเหมินท์ จังหวัดเชียงใหม่ จำนวน 400 คน โดยใช้ทฤษฎีองค์ประกอบการท่องเที่ยว 5As ในการจัดทำแบบสอบถามความพึงพอใจของนักท่องเที่ยวซึ่งประกอบด้วยปัจจัย 5 ด้าน ได้แก่ ด้านการเข้าถึงแหล่งท่องเที่ยว ด้านการมีที่พักเพื่อรองรับนักท่องเที่ยว ด้านสิ่งดึงดูดใจทางแหล่งท่องเที่ยว ด้านกิจกรรมการท่องเที่ยว และด้านบริการเบ็ดเตล็ดทั้งหมดที่มีให้นักท่องเที่ยว จากนั้นนำข้อมูลที่ได้มาวิเคราะห์ด้วยสถิติพรรณนา ประกอบด้วย ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์ความสำคัญและความพึงพอใจโดยใช้เครื่องมือ Importance-Performance Analysis (IPA) โดยแบ่งเป็น 4 Quadrants (A, B, C, D) จากผลการศึกษาพบว่าผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่เป็นเพศหญิงมากที่สุด มีอายุระหว่าง 21-30 ปี สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี สถานภาพยังไม่สมรส มีอาชีพรับจ้างอิสระ มีรายได้เฉลี่ยต่อเดือน 4,000 หยวน – 5,000 หยวน เดินทางมาเที่ยวกับครอบครัว และนักท่องเที่ยวชาวจีนส่วนใหญ่รู้จักย่านนิมมานเหมินท์ จังหวัดเชียงใหม่จากแอพพลิเคชั่น WeChat ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่ให้ความสำคัญต่อปัจจัยทั้ง 5 ด้านในระดับมากที่สุด โดยเรียงลำดับตามค่าเฉลี่ยจากมากไปน้อยได้ดังนี้ ปัจจัยด้านการมีที่พักเพื่อรองรับนักท่องเที่ยว รองลงมา คือ ปัจจัยด้านการเข้าถึงแหล่งท่องเที่ยว ปัจจัยด้านกิจกรรมการท่องเที่ยว ปัจจัยด้านบริการเบ็ดเตล็ดทั้งหมดที่มีให้นักท่องเที่ยว และปัจจัยด้านสิ่งดึงดูดใจทางแหล่งท่องเที่ยว ตามลำดับ ในส่วนความพึงพอใจ ผู้ตอบแบบสอบถามมีความพึงพอใจต่อปัจจัยทั้ง 5 ด้านอยู่ในระดับมาก โดยเรียงลำดับตามค่าเฉลี่ยจากมากไปน้อยได้ดังนี้ ปัจจัยด้านกิจกรรมการท่องเที่ยว รองลงมา คือ ปัจจัยด้านสิ่งดึงดูดใจทางแหล่งท่องเที่ยว ปัจจัยด้านมีที่พักเพื่อรองรับนักท่องเที่ยว ปัจจัยด้านบริการเบ็ดเตล็ดทั้งหมดที่มีให้นักท่องเที่ยว และปัจจัยด้านการเข้าถึงแหล่งท่องเที่ยว ตามลำดับ และการวิเคราะห์ IPA พบว่า ปัจจัยด้านการเข้าถึงแหล่งท่องเที่ยว และปัจจัยด้านการมีที่พักเพื่อรองรับนักท่องเที่ยว อยู่ใน Quadrant A (มีสำคัญต่อความพึงพอใจของนักท่องเที่ยวชาวจีน แต่ยังไม่ได้รับการตอบสนองที่ดี) ปัจจัยด้านสิ่งดึงดูดใจทางแหล่งท่องเที่ยว และปัจจัยด้านกิจกรรมการท่องเที่ยว อยู่ใน Quadrants D (มีความสำคัญน้อยต่อความพึงพอใจของนักท่องเที่ยวชาวจีน และได้รับการตอบสนองที่ดี) ปัจจัยด้านบริการเบ็ดเตล็ดทั้งหมดที่มีให้นักท่องเที่ยว อยู่ใน Quadrants C (มีสำคัญน้อยต่อความพึงพอใจของนักท่องเที่ยวชาวจีน และไม่ได้รับการตอบสนองที่ดี)en_US
Appears in Collections:BA: Independent Study (IS)

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
651532067-Huixin Xiao.pdf2.15 MBAdobe PDFView/Open    Request a copy


Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.