Please use this identifier to cite or link to this item: http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/79996
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorยงยุทธ ยะบุญธง-
dc.contributor.advisorธารณ์ ทองงอก-
dc.contributor.authorเทียนชัย เยี่ยงสกุลไพศาลen_US
dc.date.accessioned2024-08-27T01:21:08Z-
dc.date.available2024-08-27T01:21:08Z-
dc.date.issued2024-06-28-
dc.identifier.urihttp://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/79996-
dc.description.abstractThis research aimed to 1) study the current condition, desired condition and the necessary need for internal quality assurance operations by employing Objectives and Key Results Framework (OKRs) of small private schools in Chiang Mai Province. 2) study the internal quality assurance operations by employing Objectives and Key Results Framework (OKRs) of small private schools in Chiang Mai Province that has good practice. 3) development and verification of correctness, suitability, feasibility and the usefulness of internal quality assurance operations by employing Objectives and Key Results Framework (OKRs) of small private schools in Chiang Mai Province. The research is divided into 3 steps according to the objectives. The sample group are directors or deputy-director or head of academic or teacher who were responsible for the school internal quality assurance, 32 people, 5 experts, and 5 professional experts totaling 42 people. The research tools were questionnaires and structured interviews. and inspection form. The statistics used to analyze the data are mean, standard deviation, frequency, sorting, and inductive synthesis of the issues. The findings reveal that necessary needs for internal quality assurance operations of small private schools Chiang Mai Province. When considering each item in descending order, it was found that the first priority was the implementation of the educational development plan. The second priority was evaluating and inspecting the quality of education. The third priority was following up on the results of the implementation of the educational development plan. The fourth priority was preparing self-assessment reports (SAR). The fifth priority was setting educational standards of school, and the least priority was preparation of educational development plans. The results of the study of good practices in internal quality assurance operations found that executives should set goals by comparing previous performance results. Set clear goals and key results with teachers and educational personnel working together to create their own goals. Create knowledge, understanding and analyze goals from the educational development plan. Executives monitor the progress of projects/activities to ensure they are in line with plans. Using tools that facilitate teachers and personnel in tracking results and storing data and exchange knowledge with the Office of the Private Education Commission (OPEC) on a regular basis. The outcome on drafting the Guidelines for internal quality assurance operations by employing objectives and key results framework of small private schools in Chiang Mai province has provided the frameworks which are 1) the principal 2) the objectives 3) the operational methods 4) the conditions of success. In the same vein, the auditing result of the guideline quality showed that accurate, appropriate, and feasibility was in the highest level. Keywords: Internal quality assurance, OKRs, Guidelines, Small private schoolen_US
dc.language.isootheren_US
dc.publisherเชียงใหม่ : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่en_US
dc.titleแนวทางการดำเนินงานประกันคุณภาพภายในโดยใช้แนวคิดระบบการวัดผลแบบการตั้งวัตถุประสงค์และผลลัพธ์หลักของโรงเรียนเอกชนขนาดเล็กจังหวัดเชียงใหม่en_US
dc.title.alternativeGuidelines for internal quality assurance operations by employing objectives and key results framework of small private schools in Chiang Mai provinceen_US
dc.typeIndependent Study (IS)
thailis.controlvocab.thashโรงเรียนเอกชน -- เชียงใหม่-
thailis.controlvocab.thashประกันคุณภาพการศึกษา-
thesis.degreemasteren_US
thesis.description.thaiAbstractการวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อ 1) ศึกษาสภาพปัจจุบัน สภาพที่พึงประสงค์ และความต้องการจำเป็นในการดำเนินงานประกันคุณภาพภายในโดยใช้แนวคิดระบบการวัดผลแบบการตั้งวัตถุประสงค์และผลลัพธ์หลัก (OKRs) ของโรงเรียนเอกชนขนาดเล็ก จังหวัดเชียงใหม่ 2) ศึกษาการดำเนินงานประกันคุณภาพภายในโดยใช้แนวคิดระบบการวัดผลแบบการตั้งวัตถุประสงค์และผลลัพธ์หลัก (OKRs) โรงเรียนเอกชนขนาดเล็ก จังหวัดเชียงใหม่ ที่มีการปฏิบัติที่ดี และ 3) จัดทำและตรวจสอบความถูกต้อง ความเหมาะสม และความเป็นไปได้ ของแนวการดำเนินงานประกันคุณภาพภายในโดยใช้แนวคิดระบบการวัดผลแบบการตั้งวัตถุประสงค์และผลลัพธ์หลัก (OKRs) ของโรงเรียนเอกชนขนาดเล็ก จังหวัดเชียงใหม่ โดยแบ่งการวิจัยออกเป็น 3 ขั้นตอนตามวัตถุประสงค์ ประชากรและกลุ่มเป้าหมายที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ ผู้อำนวยการหรือ รองผู้อำนวยการสถานศึกษา หรือ หัวหน้ากลุ่มบริหารวิชาการ หรือ ครูผู้ได้รับมอบหมายให้รับผิดชอบงานประกันคุณภาพภายในของโรงเรียนเอกชนขนาดเล็ก จังหวัดเชียงใหม่ รวมจำนวนทั้งสิ้น 35 คน ผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 5 คน และผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 5 คน รวมทั้งสิ้น 45 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ แบบสอบถาม แบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้าง และแบบตรวจสอบ สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานความถี่ เรียงลำดับ และการสังเคราะห์ประเด็นโดยสรุปแบบอุปนัย ผลการวิจัย พบว่า มีความต้องการจำเป็นในการพัฒนาการดำเนินงานประกันคุณภาพภายในของโรงเรียนเอกชนขนาดเล็ก จังหวัดเชียงใหม่ เมื่อพิจารณารายข้อเรียงลำดับจากมากไปน้อย พบว่า ลำดับแรก คือ ด้านการดำเนินการตามแผนพัฒนาการจัดการศึกษา ลำดับที่ 2 ด้านการประเมินผลและตรวจสอบคุณภาพการศึกษา ลำดับที่ 3 ด้านการติดตามผลการดำเนินการตามแผนพัฒนาการจัดการศึกษา ลำดับที่ 4 ด้านการจัดทำรายงานผลการประเมินตนเอง ลำดับที่ 5 ด้าน การกำหนดมาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษา และลำดับสุดท้ายคือ การจัดทำแผนพัฒนาการจัดการศึกษา ผลการศึกษาการปฏิบัติที่ดีในการดำเนินงานประกันคุณภาพภายใน พบว่า ผู้บริหารควรกำหนดเป้าหมายจากการเทียบผลการดำเนินงานเดิม กำหนดเป้าหมายและผลลัพธ์หลักให้ชัดเจน โดยมีครูและบุคลากรร่วมกันสร้างเป้าหมายเป็นของตนเอง สร้างความรู้ความเข้าใจและวิเคราะห์เป้าหมายจากแผนพัฒนาการจัดการศึกษา ผู้บริหารติดตามความก้าวหน้าโครงการ/กิจกรรมให้เป็นไปตามแผน โดยใช้เครื่องมือที่อำนวยความสะดวกให้กับครูและบุคลากรในการติดตามผลและจัดเก็บข้อมูล และแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับหน่วยงานต้นสังกัดอยู่เป็นประจำ แนวทางการดำเนินงานประกันคุณภาพภายในโดยใช้แนวคิดระบบการวัดผลแบบการตั้งวัตถุประสงค์และผลลัพธ์หลัก (OKRs) ของโรงเรียนเอกชนขนาดเล็ก จังหวัดเชียงใหม่ประกอบด้วย 4 องค์ประกอบ ได้แก่ 1) หลักการ 2) วัตถุประสงค์ 3) วิธีการดำเนินงาน และ 4) เงื่อนไขความสำเร็จ มีผลการตรวจสอบความถูกต้อง ความเหมาะสม และความเป็นไปได้ โดยรวมอยู่ระดับมากที่สุด และผ่านเกณฑ์ที่ได้กำหนดไว้ทุกด้าน คำสำคัญ: ประกันคุณภาพภายใน, OKRs, แนวทางการดำเนินงาน, โรงเรียนเอกชนขนาดเล็กen_US
Appears in Collections:EDU: Independent Study (IS)



Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.