Please use this identifier to cite or link to this item:
http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/80006
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | ธารณ์ ทองงอก | - |
dc.contributor.advisor | ยงยุทธ ยะบุญธง | - |
dc.contributor.author | วาทินี เชิดชูสกุล | en_US |
dc.date.accessioned | 2024-08-28T10:59:18Z | - |
dc.date.available | 2024-08-28T10:59:18Z | - |
dc.date.issued | 2024-06-28 | - |
dc.identifier.uri | http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/80006 | - |
dc.description.abstract | The objectives of this study were to: 1) Examine the conditions and problems related to the administration of the student support system aimed at preventing dropout issues at Chiang Mai Technical College; 2) Investigate guidelines for managing the student support system in vocational education based on best practices; and 3) Develop and review guidelines for the administration of the student support system to prevent dropout problems at Chiang Mai Technical College. The study involved three steps: 1) Studying Conditions and Problems: This phase involved examining the conditions and problems of the student support system at Chiang Mai Technical College. The study targeted 150 individuals selected through purposive sampling. Data were collected using questionnaires and analyzed with frequency (ƒ), mean (μ), and standard deviation (σ). 2) Investigating Best Practices: This phase focused on exploring best practices for managing student support systems in vocational education to prevent dropout problems. The target group included nine individuals: school administrators, heads of counseling or career guidance departments, and advisory teachers. Data were collected through interviews, analyzed using analytic induction, and presented using descriptive analysis. 3) Developing and Reviewing Guidelines: This phase involved creating and reviewing guidelines for the student support system at Chiang Mai Technical College. The target group consisted of experts selected through purposive sampling, including school administrators, heads of advising departments, advisory teachers, educational supervisors from the Office of Vocational Education Commission, and psychologists. Data were collected through interviews, analyzed using content analysis, and reviewed for accuracy, appropriateness, and feasibility. The analysis utilized mean (μ) and standard deviation (σ). The results of the study found that 1) Conditions and problems in the student support system at Chiang Mai Technical College operates at a moderate level. The highest average score in operational conditions was in promoting student development, while the lowest was in student screening. Problems with the system were found to be significant, with the highest average score in prevention and problem-solving, and the lowest in promoting student development. 2) Best Practices: Effective practices in student support management include Understanding Individual Students: Utilizing diverse methods to gather student information, employing appropriate tools and forms, and maintaining systematic and up-to-date records. Student Screening: Implementing a systematic screening plan, clearly defined grouping, and maintaining confidentiality. Promotion and Development: Creating projects and activities aligned with needs, involving all student groups and their parents. Prevention and Problem Solving: Ensuring equal attention to all learners, coordinating with parents, businesses, dormitories, and relevant agencies, and enhancing counseling skills for advisors and related staff. Referrals: Establishing a clear referral system, analyzing student problems before referral, educating teachers, counselors, and parents about the referral process, and ensuring continuous coordination within and outside the institution., and 3) Guidelines for managing the student support system to prevent dropout problems Chiang Mai Technical College consists of principles and reasons, objectives, and guidelines for operating the student support system. and conditions for success and the results of the examination of the guidelines are effective in terms of accuracy, appropriateness, and feasibility. Passed the specified evaluation criteria in all aspects. | en_US |
dc.language.iso | other | en_US |
dc.publisher | เชียงใหม่ : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ | en_US |
dc.title | แนวทางการบริหารงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนเพื่อป้องกันปัญหาการออกกลางคัน วิทยาลัยเทคนิคเชียงใหม่ | en_US |
dc.title.alternative | Guidelines on student-care system management for preventing students' dropping out at Chiang Mai Technical College | en_US |
dc.type | Independent Study (IS) | |
thailis.controlvocab.thash | วิทยาลัยเทคนิคเชียงใหม่ | - |
thailis.controlvocab.thash | การออกกลางคัน | - |
thailis.controlvocab.thash | การออกกลางคัน -- การป้องกัน | - |
thailis.controlvocab.thash | นักเรียน -- เชียงใหม่ | - |
thesis.degree | master | en_US |
thesis.description.thaiAbstract | การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพ และปัญหาของการบริหารงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนเพื่อป้องกันปัญหาการออกกลางคันวิทยาลัยเทคนิคเชียงใหม่ 2) ศึกษาแนวทางการบริหารงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนเพื่อป้องกันปัญหาการออกกลางคัน อาชีวศึกษาที่มีแนวปฏิบัติที่ดี และ3) จัดทำและตรวจสอบแนวทางการบริหารงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนเพื่อป้องกันปัญหาการออกกลางคัน วิทยาลัยเทคนิคเชียงใหม่ ซึ่งมีขั้นตอนการศึกษา 3 ขั้นตอน คือ 1) การศึกษาสภาพ และปัญหาของการบริหารงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนเพื่อป้องกันปัญหาการออกกลางคัน วิทยาลัยเทคนิคเชียงใหม่ กลุ่มเป้าหมายที่ใช้ในการศึกษา รวมจำนวนทั้งหมด 150 คน โดยการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) เครื่องมือที่และวิธีการที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่า ความถี่ (ƒ )ค่าเฉลี่ย (μ) และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (σ) 2) การศึกษาแนวทางการบริหารงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนเพื่อป้องกันปัญหาการออกกลางคัน อาชีวศึกษาที่มีแนวปฏิบัติที่ดี กลุ่มเป้าหมาย คือ ผู้บริหารสถานศึกษาที่ หัวหน้างานครูที่ปรึกษาหรือหัวหน้างานแนะแนวและจัดหาอาชีพ และครูที่ทำหน้าที่ครูที่ปรึกษา รวมจำนวนทั้งหมด 9 คน เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา คือ แบบสัมภาษณ์แบบสัมภาษณ์ วิเคราะห์ข้อมูลโดยการสรุปแบบอุปนัย (Analytic Induction) และนำเสนอข้อมูลด้วยวิธีการพรรณนาวิเคราะห์ (Descriptive Analysis) และ 3) การจัดทำและตรวจสอบแนวทางการบริหารงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนเพื่อป้องกันปัญหาการออกกลางคัน วิทยาลัยเทคนิคเชียงใหม่ กลุ่มเป้าหมายที่ใช้ในการศึกษา คือ ได้จากการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling จากผู้ทรงคุณวุฒิ ประกอบด้วย ผู้บริหารสถานศึกษา หัวหน้างานครูที่ปรึกษา ครูที่ปรึกษา ศึกษานิเทศก์ ในสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา และนักจิตวิทยา จำนวน 5 กลุ่ม รวมทั้งหมดจำนวน 5 คน เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา คือ แบบสัมภาษณ์ วิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis) และตรวจสอบแนวทาง ได้แก่ด้านความถูกต้อง ด้านความเหมาะสม (Suitability) และด้านความเป็นไปได้ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าเฉลี่ย (μ) และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (σ) ผลการศึกษา พบว่า 1) สภาพและปัญหาการดำเนินงานตามระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนในวิทยาลัยเทคนิคเชียงใหม่ อยู่ในระดับปานกลาง ด้านสภาพการดำเนินงานที่มีค่าเฉลี่ยสูงที่สุด คือ ด้านการส่งเสริมพัฒนาผู้เรียน ด้านสภาพการดำเนินงานที่มีค่าเฉลี่ยต่ำที่สุด คือ ด้านการคัดกรองผู้เรียน ปัญหาการดำเนินงานของระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนในวิทยาลัยเทคนิคเชียงใหม่ อยู่ในระดับมาก ด้านปัญหาที่มีค่าเฉลี่ยสูงที่สุด คือ การป้องกันและแก้ปัญหา ด้านปัญหาที่มีค่าเฉลี่ยต่ำที่สุด คือ ด้านการส่งเสริมพัฒนาผู้เรียน 2) การศึกษาแนวทางการบริหารงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนเพื่อป้องกันปัญหาการออกกลางคัน อาชีวศึกษาที่มีแนวปฏิบัติที่ดี ทั้ง 5 ด้าน ได้แก่ ด้านการรู้จักผู้เรียนเป็นรายบุคคล คือ ใช้วิธีการที่หลากหลายในการแสวงหาข้อมูลผู้เรียน ใช้เครื่องมือ เอกสาร แบบฟอร์มที่เหมาะสม เก็บข้อมูลอย่างเป็นระบบเป็น และเป็นปัจจุบัน ด้านการคัดกรองผู้เรียน มีการวางแผนการคัดกรองผู้เรียนอย่างเป็นระบบ มีการแบ่งกลุ่มชัดเจน จัดเก็บข้อมูลให้เป็นความลับ ด้านการส่งเสริมและพัฒนา จัดทำโครงการและกิจกรรมที่สอดคล้องกับความต้องการ ครอบคลุมผู้เรียนทุกกลุ่ม โดยให้ผู้เรียน และผู้ปกครองมีส่วนร่วม ด้านการป้องกันและแก้ไขปัญหา เอาใจใส่ผู้เรียนทุกคนอย่างเท่าเทียมกัน ประสานความร่วมมือกับผู้ปกครอง สถานประกอบการ ห้างร้าน หอพัก หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และพัฒนาทักษะด้านจิตวิทยาให้คำปรึกษาแก่ครูที่ปรึกษา รวมถึงบุคลากรที่เกี่ยวข้องและ ด้านการส่งต่อ มีการวางแผนจัดระบบการส่งต่อที่ชัดเจน วิเคราะห์ปัญหาผู้เรียนก่อนการส่งต่อ สร้างความรู้ความเข้าใจในการส่งต่อแก่ครูที่ปรึกษา บุคลากร และผู้ปกครองให้เป็นไปในแนวทางเดียวกัน ประสานความร่วมมือในการส่งต่อทั้งภายในและภายนอกสถานศึกษาอย่างต่อเนื่อง และ3) แนวทางการบริหารงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนเพื่อป้องกันปัญหาการออกกลางคัน วิทยาลัยเทคนิคเชียงใหม่ ประกอบด้วย หลักการและเหตุผล วัตถุประสงค์ แนวทางการดำเนินงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน และเงื่อนไขความสำเร็จ และผลการตรวจสอบแนวทางมีประสิทธิภาพในด้านความถูกต้อง ความเหมาะสม และความเป็นไปได้ ผ่านเกณฑ์การประเมินที่ได้กำหนดไว้ทุกด้าน | en_US |
Appears in Collections: | EDU: Independent Study (IS) |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
650232085 วาทินี เชิดชูสกุล.pdf | 11.67 MB | Adobe PDF | View/Open Request a copy |
Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.