Please use this identifier to cite or link to this item: http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/79983
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorเรนัส เสริมบุญสร้าง-
dc.contributor.authorสุมิตรา ใจแก้วen_US
dc.date.accessioned2024-08-20T10:17:03Z-
dc.date.available2024-08-20T10:17:03Z-
dc.date.issued2567-06-18-
dc.identifier.urihttp://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/79983-
dc.description.abstractThe Purpose of this study is to investigate “Marketing Mix Affecting Consumer Decisions Towards Purchasing Teak Furniture in Amphoe Sung Men, Phrae Province”. Data was collected through a questionnaire from a sample group of 400 consumers who visited furniture stores in Sung Men District. The sample was selected through convenience sampling from various teak furniture stores located in various sub-districts of Sung Men District. The data was analyzed using descriptive statistics, including frequency, percentage, and mean, as well as inferential statistics to analyze differences in marketing mix factors affecting teak furniture purchase decisions, employing One-Way ANOVA for testing differences and Scheffe's method for pairwise comparisons. The study found that most respondents were female, aged 40-49, married, had a bachelor's degree, worked as government officials or state enterprise employees, had a monthly income of 20,001 – 30,000 baht, and had 3 - 4 family members. They primarily purchased teak bed furniture and preferred modern designs with matching sets. They chose stores based on recommendations from friends or acquaintances and made purchases to decorate their homes. The influence of purchasing decisions was primarily their own, with decision-making taking more than 1-2 weeks and the most recent purchase variations occurring more than 6 months ago, with total expenses around 30,000 baht. Reasons for purchase included attractive design and payment by cash transfer. The marketing mix factors significantly affected consumer decisions in Sung Men District, with the most influential factor being product attributes, followed by price, place, and promotion. Regarding the product factor, the top three sub-factors with the highest average scores are product durability, quality of teak furniture (e.g., wood texture and strength), and overall product standards. Regarding the price factor, the top three sub-factors are the availability of various price levels based on wood grade and type of furniture, reasonable prices relative to the quality of the teak furniture, and the ability to negotiate prices. Regarding the place factor, the top three sub-factors are sufficient parking space, clearly visible store locations, and proximity to communities for convenient purchasing. Regarding the promotion factor, the top three sub-factors are promotional activities such as discounts during special days or festivals from both on-site and online channels, free delivery for purchases meeting a set amount, and clear product information provided by sales staff. The test results show differences in the impact of marketing mix factors on consumer decisions based on age groups. Specifically, factors related to product, price, and place do not significantly differ across age groups, but there is a difference in the promotion aspect. Additionally, respondents with different average monthly incomes exhibit variation in the impact of marketing mix factors related to product, price, place, and promotion, with no significant difference in the distribution aspect. However, there are differences in the price and promotion aspects. Lastly, respondents with varying total expenditures on recent teak wood furniture purchases show differences in the impact of marketing mix factors related to product and distribution, but not in price and promotion.en_US
dc.language.isootheren_US
dc.publisherเชียงใหม่ : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่en_US
dc.titleส่วนประสมการตลาดที่มีผลต่อการตัดสินใจของผู้บริโภคในการซื้อเฟอร์นิเจอร์ไม้สักในอำเภอสูงเม่น จังหวัดแพร่en_US
dc.title.alternativeMarketing mix affecting consumer decisions towards purchasing teak furniture in Amphoe Sung Men, Phrae provinceen_US
dc.typeIndependent Study (IS)
thailis.controlvocab.thashพฤติกรรมผู้บริโภค -- สูงเม่น (แพร่)-
thailis.controlvocab.thashเฟอร์นิเจอร์ไม้สัก -- สูงเม่น (แพร่)-
thailis.controlvocab.thashผู้บริโภค -- สูงเม่น (แพร่)-
thesis.degreemasteren_US
thesis.description.thaiAbstractการศึกษาในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาส่วนประสมการตลาดที่มีผลต่อการตัดสินใจของผู้บริโภคในการซื้อเฟอร์นิเจอร์ไม้สักในอำเภอสูงเม่น จังหวัดแพร่ โดยเก็บรวบรวมด้วยข้อมูลแบบสอบถามจากกลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้บริโภคที่มาเลือกซื้อเฟอร์นิเจอร์ไม้สักจากร้านเฟอร์นิเจอร์ในอำเภอสูงเม่น จังหวัดแพร่ จำนวน 400 ราย โดยใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบตามสะดวก จากร้านเฟอร์นิเจอร์ไม้สักที่กระจายตัวอยู่ตำบลต่าง ๆ ในอำเภอสูงเม่น จังหวัดแพร่ และนำมาวิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา ประกอบด้วย ความถี่ ร้อยละ และค่าเฉลี่ย และสถิติเชิงอนุมาน ในการวิเคราะห์ความแตกต่างของส่วนประสมการตลาดที่มีผลต่อการตัดสินใจซื้อเฟอร์นิเจอร์ไม้สักในอำเภอสูงเม่น โดยใช้สถิติอ้างอิง One-Way ANOVA เพื่อทดสอบความแตกต่างและทดสอบปัจจัยย่อยจำแนกตามเป็นรายคู่ ด้วยวิธีการของเชฟเฟ่ (Scheffe) ผลการศึกษาพบว่าผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง อายุ 40 - 49 ปี สถานภาพสมรส มีระดับการศึกษาระดับปริญญาตรี ประกอบอาชีพ ข้าราชการ/พนักงานรัฐวิสาหกิจ รายได้เฉลี่ยต่อเดือน 20,001 – 30,000 บาท จำนวนสมาชิกในครอบครัว 3-4 คน ส่วนใหญ่เลือกซื้อเฟอร์นิเจอร์ไม้สักประเภทเตียงนอน ซึ่งสนใจเฟอร์นิเจอร์ไม้สักในรูปแบบทันสมัย เซ็ตดีไซน์สไตล์เดียวกัน เลือกร้านเฟอร์นิเจอร์ที่ซื้อโดยได้รับข้อมูลข่าวสารผ่านเพื่อน/คนรู้จัก แนะนำ ซึ่งโอกาสเลือกซื้อคือใช้ตกแต่งบ้าน โดยอิทธิพลในการเลือกซื้อคือตนเอง ระยะเวลาในการตัดสินใจซื้อมากกว่า 1-2 สัปดาห์ระยะเวลาในการซื้อล่าสุดคือ 6 เดือนขึ้นไป ค่าใช้จ่ายรวม 30,000 บาท เหตุผลที่ซื้อคือมีการออกแบบที่สวยงาม และมีการชำระเงินแบบโอนเงินสด ส่วนประสมการตลาดมีผลต่อการตัดสินใจของผู้บริโภคในการซื้อเฟอร์นิเจอร์ไม้สักในอำเภอสูงเม่น จังหวัดแพร่ และพบว่ามีผลต่อการตัดสินใจซื้อในระดับมากที่สุดทุกปัจจัย คือด้านผลิตภัณฑ์ รองลงมาคือด้านราคา ด้านช่องทางการจัดจำหน่ายและด้านส่งเสริมการตลาด ตามลำดับ ปัจจัยด้านผลิตภัณฑ์ ปัจจัยย่อยที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด 3 ลำดับแรก ได้แก่ ผลิตภัณฑ์มีความคงทน รองลงมาคือเฟอร์นิเจอร์ไม้สักมีคุณภาพ เช่น เนื้อไม้ ความแข็งแรง เป็นต้น และคุณภาพและมาตรฐานของเฟอร์นิเจอร์ไม้สัก ตามลำดับ ปัจจัยด้านราคา ปัจจัยย่อยที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด 3 ลำดับแรก ได้แก่ ผลิตภัณฑ์มีหลายระดับราคาตามเกรดของเนื้อไม้สักและประเภทของเฟอร์นิเจอร์ไม้สักต่างๆ รองลงมาคือราคาเหมาะสมกับคุณภาพเฟอร์นิเจอร์ไม้สัก และสามารถต่อรองราคาผลิตภัณฑ์ได้ ตามลำดับ ปัจจัยด้านช่องทางการจัดจำหน่าย ปัจจัยย่อยที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด 3 ลำดับแรก ได้แก่ สถานที่มีที่จอดรถเพียงพอรองลงมาคือทำเลที่ตั้งของสถานที่จำหน่ายมองเห็นได้ชัดเจน และสถานที่จำหน่ายตั้งอยู่ใกล้แหล่งชุมชนและสะดวกต่อการทำการซื้อ ปัจจัยด้านส่งเสริมการตลาด ปัจจัยย่อยที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด 3 ลำดับแรก ได้แก่ มีกิจกรรมส่งเสริมการขายด้วยโปรโมชั่นส่วนลด ในวันพิเศษหรือเทศกาลต่างๆ ทั้งหน้าร้านและช่องทางออนไลน์ รองลงมาคือมีโปรโมชั่นการขายด้วยการส่งฟรีเมื่อซื้อถึงยอดกำหนด และพนักงานขายให้ข้อมูลสินค้าที่ชัดเจน ผลการทดสอบความแตกต่าง พบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามด้านอายุที่แตกต่างกัน การมีผลของปัจจัยส่วนประสมการตลาดด้านผลิตภัณฑ์ ด้านราคา และด้านช่องทางการจัดจำหน่ายไม่แตกต่างกัน แต่ด้านส่งเสริมการ ตลาดมีความแตกต่างกัน ด้านผู้ตอบแบบสอบถามที่มีรายได้เฉลี่ยต่อเดือนแตกต่างกัน การมีผลของปัจจัยส่วนประสมการตลาดด้านผลิตภัณฑ์ ด้านราคา ด้านช่องทางการจัดจำหน่ายและด้านส่งเสริมการตลาดไม่แตกต่างกัน และผู้ตอบแบบสอบถามที่มีค่าใช้จ่ายรวมซื้อเฟอร์นิเจอร์ไม้สักครั้งล่าสุดแตกต่างกัน การมีผลของปัจจัยส่วนประสมการตลาดด้านผลิตภัณฑ์ และด้านช่องทางการจัดจำหน่ายไม่แตกต่างกัน แต่ด้านราคาและด้านส่งเสริมการตลาดแตกต่างกันen_US
Appears in Collections:BA: Independent Study (IS)

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
641532117.Sumitra Jaikaew.pdfส่วนประสมการตลาดที่มีผลต่อการตัดสินใจของผู้บริโภคในการซื้อเฟอร์นิเจอร์ไม้สักในอำเภอสูงเม่น จังหวัดแพร่.6415321172.65 MBAdobe PDFView/Open    Request a copy


Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.