Please use this identifier to cite or link to this item:
http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/79973
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | มาลี สิทธิเกรียงไกร | - |
dc.contributor.author | อรญา ชาวน่าน | en_US |
dc.date.accessioned | 2024-08-14T10:33:26Z | - |
dc.date.available | 2024-08-14T10:33:26Z | - |
dc.date.issued | 2024-06 | - |
dc.identifier.uri | http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/79973 | - |
dc.description.abstract | This thesis aims to study the marginalization of the Lahu people in Chiang Mai Province who migrated from other highland provinces in Northern Thailand to the Mae Kha Khlong slum communities (Lam Ku Wai Canal) in Chiang Mai during 1989-1992. The migration of some of the Lahu people in this study was driven by the impact of policies and development projects in the highlands implemented by the Thai state, which forced them to leave their homes in the highlands and seek new alternative livelihoods in this studied area. The researcher intends to analyze the marginalization of the Lahu people in this community, focusing on their adept use of cultural capital to convert it into economic resources for survival. This ethnographic study employs interviews and participatory observation methods to explore these dynamics. In order to protect the confidentiality and security of informants, pseudonyms have been assigned. The study found various forms of marginalization experienced by the Lahu people residing in the Khlong Mae Kha congested community (Lam Khu Wai Canal) across different generations. The first generation, arriving between 1989 and 1992, encountered marginalization primarily due to government policies and development initiatives, compelling them to relocate to Chiang Mai in pursuit of livelihood opportunities. Confronted with language barriers, limited access to education, and constrained career prospects, this cohort predominantly engaged in low-wage labor. While the second generation followed the first, with some arriving during the years 1998-2007, they faced significant educational limitations that prevented them from completing compulsory education. Despite these barriers, many in this generation acquired basic proficiency in the Thai language. Today, they have become the pillars of their families. This generation has begun to enter the labor market with increasing skills in various sectors, including garment factory work, construction, and repair technicians.The third generation, who were born and raised in the city, experience greater opportunities for education and employment compared to the preceding two generations. However, a notable portion of this generation opts not to pursue further education, instead entering the workforce through daily wage employment. Despite some individuals attaining educational qualifications, they often do not leverage these credentials in their professional careers. Instead, they seek alternative means of livelihood by utilizing their cultural capital, effectively converting their physical capital into economic capital. The marginalization of Lahu men in this study refers to their situation of uncertainty, where they may transform into different people within the community they reside in. This is due to the influence of urban people such as community leaders and local politicians. This marginalization results in their residential rights within the community being determined by those in power within the community, despite living within urban areas. They remain on the periphery of urban power, without equal rights to urban residents. | en_US |
dc.language.iso | other | en_US |
dc.publisher | เชียงใหม่ : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ | en_US |
dc.title | ภาวะความเป็นชายขอบกับการต่อรองของชาวลาหู่ในชุมชนแออัดคลองแม่ข่าในเมืองเชียงใหม่ | en_US |
dc.title.alternative | Marginalization and negotiation of the Lahu congested community in Urban of Chiang Mai | en_US |
dc.type | Thesis | |
thailis.controlvocab.thash | ความเป็นชาย | - |
thailis.controlvocab.thash | ชุมชนแออัด -- เชียงใหม่ | - |
thailis.controlvocab.thash | ลาหู่ | - |
thailis.controlvocab.thash | คลองแม่ข่า (เชียงใหม่) | - |
thesis.degree | master | en_US |
thesis.description.thaiAbstract | วิทยานิพนธ์ฉบับนี้ต้องการศึกษาภาวะความเป็นชายขอบของชาวลาหู่ในจังหวัดเชียงใหม่ที่ได้เคลื่อนย้ายจากจังหวัดอื่นในพื้นที่สูงของภาคเหนือมาสู่ชุมชนแออัดคลองแม่ข่า (คลองลำคูไหว) ในเมืองเชียงใหม่ ในช่วงปี 2532-2535 เนื่องจากชาวลาหู่ส่วนหนึ่งได้รับผลกระทบจากนโยบายและโครงการพัฒนาบนพื้นที่สูงจากรัฐไทย ได้ถูกเบียดขับจากพื้นที่เดิมทำให้พวกเขามองหาเส้นทางในการดำรงชีพกระทั่งได้เริ่มเข้ามาอาศัยในพื้นที่ดังกล่าว ผู้ศึกษาต้องการวิเคราะห์ความเป็นชายขอบของชาวลาหู่ในชุมชนแห่งนี้ รวมถึงทำความเข้าใจว่าพวกเขาเหล่านี้ได้ปรับเปลี่ยนการใช้ทุนทางวัฒนธรรมที่มีอยู่ในตัวตนของเขามาแปรเป็นทุนทางเศรษฐกิจเพื่อการดำรงชีพและหาทางรอดให้กับตนเองระหว่างที่อยู่ในเมืองเชียงใหม่อย่างไร งานศึกษาฉบับนี้เป็นการศึกษาเชิงชาติพันธุ์วรรณนา ใช้วิธีการสัมภาษณ์และสังเกตการณ์อย่างมีส่วนร่วม อย่างไรก็ตามเพื่อความปลอดภัยของผู้ให้ข้อมูลงานศึกษาจำเป็นต้องใช้นามสมมุติ ผลการศึกษานี้พบว่า กรณีชาวลาหู่ในชุมชนแออัดคลองแม่ข่า (ลำคูไหว)ที่ถูกผลักให้อยู่ในภาวะความเป็นชายขอบนั้นแต่ละรุ่นต่างมีวิธีการต่อรองที่แตกต่างกัน โดยรุ่นแรกที่เข้ามาอาศัยในช่วงปี 2532-2535 ตกอยู่ในภาวะความเป็นชายขอบจากนโยบายและโครงการพัฒนาของรัฐ ทำให้ต้องเคลื่อนย้ายเข้าสู่เมืองเชียงใหม่เพื่อหาทางมีชีวิตรอด อย่างไรก็ดีเนื่องจากเงื่อนไขทางภาษาที่ไม่สามารถสื่อสารได้ในช่วงแรก การไม่ได้รับการศึกษาและไม่มีทางเลือกในอาชีพจึงผลักให้ส่วนใหญ่ คนรุ่นนี้กลายมาเป็นแรงงานราคาถูก ในขณะที่ชาวลาหู่รุ่นที่สองติดตามเข้ามาพร้อมกับรุ่นแรกกับบางส่วนมาในช่วงปี 2541-2550 ด้วยข้อจำกัดด้านโอกาสด้านการศึกษาทำให้เรียนไม่จบในระดับการศึกษาภาคบังคับ หลายคนสามารถสื่อสารภาษาไทยพื้นฐานได้ กลายเป็นเสาหลักให้กับครอบครัวในปัจจุบัน โดยคนรุ่นนี้ได้เริ่มที่จะเข้าสู่ตลาดแรงงานที่ใช้ทักษะอื่น ๆ เพิ่มมากขึ้น เช่น เป็นพนักงานในโรงงานเย็บผ้า ทำงานก่อสร้าง ช่างซ่อม เป็นต้น ส่วนรุ่นที่สามที่เกิดและเติบโตในเมืองแม้พวกเขาจะมีโอกาสการเข้าถึงด้านการศึกษา และช่องทางการหางานมากกว่าสองรุ่น แต่คนรุ่นสามส่วนหนึ่งกลับเลือกที่จะไม่ศึกษาต่อและเริ่มมองหางานรับจ้างที่ได้ค่าตอบแทนรายวัน แม้ว่าบางส่วนได้วุฒิการศึกษากลับไม่ได้ใช้วุฒิของตนเองมาประกอบอาชีพและหาช่องทางอื่นในการทำมาหากิน แต่เลือกใช้ทุนทางวัฒนธรรมอันหมายความถึงทุนทางร่างกายแปรเป็นทุนทางเศรษฐกิจ ภาวะความเป็นชายขอบของกลุ่มชาวลาหู่ในงานศึกษานี้หมายถึง การตกอยู่ในสถานการณ์ที่ไม่แน่นอน กลายเป็นคนอื่นในชุมชนที่ตนเองอาศัยอยู่ เพราะถูกเลือกปฏิบัติจากคนเมือง ทั้งจากผู้นำชุมชน นักการเมืองท้องถิ่น เป็นต้น สภาวะความเป็นชายขอบนี้ส่งผลให้สิทธิการอาศัยอยู่ในชุมชนพวกเขาถูกกำหนด โดยผู้มีอำนาจในชุมชน แม้ว่าชาวลาหู่กลุ่มนี้จะอาศัยอยู่ในเขตเมือง แต่พวกเขาอยู่ในบริเวณชายขอบของอำนาจในเมืองซึ่งไม่ได้มีสิทธิ์เท่าเทียมกับคนในเมือง | en_US |
Appears in Collections: | SOC: Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
620431020_อรญา ชาวน่าน .pdf | 12.23 MB | Adobe PDF | View/Open Request a copy |
Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.