Please use this identifier to cite or link to this item: http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/79986
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorยุทธนา โมนะ-
dc.contributor.authorธนกฤต มณีรัตน์en_US
dc.date.accessioned2024-08-20T10:33:39Z-
dc.date.available2024-08-20T10:33:39Z-
dc.date.issued2024-07-05-
dc.identifier.urihttp://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/79986-
dc.description.abstractAt present, there is a quest for novel protein sources to potentially substitute conventional animal-derived proteins in the future. Proteins sourced from non-animal origins like insects or bamboo worms (Omphisa Fuscidentalis) are gaining interest among consumers. However, the lifecycle of bamboo worms spans up to a year, with moths laying eggs just once annually, which might not adequately meet demand. To address this, the discovery of insect hormones, specifically juvenile hormones, has been pivotal in shortening the bamboo worm's lifecycle to approximately six months. Nonetheless, the use of insect hormones could pose long-term repercussions. Shortening the moth's lifecycle to six months significantly affects their ability to breed and lay eggs when environmental conditions fluctuate, particularly during off-seasons, due to temperature and humidity variations in the summer. Consequently, this prompted the development of controlled environment chambers for bamboo worm breeding and egg-laying, alongside research into energy consumption across different appliance to evaluate electricity usage patterns, rates, and formulate mathematical models for humidity and temperature control in the system. This research's fundamental principles are derived from natural bamboo forest conditions. The control system comprises temperature and humidity control, with simulated Climate Control Room subdivided into environmental chambers, Mating and Laying room, and Bamboo moth cages. Throughout the study, various parameters like internal Mating and Laying room temperature and humidity, as well as electricity consumption, were meticulously documented. Following the study and experimental setup of the climate control system to regulate temperature and humidity within the Mating and Laying room, the system functioned as intended, maintaining humidity levels within ± 5% RH and temperature within ± 3 °C. Monthly electricity consumption stood at 1668 kWh, computed based on the progressive electricity rate, totaling 7,149.43 Baht monthly for operating the climate control system suitable for bamboo moths. Mathematical modeling revealed that control temperature in the moth Mating and Laying room required 12.004 s and 19.290 s for optimal breeding and egg-laying conditions. Additionally, humidity control results between control type 1 and 2 indicated that achieving suitable humidity levels for breeding and egg-laying took approximately 5.766 seconds for control type 1 and 6.904 seconds for control type 2.en_US
dc.language.isootheren_US
dc.publisherเชียงใหม่ : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่en_US
dc.titleการออกแบบและการสร้างห้องควบคุมสภาวะอากาศต้นแบบสำหรับการผสมพันธุ์และวางไข่ของหนอนเยื่อไผ่en_US
dc.title.alternativeDesign and construction prototype climate control room for bamboo borer mating and layingen_US
dc.typeThesis
thailis.controlvocab.thashการควบคุมอุณหภูมิ-
thailis.controlvocab.thashหนอนเยื่อไผ่ -- การสืบพันธุ์ -- การควบคุม-
thailis.controlvocab.thashหนอนเยื่อไผ่ -- การเจริญเติบโต-
thesis.degreemasteren_US
thesis.description.thaiAbstractในปัจจุบันได้มีการหาแหล่งโปรตีนทางเลือกใหม่ในอนาคตทดแทนการใช้โปรตีนมีที่มาจากการเลี้ยงสัตว์ โดยโปรตีนจากเเหล่งอื่นที่ไม่ใช้เนื้อสัตว์ เช่น โปรตีนจากแมลง หนอนเยื่อไผ่ (Omphisa Fuscidentalis) จึงเป็นอีกทางเลือกที่น่าสนใจสำหรับผู้บริโภค แต่วงชีวิตของหนอนเยื่อไผ่มีระยะเวลายาวนานถึง 1 ปี แม่ผีเสื้อจึงวางไข่ได้เพียง 1 ครั้งของทุกปีเท่านั้น ซึ่งอาจไม่เพียงพอต่อความต้องการ จนมีการค้นพบฮอร์โมนแมลงชื่อฮอร์โมนจูวีไนล์ (Juvenile Hormone) สามารถทำให้วงจรชีวิตของหนอนเยื่อไผ่ลดลงเหลือเพียงประมาณ 6 เดือน ทั้งนี้การใช้ฮอร์โมนแมลงอาจส่งผลกระทบในระยะยาว เมื่อผีเสื้อใช้ระยะเวลาวงจรชีวิตเหลือเพียง 6 เดือน ทำให้การเปลี่ยนแปลงของอุณหภูมิ ความชื้น ในฤดูร้อนส่งผลอย่างมากต่อผีเสื้อที่เกิดนอกฤดูกาล ทำให้ผีเสื้อที่เกิดขึ้นไม่สามารถผสมพันธุ์และวางไข่ได้ จนเป็นที่มาให้เกิดการสร้างห้องควบคุมสภาวะอากาศต้นแบบสำหรับการผสมพันธุ์และวางไข่ของหนอนเยื่อไผ่ และศึกษาการใช้พลังงานของอุปกรณ์แต่ละชนิดภายในห้อง เพื่อหาพฤติกรรมการใช้พลังงานไฟฟ้า อัตราค่าไฟฟ้า และ การออกแบบโมเดลทางคณิตศาสตร์สำหรับระบบควบคุมความชื้นสัมพัทธ์และอุณหภูมิของระบบควบคุมสภาวะอากาศ โดยงานวิจัยนี้เป็นการออกแบบห้องผสมพันธุ์และวางไข่มีหลักการที่ริเริ่มมาจากสภาพวะอากาศภายในป่าไผ่ในธรรมชาติ โดยระบบควบคุมภายในห้องประกอบด้วย 2 ส่วน คือ ระบบควบคุมอุณหภูมิและระบบควบคุมความชื้นสัมพัทธ์ ห้องจำลองควบคุมสภาวะอากาศต้นแบบสำหรับการผสมพันธุ์และวางไข่ของหนอนเยื่อไผ่ แบ่งออกเป็น 3 ส่วนย่อย ได้แก่ 1.) ห้องจำลองสภาวะอากาศแวดล้อม 2.) ห้องผสมพันธุ์และวางไข่ของผีเสื้อกลางคืนหรือห้องเพาะเลี้ยง และ 3.) กรงเลี้ยง ตลอดงานวิจัยบันทึกผลการทดลอง เช่น อุณหภูมิและความชื้นสัมพัทธ์ภายในห้องเพาะเลี้ยง และการใช้พลังงานไฟฟ้า ภาระการใช้พลังงานไฟฟ้า ตลอดระยะเวลาการทดลอง จากการศึกษาและทดลองการออกแบบและการสร้างห้องควบคุมสภาวะอากาศระบบควบคุมอุณหภูมิและความชื้นสัมพัทธ์ภายในห้องเพาะเลี้ยง สามารถทำงานได้ตามที่กำหนดไว้ในวัตถุประสงค์ โดยการควบคุมให้ค่าความผิดพลาดไม่เกิน ± 5 %RH สำหรับความชื้นสัมพัทธ์ และ ค่าความผิดพลาดไม่เกิน ± 3 ˚c สำหรับอุณหภูมิ ปริมาณการใช้พลังงานไฟฟ้า ภายใน 1 เดือน มีปริมาณ 1668 kWh คิดตามอัตราค่าไฟฟ้าก้าวหน้า อัตราค่าไฟฟ้าต่อเดือนสำหรับดำเนินระบบควบคุมสภาวะอากาศที่เหมาะสมสำหรับผีเสื้อกลางคืนได้ 7,149.43 บาทต่อเดือน โมเดลทางคณิตศาสตร์นี้ได้แสดงการควบคุมจากการควบคุมอุณหภูมิห้องเพาะเลี้ยงผีเสื้อกลางคืนต้องใช้เวลา 12.004 วินาที และ 19.290 วินาที ในการปรับอุณหภูมิให้เหมาะสมกับการผสมพันธุ์และวางไข่ ในขณะเดียวกัน ผลการควบคุมระหว่างการควบคุมความชื้นสัมพัทธ์แบบที่ 1 และ 2 แสดงให้เห็นว่า การปรับความชื้นสัมพัทธ์ให้อยู่ในระดับความชื้นที่เหมาะสมกับการผสมพันธุ์และวางไข่ ผีเสื้อกลางคืนต้องใช้เวลาประมาณ 5.766 วินาที สำหรับรูปแบบการควบคุมแบบที่ 1 และ 6.904 วินาที สำหรับรูปแบบการควบคุมที่ 2en_US
Appears in Collections:ENG: Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
650631066-ธนกฤต มณีรัตน์.pdf3.71 MBAdobe PDFView/Open    Request a copy


Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.