Please use this identifier to cite or link to this item: http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/79972
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorมนต์นภัส มโนการณ์-
dc.contributor.advisorสุบัน พรเวียง-
dc.contributor.authorสุภาพร ใสนวลen_US
dc.date.accessioned2024-08-14T10:18:58Z-
dc.date.available2024-08-14T10:18:58Z-
dc.date.issued2024-05-
dc.identifier.urihttp://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/79972-
dc.description.abstractThe objectives of this research are 1) Synthesize laws related to personnel administration in Chiang Mai education sandbox, 2) Study the conditions and problems of personnel administration in education sandbox, and 3) Develop and verify guidelines for personnel administration in Chiang Mai education sandbox. The informants included the educational innovation area steering committee, educational administrators, educational supervisors, and pilot school administrators. The synthesis results were verified using a law synthesis form related to personnel administration in education sandbox, with a five-level quality assessment, consisting of 238 items. Qualitative data were collected through interviews with five experts with knowledge, expertise, and experience in personnel administration in education sandbox, selected purposively using an interview form on conditions and problems of personnel administration in education sandbox. Additionally, the draft guidelines for personnel administration in Chiang Mai education sandbox were reviewed by five experts, also selected purposively, using a draft guideline verification form for personnel administration in Chiang Mai education sandbox, covering two aspects: appropriateness and feasibility. The research results showed that 1) Synthesis of Laws Related to personnel administration in education sandbox. The overall synthesis results are highly accurate. The synthesis of laws related to personnel administration, selection, and transfer is the most accurate. The synthesis of laws related to appointment, salary increment, and professional evaluation is also highly accurate. 2) Conditions and Problems of personnel administration in education sandbox. Selection: Pilot schools still adhere to the criteria set by the Teachers' Council of Thailand, leading to a mismatch between the allocation of teachers and actual needs. The staffing framework does not align with the missions of the education sandbox. Appointment: Support is provided to student teachers under the "Teachers for the Local Community" scholarship program. However, the lengthy appointment process results in a shortage of key personnel. Transfer: The transfer of administrators in pilot schools is smoother. However, there are still frequent requests for transfers from administrators and teachers. Salary Increment: The percentage-based salary increment system is inconsistent with the missions of the education sandbox, causing disparities between pilot schools in urban and remote areas. Professional Evaluation: The criteria and methods for professional evaluation are not conducive to the education sand box, leading to a lack of motivation among teachers to pursue or advance their professional status. 3) The guidelines for Personnel Administration in Chiang Mai Education Sandbox consisted of six components: (1) Process, (2) Educational innovation area policy committee, (3) Steering committee, (4) Parent organization, (5) Pilot schools, and (6) Success conditions. The overall verification of the guidelines indicated a high level of appropriateness and feasibility.en_US
dc.language.isootheren_US
dc.publisherเชียงใหม่ : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่en_US
dc.titleแนวทางการบริหารงานบุคคลในพื้นที่นวัตกรรมการศึกษาจังหวัดเชียงใหม่en_US
dc.title.alternativeGuidelines for personnel administration in Chiang Mai Education Sandboxen_US
dc.typeIndependent Study (IS)
thailis.controlvocab.thashการบริหารงานบุคคล -- เชียงใหม่-
thailis.controlvocab.thashการบริหารการศึกษา -- เชียงใหม่-
thailis.controlvocab.thashกฎหมายการศึกษา -- เชียงใหม่-
thesis.degreemasteren_US
thesis.description.thaiAbstractการวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) สังเคราะห์กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการบริหารงานบุคคล ในพื้นที่นวัตกรรมการศึกษา 2) ศึกษาสภาพและปัญหาการบริหารงานบุคคลในพื้นที่นวัตกรรมการศึกษา และ 3) จัดทำและตรวจสอบแนวทางการบริหารงานบุคคลในพื้นที่นวัตกรรมการศึกษาจังหวัดเชียงใหม่ กลุ่มผู้ให้ข้อมูล ประกอบด้วย คณะกรรมการขับเคลื่อนพื้นที่นวัตกรรมการศึกษา ผู้บริหารการศึกษา ศึกษานิเทศก์ และผู้บริหารสถานศึกษานำร่อง ตรวจสอบผลการสังเคราะห์ ด้วยแบบสังเคราะห์กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการบริหารงานบุคคลในพื้นที่นวัตกรรมการศึกษา แบบจัดระดับคุณภาพ 5 ระดับ จำนวน 238 ข้อ รวบรวมข้อมูลเชิงคุณภาพด้วยการสัมภาษณ์ผู้ทรงคุณวุฒิที่มีความรู้ ความเชี่ยวชาญ และประสบการณ์ในการบริหารงานบุคคลในพื้นที่นวัตกรรมการศึกษา จำนวน 5 คน ซึ่งได้มาจากการเลือกแบบเจาะจง โดยใช้แบบสัมภาษณ์สภาพและปัญหา การบริหารงานในพื้นที่นวัตกรรมการศึกษา และตรวจสอบ (ร่าง) แนวทางการบริหารงานบุคคล ในพื้นที่นวัตกรรมการศึกษาจังหวัดเชียงใหม่ จากผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 5 คน ซึ่งได้มาจากการเลือกแบบเจาะจง โดยใช้แบบตรวจสอบ (ร่าง) แนวทางการบริหารงานบุคคลในพื้นที่นวัตกรรมการศึกษาจังหวัดเชียงใหม่ ใน 2 ประเด็น ได้แก่ ความเหมาะสมและความเป็นไปได้ ผลการวิจัยพบว่า 1) การสังเคราะห์กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการบริหารงานบุคคลในพื้นที่นวัตกรรมการศึกษา ผลการตรวจสอบการสังเคราะห์โดยภาพรวมมีความถูกต้องอยู่ในระดับมาก โดยผลการสังเคราะห์พระราชบัญญัติที่เกี่ยวข้องกับการบริหารงานบุคคล กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการคัดเลือก และกฎหมาย ที่เกี่ยวข้องกับการโยกย้ายมีความถูกต้องอยู่ในระดับมากที่สุด ผลการสังเคราะห์กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการบรรจุแต่งตั้ง กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการเลื่อนเงินเดือน และกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับ การประเมินวิทยฐานะมีความถูกต้องอยู่ในระดับมาก 2) สภาพและปัญหาการบริหารงานบุคคลในพื้นที่นวัตกรรมการศึกษา ด้านการคัดเลือก สถานศึกษานำร่องยังคงยึดหลักเกณฑ์ของ ก.ค.ศ. ส่งผลให้การจัดสรรครูไม่ตรงตามความต้องการและการกำหนดกรอบอัตรากำลังไม่สอดคล้องกับภารกิจของพื้นที่นวัตกรรมการศึกษา ด้านการบรรจุแต่งตั้ง ได้รับการสนับสนุนนักศึกษาทุนโครงการครูรัก(ษ์)ถิ่น แต่เนื่องด้วยกระบวนการบรรจุ ใช้ระยะเวลานาน ส่งผลให้ขาดแคลนบุคคลสำคัญในการดำเนินงาน ด้านการโยกย้าย การย้ายผู้บริหารสถานศึกษานำร่องมีความราบรื่นมากยิ่งขึ้น แต่ยังคงประสบปัญหาผู้บริหารและครูขอย้ายออก เป็นประจำ ด้านการเลื่อนเงินเดือน การเลื่อนเงินเดือนระบบร้อยละและไม่สอดคล้องกับภารกิจของพื้นที่นวัตกรรมการศึกษา ส่งผลให้เกิดความเหลื่อมล้ำระหว่างสถานศึกษานำร่องในเมือง และพื้นที่ห่างไกล และการประเมินวิทยฐานะ หลักเกณฑ์และวิธีการที่ไม่เอื้ออำนวยกับพื้นที่นวัตกรรมการศึกษา ส่งผลให้ครูไม่มีแรงจูงใจในการประเมินเพื่อขอมีหรือเลื่อนวิทยฐานะ 3) แนวทางการบริหารงานบุคคลในพื้นที่นวัตกรรมการศึกษาจังหวัดเชียงใหม่ มี 6 องค์ประกอบ ได้แก่ (1) กระบวนการ (2) คณะกรรมการนโยบายพื้นที่นวัตกรรมการศึกษา (3) คณะกรรมการขับเคลื่อน (4) หน่วยงานต้นสังกัด (5) สถานศึกษานำร่อง และ (6) เงื่อนไขความสำเร็จ และผลการตรวจสอบแนวทางโดยภาพรวมมีความเหมาะสมและความเป็นไปได้อยู่ในระดับมากที่สุดen_US
Appears in Collections:EDU: Independent Study (IS)

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
650232091 สุภาพร ใสนวล.pdf13.09 MBAdobe PDFView/Open    Request a copy


Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.