Please use this identifier to cite or link to this item:
http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/80028
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | ธารณ์ ทองงอก | - |
dc.contributor.advisor | ยงยุทธ ยะบุญธง | - |
dc.contributor.author | แพรวสุดา ไชยต๊ะ | en_US |
dc.date.accessioned | 2024-09-06T01:07:20Z | - |
dc.date.available | 2024-09-06T01:07:20Z | - |
dc.date.issued | 2024-06-28 | - |
dc.identifier.uri | http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/80028 | - |
dc.description.abstract | The purpose of this study is 1) To study the management conditions of short-term vocational courses for students at Chiang Mai Polytechnic College. 2) To study guidelines for administering short-term vocational courses to raise labor skill standards. 3) To create and examine guidelines for administering short-term vocational courses to raise labor skill standards for students at Chiang Mai Polytechnic College. There are 3 study steps: Step 1: Study of the management conditions of short-term vocational courses for students at Chiang Mai Polytechnic College. Target group used in the study There were a total of 32 people. The tool used in the study was a questionnaire. Step 2: Study of guidelines for administering short-term vocational courses to raise the standard of labor skills with good practices. Target group used in this study Choose specifically A total of 9 informants were used. The tool used in the study was a structured interview. Step 3: Creation and examination of guidelines for administering short-term vocational courses to raise the skill standards of students at Chiang Mai Polytechnic College. The target group used by Purposive Sampling included 5 experts from outside the educational institution. Tools used in the study It is a quality check form in 3 areas: correctness, appropriateness, and feasibility. The Results of the study can be summarized as follows: 1) Conditions of administration of short-term vocational courses for students at Chiang Mai Polytechnic College. Overall it is at a high level (µ= 3.91, σ = 0.73) when considering each aspect. Arranged in order of average values from highest to lowest, namely planning the use of educational institution curricula (µ= 4.16, σ = 0.79), followed by The aspect of preparing the educational institution curriculum (µ = 3.98, σ = 0.64), followed by the aspect of using the educational institution curriculum (µ = 3.95, σ = 0.79), followed by the aspect of evaluating the educational institution curriculum (µ = 3.80, σ = 0.80) and the needs of the labor market and establishments (µ = 3.65, σ = 0.62), respectively. From interviews with experts studying guidelines for managing short vocational courses to raise labor skill standards with good practices, it was found that the director of the educational institution Deputy Director of Educational Institution Director of the Skill Development Center and skilled labor trainers Under the Department of Skill Development has proposed guidelines in the area of Following up on the performance of graduates from the workplace Determine the desired characteristics of learners in accordance with the Department of Skill Development. Integrating the skills testing criteria for each profession into the curriculum The academic department is required to invite experts in educational supervision to continuously monitor the results of the curriculum implementation. and the most important part to achieve the objective Educational institutions should arrange for all students to take a skill standard test. and passed the test from the Department of Skill Development From drafting and reviewing guidelines for managing short-term vocational courses to raise the skill standards of Chiang Mai Polytechnic College students. It consists of a 5-component guideline with results of verification, accuracy, appropriateness, and feasibility. Overall it is at the highest level. and passed the criteria that have been set in every aspect | en_US |
dc.language.iso | other | en_US |
dc.publisher | เชียงใหม่ : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ | en_US |
dc.title | แนวทางการบริหารหลักสูตรวิชาชีพระยะสั้นเพื่อยกระดับ มาตรฐานฝีมือแรงงานของนักศึกษาวิทยาลัยสารพัดช่างเชียงใหม่ | en_US |
dc.title.alternative | Guidelines for administrating vocational short-courses to enhance labor skill standards of students in Chiang Mai Polytechnic College | en_US |
dc.type | Independent Study (IS) | |
thailis.controlvocab.thash | การฝึกอาชีพ | - |
thailis.controlvocab.thash | อาชีวศึกษา -- หลักสูตร | - |
thailis.controlvocab.thash | วิทยาลัยสารพัดช่าง -- เชียงใหม่ | - |
thesis.degree | master | en_US |
thesis.description.thaiAbstract | การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1)เพื่อศึกษาสภาพการบริหารหลักสูตรวิชาชีพระยะสั้นของผู้เรียนวิทยาลัยสารพัดช่างเชียงใหม่ 2)เพื่อศึกษาแนวทางบริหารหลักสูตรวิชาชีพระยะสั้นเพื่อยกระดับมาตรฐานฝีมือแรงงาน 3) เพื่อจัดทำและตรวจสอบแนวทางบริหารหลักสูตรวิชาชีพระยะสั้นเพื่อยกระดับมาตรฐานฝีมือแรงงานของผู้เรียนวิทยาลัยสารพัดช่างเชียงใหม่ ซึ่งมีขั้นตอนการศึกษา 3 ขั้นตอน คือ ขั้นตอนที่ 1 การศึกษาสภาพการบริหารหลักสูตรวิชาชีพระยะสั้นของผู้เรียนวิทยาลัยสารพัดช่างเชียงใหม่ กลุ่มเป้าหมายที่ใช้ในการศึกษา รวมจำนวนทั้งหมด 32 คน เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา คือ แบบสอบถาม ขั้นตอนที่ 2 การศึกษาแนวทางบริหารหลักสูตรวิชาชีพระยะสั้นเพื่อยกระดับมาตรฐานฝีมือแรงงานที่มีแนวปฏิบัติที่ดี กลุ่มเป้าหมายที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ เลือกแบบเจาะจง ใช้กลุ่มผู้ให้ข้อมูลจำนวนทั้งสิ้น 9 คน เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา คือ แบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้าง ขั้นตอนที่ 3 การจัดทำและตรวจสอบแนวทางบริหารหลักสูตรวิชาชีพระยะสั้นเพื่อยกระดับมาตรฐานฝีมือแรงงานของผู้เรียนวิทยาลัยสารพัดช่างเชียงใหม่ กลุ่มเป้าหมายที่ใช้โดยการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) ได้แก่ ผู้ทรงคุณวุฒิจากภายนอกสถานศึกษา จำนวน 5 คน เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา คือแบบตรวจสอบคุณภาพ 3 ด้าน ได้แก่ ความถูกต้อง ความเหมาะสม ความเป็นไปได้ ผลการศึกษาสรุปได้ดังนี้ 1) สภาพการบริหารหลักสูตรวิชาชีพระยะสั้นของผู้เรียนวิทยาลัยสารพัดช่างเชียงใหม่ โดยรวมอยู่ในระดับมาก (µ= 3.91, σ = 0.73) เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน เรียงตามลำดับค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อย ได้แก่ ด้านการวางแผนการใช้หลักสูตรสถานศึกษา (µ= 4.16 , σ = 0.79) รองลงมาได้แก่ ด้านการจัดทำหลักสูตรสถานศึกษา (µ = 3.98 , σ = 0.64) ตามด้วย ด้านการใช้หลักสูตรสถานศึกษา (µ = 3.95, σ = 0.79) รองลงมาในด้านการประเมินผลหลักสูตรสถานศึกษา (µ = 3.80, σ = 0.80) และด้านความต้องการของตลาดแรงงานและสถานประกอบการ (µ = 3.65, σ = 0.62) ตามลำดับ จากการสัมภาษณ์ผู้เชี่ยวชาญการศึกษาแนวทางบริหารหลักสูตรวิชาชีพระยะสั้นเพื่อยกระดับมาตรฐานฝีมือแรงงานที่มีแนวปฏิบัติที่ดี พบว่า ผู้อำนวยการสถานศึกษา รองผู้อำนวยการสถานศึกษา ผู้อำนวยการศูนย์พัฒนาฝีมือแรงงาน และครูฝึกฝีมือแรงงาน สังกัดกรมพัฒนาฝีมือแรงงาน ได้เสนอแนวปฏิบัติในด้านของ การติดตามผลการปฏิบัติงานของผู้จบการศึกษาจากสถานประกอบการ กำหนดคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของผู้เรียนให้สอดคล้องกับกรมพัฒนาฝีมือแรงงาน การนำเกณฑ์การทดสอบฝีมือแรงงานของแต่ละวิชาชีพมาผนวกเข้ากับหลักสูตร กำหนดให้ฝ่ายวิชาการมีการเชิญผู้ทรงคุณวุฒิ ศึกษานิเทศก์ มาติดตามผลการใช้หลักสูตรอย่างต่อเนื่อง และส่วนสำคัญที่สุดเพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ สถานศึกษาควรจัดให้ผู้เรียนทุกคนเข้ารับการทดสอบมาตรฐานฝีมือแรงงาน และผ่านการทดสอบจากกรมพัฒนาฝีมือแรงงาน จากการร่างและตรวจสอบแนวทางการบริหารหลักสูตรวิชาชีพระยะสั้นเพื่อยกระดับมาตรฐานฝีมือแรงงานของผู้เรียนวิทยาลัยสารพัดช่างเชียงใหม่ ประกอบด้วยแนวทาง 5 องค์ประกอบ มีผลการตรวจสอบ ความถูกต้อง ความเหมาะสม และความเป็นไปได้ โดยรวมอยู่ระดับมากที่สุด และผ่านเกณฑ์ที่ได้กําหนดไว้ทุกด้าน | en_US |
Appears in Collections: | EDU: Independent Study (IS) |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
650232077 แพรวสุดา ไชยต๊ะ.pdf | 11.37 MB | Adobe PDF | View/Open Request a copy |
Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.