Please use this identifier to cite or link to this item:
http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/79976
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | หรรษา เศรษฐบุปผา | - |
dc.contributor.advisor | ชาลินี สุวรรณยศ | - |
dc.contributor.author | บวรภพ ปราบมะเริง | en_US |
dc.date.accessioned | 2024-08-15T11:03:01Z | - |
dc.date.available | 2024-08-15T11:03:01Z | - |
dc.date.issued | 2024-06 | - |
dc.identifier.uri | http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/79976 | - |
dc.description.abstract | Amphetamine use is the most increasing trend in terms of drug addiction in Thailand, directly impacting both physical and mental aspects of users, as well as affecting families, society, and the nation. This quasi-experimental study aimed to investigate the effect of the multi-channel motivational enhancement therapy program on amphetamine use behaviors among persons with amphetamine use disorder. The sample group consisted of 32 individuals receiving inpatient treatment for amphetamine use disorder at the Nakhon Ratchasima Rajanagarindra Psychiatric Hospital. The research tools included: 1) a personal information questionnaire, 2) the Alcohol, Smoking and Substance Involvement Screening Test (ASSIST-ATS), 3) the Stages of Change Readiness and Treatment Eagerness Scale (SOCRATES-8A), and 4) the Multi-Channel Motivational Enhancement Therapy Program, delivered through three channels: face-to-face hospital-based rehabilitation, telephone-based rehabilitation, and community-based assertive rehabilitation. Data analysis was performed using descriptive statistics, independent sample t-tests, and paired t-tests. The results of the research revealed that: 1. The mean score for amphetamine use behavior in the experimental group in the four-week period after receiving the Multi-Channel Motivational Enhancement Therapy Program ( = 9.75, SD = 5.16) was lower than that before receiving the program ( = 28.63, SD = 1.78) with statistical significance (p < .01). 2. The mean score for amphetamine use behavior in the experimental group in the four-week period after receiving the Multi-Channel Motivational Enhancement Therapy Program ( = 9.75, SD = 5.16) was lower than that of the control group ( = 17.13, SD = 7.94) with statistical significance (p < .05). The results of this study demonstrate that the Multi-Channel Motivational Enhancement Therapy Program can enhance motivation and help reduce amphetamine use behavior. Therefore, it should be used to help people with amphetamine use disorders. | en_US |
dc.language.iso | other | en_US |
dc.publisher | เชียงใหม่ : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ | en_US |
dc.title | ผลของโปรแกรมการบำบัดเพื่อเสริมสร้างแรงจูงใจแบบหลายช่องทางต่อพฤติกรรมการใช้สารแอมเฟตามีนในผู้ที่มีความผิดปกติจากการใช้สารแอมเฟตามีน | en_US |
dc.title.alternative | Effect of the multi-channel motivational enhancement therapy program on Amphetamine use behaviors among persons with amphetamine use disorder | en_US |
dc.type | Thesis | |
thailis.controlvocab.thash | แอมฟิตะมิน | - |
thailis.controlvocab.thash | การจูงใจ (จิตวิทยา) | - |
thailis.controlvocab.thash | สุขภาพจิต | - |
thailis.controlvocab.thash | การติดแอมฟิตะมิน -- การรักษา | - |
thesis.degree | master | en_US |
thesis.description.thaiAbstract | แอมเฟตามีนเป็นสารเสพติดที่พบแนวโน้มเพิ่มขึ้นมากที่สุดในประเทศไทย ซึ่งส่งผลกระทบโดยตรงต่อตัวผู้เสพทั้งด้านร่างกายและจิตใจ รวมถึงส่งผลกระทบต่อครอบครัว สังคมและประเทศชาติ การวิจัยนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมการบำบัดเพื่อเสริมสร้างแรงจูงใจแบบหลายช่องทางต่อพฤติกรรมการใช้สารแอมเฟตามีนในผู้ที่มีความผิดปกติจากการใช้สารแอมเฟตามีน กลุ่มตัวอย่างประกอบด้วย ผู้ที่มีความผิดปกติจากการใช้สารแอมเฟตามีนที่เข้ารับการบำบัดรักษาแบบผู้ป่วยในของโรงพยาบาลจิตเวชนครราชสีมาราชนครินทร์ จำนวน 32 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย 1) แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคล 2) แบบคัดกรองประสบการณ์การใช้สารเสพติดประเภทแอมเฟตามีน (ASSIST-ATS) 3) แบบวัดความพร้อมในการเปลี่ยนแปลงและความต้องการการรักษา (SOCRATES-8A) และ 4) โปรแกรมการบำบัดเพื่อเสริมสร้างแรงจูงใจแบบหลายช่องทาง โดยใช้ช่องทางการบำบัด 3 ช่องทาง ได้แก่ การบำบัดแบบเผชิญหน้าในโรงพยาบาล การบำบัดทางโทรศัพท์ และการบำบัดเชิงรุกในชุมชน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา สถิติทดสอบค่าที ชนิด 2 กลุ่มที่เป็นอิสระต่อกัน และสถิติทดสอบค่าที ชนิด 2 กลุ่มที่ไม่เป็นอิสระต่อกัน ผลการศึกษาพบว่า 1. ค่าเฉลี่ยคะแนนพฤติกรรมการใช้สารแอมเฟตามีนของกลุ่มทดลองในระยะ 4 สัปดาห์ หลังได้รับโปรแกรมการบำบัดเพื่อเสริมสร้างแรงจูงใจแบบหลายช่องทาง ( = 9.75, SD = 5.16) ต่ำกว่าก่อนได้รับโปรแกรม ( = 28.63, SD = 1.78) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < .01) 2. ค่าเฉลี่ยคะแนนพฤติกรรมการใช้สารแอมเฟตามีนของกลุ่มทดลองในระยะ 4 สัปดาห์ หลังได้รับโปรแกรมการบำบัดเพื่อเสริมสร้างแรงจูงใจแบบหลายช่องทาง ( = 9.75, SD = 5.16) ต่ำกว่ากลุ่มควบคุมที่ได้รับการพยาบาลตามปกติ ( = 17.13, SD = 7.94) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < .05) ผลการศึกษาครั้งนี้แสดงให้เห็นว่าโปรแกรมการบำบัดเพื่อเสริมสร้างแรงจูงใจแบบหลายช่องทาง สามารถเสริมสร้างแรงจูงใจ และช่วยลดพฤติกรรมการใช้สารแอมเฟตามีนได้ ดังนั้น จึงควรมีการนำโปรแกรมการบำบัดนี้ไปใช้ในการบำบัดเพื่อลดพฤติกรรมการใช้สารแอมเฟตามีนในผู้ที่มีความผิดปกติจากการใช้สารแอมเฟตามีน | en_US |
Appears in Collections: | NURSE: Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
641231018-บวรภพ ปราบมะเริง.pdf | 6.95 MB | Adobe PDF | View/Open Request a copy |
Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.