Please use this identifier to cite or link to this item: http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/80016
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorศรัญญา กันตะบุตร-
dc.contributor.authorกานต์ชนิต สุภาพรen_US
dc.date.accessioned2024-09-03T09:37:48Z-
dc.date.available2024-09-03T09:37:48Z-
dc.date.issued2024-07-18-
dc.identifier.urihttp://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/80016-
dc.description.abstractThis independent study aims to study Domestic Traveling Motivation After the COVID-19 Pandemic of Generation X in Chiang Mai Province. The data was collected by using the Questionnaires from 385 samples Thai Generation X Tourist Who was born between 1965-1980, Living in Chiang Mai and Travelled within last one year. A Questionnaire was analyzed by using Descriptive statistics such as Frequency , Percentage and Mean and Inferential statistics such as t-test (Independent-Sample t-test) for compare between Domestic Traveling Motivated of Push and Pull Factors and Concerns of COVID-19 pandemic by Gender and Age Groups. Then One-Way ANOVA for compare between Domestic Traveling Motivated of Push and Pull Factors and Concerns of COVID-19 pandemic by Monthly income. The results of an Independent study found that The most of the respondents were female aged between 43-50 years old, State enterprise officer and Government employees and earning monthly income more than 50,000 baht. Travel with families and took private car for traveling to destination province and inside province. Most of them went to Chiang Rai. They preferred natural sea attractions. Spend 1-2 nights traveling and didn't use of any government sponsored . The respondents preferred hotel for vacation. The average expense were during 10,001-20,000 baht and The reasons for choosing to travel in domestic is The travel expenses are not expensive. In terms of Motivation, respondents place agree on the Push factors. The highest average of sub-factors in each part such as Finding Yourself is For being free and decided to do something on my own . Local Experiences is Exploring nature. Adventure is To be the first person to travel to places that those around us have never been to. Building Relationships With New Experiences is Visiting in diverse landscapes. Avoidance is Reducing stress, Pressure, and Anxiety. Recharge Yourself is Bring balance back into your life. Improving Yourself is Building sentimental value to yourself. Believe and Faith is Create positive karma for life and blessings. The results showed that the overall average opinion toward Push factors was in agreement for all factors. The top three Push factors with the highest average ratings were Enhancing relationships through new experiences, Re-energizing oneself, and Personal development. The results showed that the overall average opinion toward Pull factors was in agreement for all factors. The top three Pull factors with the highest average ratings were Beauty and safety, followed by the Convenience of tourist attractions, and Popular trends, respectively. The results showed that the overall average opinion toward Concerns regarding the COVID-19 situation was in agreement for two factors such as Economic and Health. The average opinion on Social interaction was at a moderate level of agreement. When classified by gender it was found that there were differences in some sub-factors of the Push factors, such as the Escape. Pull factors related to Profound stories, and concerns about Social interaction in the COVID-19 situation. When classified by age it was found that there were differences in some sub-factors of the Push factors, such as Self-discovery and the Adventure, as well as the Pull factors related to Popular trends and Privacy, and concerns about Health in the COVID-19 situation. When classified by monthly income it was found that there were differences in some sub-factors of the Push factors, such as The local experiences and the Adventure, as well as the Pull factors related to Profound stories, SHA policies, The convenience of tourist attractions, Local food and activities, and concerns about Economic and Health aspects of the COVID-19 situation.en_US
dc.language.isootheren_US
dc.publisherเชียงใหม่ : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่en_US
dc.titleแรงจูงใจในการท่องเที่ยวภายในประเทศหลังการแพร่ระบาดของโควิด-19 ของเจเนอเรชันเอ็กซ์ในจังหวัดเชียงใหม่en_US
dc.title.alternativeDomestic traveling motivation after the COVID-19 pandemic of generation X in Chiang Mai provinceen_US
dc.typeIndependent Study (IS)
thailis.controlvocab.thashโควิด-19 (โรค) -- เชียงใหม่-
thailis.controlvocab.thashการจูงใจ (จิตวิทยา)-
thailis.controlvocab.thashเชียงใหม่ -- ภูมิประเทศและการท่องเที่ยว-
thesis.degreemasteren_US
thesis.description.thaiAbstractการค้นคว้าแบบอิสระฉบับนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาแรงจูงใจในการท่องเที่ยวภายในประเทศหลังการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ของเจเนอเรชันเอ็กซ์ในจังหวัดเชียงใหม่ และเพื่อศึกษาความกังวลใจต่อการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ของเจเนอเรชันเอ็กซ์ในจังหวัดเชียงใหม่ โดยใช้ปัจจัยผลักดัน (Push Factors) ปัจจัยดึงดูด (Pull Factors) และความกังวลใจที่มีต่อสถานการณ์โควิด-19 เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามจากกลุ่มตัวอย่างจำนวน 385 ราย วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพรรณนา ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และใช้สถิติอนุมาน ได้แก่ t-test (Independent-Sample t-test) เพื่อเปรียบเทียบความแตกต่างของค่าเฉลี่ยระดับความคิดเห็นต่อแรงจูงใจในการท่องเที่ยวภายในประเทศหลังการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 และความกังวลใจที่มีต่อสถานการณ์โควิด-19 จำแนกตาม เพศ และอายุ ใช้ One-Way ANOVA เพื่อเปรียบเทียบความแตกต่างของค่าเฉลี่ยระดับความคิดเห็นต่อแรงจูงใจในการท่องเที่ยวภายในประเทศหลังการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 และความกังวลใจที่มีต่อสถานการณ์โควิด-19 จำแนกตามรายได้ต่อเดือน ผลจากการศึกษาพบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง อายุ 43-50 ปี มีอาชีพเป็นข้าราชการและพนักงานของรัฐ มีรายได้ต่อเดือนมากกว่า 50,000 บาทขึ้นไป ส่วนใหญ่เดินทางไปท่องเที่ยวไปครอบครัว ใช้รถยนต์ในการเดินทางท่องเที่ยวไปจังหวัดปลายทางและภายในจังหวัด เคยเดินทางท่องเที่ยวจังหวัดเชียงรายมากที่สุด ชื่นชอบท่องเที่ยวแนวธรรมชาติทะเล ใช้เวลาในการท่องเที่ยว 1-2 คืน ไม่ได้เข้าร่วมโครงการสนับสนุนจากภาครัฐ เลือกพักโรงแรม มีค่าใช้จ่ายในการท่องเที่ยว 10,001-20,000 บาท และมีเหตุผลในการเลือกท่องเที่ยวภายในประเทศ คือ ค่าใช้จ่ายในการท่องเที่ยวไม่แพง ผลการศึกษาของปัจจัยผลักดัน พบว่า ค่าเฉลี่ยความคิดเห็นต่อปัจจัยผลักดัน ในภาพรวมในระดับเห็นด้วยมากทุกปัจจัย ปัจจัยผลักดันที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด 3 อันดับแรก ได้แก่ ด้านการเสริมสร้างความสัมพันธ์ด้วยประสบการณ์ใหม่ ด้านการเติมพลังให้ตัวเอง และ ด้านการพัฒนาตัวเอง ผลการศึกษาของปัจจัยดึงดูด พบว่า ค่าเฉลี่ยความคิดเห็นต่อปัจจัยดึงดูด ในภาพรวมในระดับเห็นด้วยมากทุกปัจจัย ปัจจัยผลักดันที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด 3 อันดับแรก ได้แก่ ด้านความสวยงามและความปลอดภัย รองลงมา คือ ด้านความสะดวกของแหล่งท่องเที่ยว และด้านเรื่องราวที่เป็นกระแสนิยม ตามลำดับ ผลการศึกษาความกังวลใจที่มีต่อสถานการณ์โควิด-19 พบว่า ค่าเฉลี่ยความคิดเห็นของความกังวลใจที่มีต่อสถานการณ์โควิด-19 ในภาพรวมในระดับเห็นด้วยมาก 2 ด้าน ได้แก่ ด้านเศรษฐกิจ รองลงมา คือ ด้านสุขภาพ และค่าเฉลี่ยความคิดเห็นในระดับเห็นด้วยปานกลาง 1 ด้าน คือ ด้านการมีปฏิสัมพันธ์ในสังคม เมื่อจำแนกตามเพศ พบว่ามีความแตกต่างกันบางปัจจัยย่อยของปัจจัยผลักดัน ด้านการหลีกหนี ปัจจัยดึงดูด ด้านเรื่องราวที่ลึกซึ้ง และความกังวลใจที่มีต่อสถานการณ์โควิด-19 ด้านการมีปฏิสัมพันธ์ในสังคม เมื่อจำแนกตามช่วงอายุ พบว่ามีความแตกต่างกันในบางปัจจัยย่อยของปัจจัยผลักดัน ด้านการค้นหาตัวเอง ด้านการผจญภัย ปัจจัยดึงดูด ด้านเรื่องราวที่เป็นกระแสนิยม ด้านความเป็นส่วนตัว และความกังวลใจที่มีต่อสถานการณ์โควิด-19 ด้านสุขภาพ เมื่อจำแนกตามรายได้ต่อเดือน พบว่าความแตกต่างกันในบางปัจจัยย่อยของปัจจัยผลักดัน ด้านการมีประสบการณ์ในท้องถิ่น ด้านการผจญภัย ปัจจัยดึงดูด ด้านเรื่องราวที่ลึกซึ้ง ด้านนโยบาย SHA ด้านความสะดวกของแหล่งท่องเที่ยว ด้านอาหารและกิจกรรมท้องถิ่นท้องถิ่น และความกังวลใจที่มีต่อสถานการณ์โควิด-19 ด้านเศรษฐกิจ และด้านสุขภาพen_US
Appears in Collections:BA: Independent Study (IS)

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
641532055_กานต์ชนิต สุภาพร.pdf2.77 MBAdobe PDFView/Open    Request a copy


Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.