Please use this identifier to cite or link to this item: http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/79984
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorนันทพร แสนศิริพันธ์-
dc.contributor.authorปริชมน ด่านชัยen_US
dc.date.accessioned2024-08-20T10:22:08Z-
dc.date.available2024-08-20T10:22:08Z-
dc.date.issued2024-06-25-
dc.identifier.urihttp://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/79984-
dc.description.abstractPaternal health literacy among expectant fathers having high-risk pregnant wives is important for promoting the health status of the father, the mother, and the fetus. This descriptive correlational study aimed to investigate paternal health literacy and its related factors. The participants consisted of 152 expectant fathers having high-risk pregnant wives who visited antenatal care at Maharaj Nakorn Chiang Mai Hospital and Health Promotion Center First Region Chiang Mai, between October 2023 and March 2024. Research instruments included the Paternal Health Literacy Among Expectant Fathers Having High Risk Pregnant Wives Questionnaire adapted from Sonted et al. (2022), the Thai version of the Perceived Stress Scale by Wongpakaran and Wongpakaran (2010), and the Social Support Questionnaire for Expectant Fathers Having High Risk Pregnant Wives by Naewchalee (2007). Data were analyzed using descriptive statistics, Pearson’s correlation coefficient, and Spearman’s rank correlation coefficient statistics. The results revealed that: 1. The majority of participants (96.05%) had a high level of paternal health literacy, with a mean score of 408.89 (SD = 33.73). 2. Stress had a negative significant correlation with paternal health literacy (rS = -.353, p < .001), while social support had a positive significant correlation with paternal health literacy among expectant fathers having high-risk pregnant wives (r = .539, p < .001). The findings of this research can be utilized as foundational data to promote paternal health literacy among expectant fathers having high-risk pregnant wives by reducing stress and providing social support. This aims to maintain their own good health, enabling them to take care and support their wives during a high-risk pregnancy.en_US
dc.language.isootheren_US
dc.publisherเชียงใหม่ : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่en_US
dc.titleปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความรอบรู้ด้านสุขภาพบิดาในผู้จะเป็นบิดาที่ภรรยามีภาวะการตั้งครรภ์เสี่ยงสูงen_US
dc.title.alternativeFactors related to paternal health literacy among expectant fathers having high risk pregnant wivesen_US
dc.typeThesis
thailis.controlvocab.thashความรอบรู้ทางสุขภาพ-
thailis.controlvocab.thashบิดามารดา-
thailis.controlvocab.thashภาวะแทรกซ้อนขณะตั้งครรภ์-
thailis.controlvocab.thashการตั้งครรภ์-
thesis.degreemasteren_US
thesis.description.thaiAbstractความรอบรู้ด้านสุขภาพบิดาในผู้จะเป็นบิดาที่ภรรยามีภาวะการตั้งครรภ์เสี่ยงสูง เป็นสิ่งสำคัญที่ช่วยส่งเสริมภาวะสุขภาพของผู้จะเป็นบิดา ภรรยาที่ตั้งครรภ์เสี่ยงสูง และทารกในครรภ์ การวิจัยเชิงพรรณนาหาความสัมพันธ์ครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความรอบรู้ด้านสุขภาพและปัจจัยที่เกี่ยวข้อง กลุ่มตัวอย่างคือ ผู้จะเป็นบิดาที่ภรรยามีภาวะการตั้งครรภ์เสี่ยงสูงที่มารับบริการฝากครรภ์ที่โรงพยาบาลมหาราชนครเชียงใหม่ และโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพ ศูนย์อนามัยที่ 1 เชียงใหม่ ระหว่างเดือนตุลาคม 2566 ถึงเดือนมีนาคม 2567 จำนวน 152 ราย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถามความรอบรู้ด้านสุขภาพบิดาในผู้จะเป็นบิดาที่ภรรยามีภาวะการตั้งครรภ์เสี่ยงสูง ที่ดัดแปลงมาจากแบบสอบถามความรอบรู้ด้านสุขภาพบิดาของศิริรัตน์ สอนเทศ และคณะ (2564) แบบวัดความรู้สึกเครียด ฉบับแปลเป็นภาษาไทยโดย ณหทัย วงศ์ปการันย์ และ ทินกร วงศ์ปการันย์ (Wongpakaran & Wongpakaran, 2010) แบบสอบถามการสนับสนุนทางสังคมของผู้จะเป็นบิดาที่มีภรรยาตั้งครรภ์เสี่ยงสูง ของอารีรัตน์ แนวชาลี (2550) วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา สถิติสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน และสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบสเปียร์แมน ผลการวิจัยพบว่า 1. กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่ (ร้อยละ 96.05) มีความรอบรู้ด้านสุขภาพบิดาในระดับสูง โดยมีค่าเฉลี่ยคะแนน 408.89 (SD = 33.73) 2. ความเครียดมีความสัมพันธ์ทางลบกับความรอบรู้ด้านสุขภาพบิดาอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (rS = -.353, p < .001) และการสนับสนุนทางสังคมมีความสัมพันธ์ทางบวกกับความรอบรู้ด้านสุขภาพบิดาในผู้จะเป็นบิดาที่ภรรยามีภาวะการตั้งครรภ์เสี่ยงสูงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (r = .539, p < .001) ผลการวิจัยครั้งนี้สามารถนำไปใช้เป็นข้อมูลพื้นฐานในการส่งเสริมความรอบรู้ด้านสุขภาพบิดาในผู้จะเป็นบิดาที่ภรรยามีภาวะการตั้งครรภ์เสี่ยงสูง โดยลดความเครียดและให้การสนับสนุนทางสังคมแก่ผู้จะเป็นบิดาที่ภรรยามีภาวะการตั้งครรภ์เสี่ยงสูง เพื่อคงไว้ซึ่งการมีสุขภาพที่ดีของตนเองและสามารถดูแลและสนับสนุนภรรยาขณะตั้งครรภ์เสี่ยงสูงได้en_US
Appears in Collections:NURSE: Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
641231053-ปริชมน ด่านชัย.pdfthesis ปริชมน ด่านชัย3.42 MBAdobe PDFView/Open    Request a copy


Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.