Please use this identifier to cite or link to this item: http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/79971
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorยงยุทธ ยะบุญธง-
dc.contributor.advisorธารณ์ ทองงอก-
dc.contributor.authorจิระณัฐฎ์ สุปนen_US
dc.date.accessioned2024-08-11T13:28:46Z-
dc.date.available2024-08-11T13:28:46Z-
dc.date.issued2024-05-
dc.identifier.urihttp://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/79971-
dc.description.abstractThis independent research aims to: 1) Study the innovation leadership levels of school administrators and the competency levels of curriculum management and teacher learning management. 2) Study the innovation leadership levels of administrators influencing the competency levels of curriculum management and teacher learning management. 3) Study strategies for developing innovation leadership among administrators affecting the competency levels of curriculum management and teacher learning management in schools demonstrating good practices. 4) Develop and verify guidelines for developing innovation leadership among administrators affecting the competency levels of curriculum management and teacher learning management. Data collection tools include questionnaires, interview recordings, checklists, and data analysis methods such as frequency, percentage, mean, standard deviation, ranking, and content analysis. Results: 1) Innovation leadership levels of school administrators and competency levels of curriculum management and teacher learning management are generally high. The highest average score was in the Vision for Change dimension, and the lowest was in Risk Management. Competency levels in curriculum management and teacher learning management are also generally high, with the highest average score in Curriculum Development and the lowest in Technology Innovation Media Use and Development. 2) Innovation leadership levels of administrators significantly affect the competency levels of curriculum management and teacher learning management in schools, statistically significant at the 0.05 level. Regression equations for raw scores and standardized scores are as follows: Unstandardized Score Y ̂ = -1.86 + 0.29 (x_3 )+ 0.35 (x_1 ) + 0.29 (x_2 )+ 0.27 (x_6 )+ 0.25 (x_8 ) Standardized Score Z ̂ = 0.29 (x_3 )+ 0.24 (x_1 ) + 0.29 (x_2 )+ 0.23 (x_6 )+ 0.20 (x_8 ) 3) Strategies for developing innovation leadership among administrators that positively impact the competency levels of curriculum management and teacher learning management in schools with good practices include promoting skill and knowledge development related to innovation and change, encouraging administrator participation in training and development programs, and fostering an organizational culture that supports creativity and knowledge sharing among staff. 4) Developed guidelines for enhancing innovation leadership among administrators impacting competency levels of curriculum management and teacher learning management include principles, objectives, methods, and success criteria, validated for appropriateness and feasibility across all dimensions.en_US
dc.language.isootheren_US
dc.publisherเชียงใหม่ : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่en_US
dc.titleแนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรมของผู้บริหารที่ส่งผลต่อสมรรถนะการบริหารหลักสูตรและการจัดการเรียนรู้ของครูสถานศึกษานำร่องพื้นที่นวัตกรรมการศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเชียงใหม่en_US
dc.title.alternativeGuidelines for innovative leadership developments of administrators affecting to teachers’ competencies on curriculum and teaching managements at educational sandbox pilot schools attached to the Secondary Educational Service Area Office Chiang Maien_US
dc.typeIndependent Study (IS)
thailis.controlvocab.thashภาวะผู้นำทางการศึกษา -- เชียงใหม่-
thailis.controlvocab.thashการศึกษา -- หลักสูตร-
thailis.controlvocab.thashการบริหารการศึกษา-
thesis.degreemasteren_US
thesis.description.thaiAbstractการศึกษาค้นคว้าอิสระครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระดับภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรมของผู้บริหารและระดับสมรรถนะการบริหารหลักสูตรและการจัดการเรียนรู้ของครู สถานศึกษาฯ 2) ศึกษาระดับภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรมของผู้บริหารที่ส่งผลต่อระดับสมรรถนะการบริหารหลักสูตรและการจัดการเรียนรู้ของครู 3) ศึกษาแนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรมของผู้บริหารที่ส่งผลต่อสมรรถนะการบริหารหลักสูตรและการจัดการเรียนรู้ของครูสถานศึกษาที่มีการปฏิบัติที่ดี และ 4) จัดทำและตรวจสอบแนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรมของผู้บริหารที่ส่งผลต่อสมรรถนะการบริหารหลักสูตรและการจัดการเรียนรู้ของครู เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบข้อมูล คือ แบบสอบถาม แบบบันทึกการสัมภาษณ์ แบบตรวจสอบ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน เรียงลำดับ และการสังเคราะห์เนื้อหา ผลการศึกษา พบว่า 1) ระดับภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรมของผู้บริหารและระดับสมรรถนะการบริหารหลักสูตรและการจัดการเรียนรู้ของสถานศึกษาฯ โดยระดับภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรมของผู้บริหารโดยรวมและรายด้านแต่ละด้านอยู่ในระดับมาก ด้านที่มีค่าเฉลี่ยมากที่สุดคือ ด้าน วิสัยทัศน์เพื่อการเปลี่ยนแปลง และด้านที่มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุดคือ ด้านการบริหารความเสี่ยง และระดับสมรรถนะการบริหารหลักสูตรและการจัดการเรียนรู้ของครู โดยรวมและรายด้านแต่ละด้านอยู่ในระดับมาก ด้านที่มีค่าเฉลี่ยมากที่สุดคือ ด้านการสร้างและพัฒนาหลักสูตร ด้านที่มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุดคือ ด้านการใช้และพัฒนาสื่อนวัตกรรมเทคโนโลยีเพื่อการจัดการเรียนรู้ 2) ระดับภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรมของผู้บริหารที่ส่งผลต่อระดับสมรรถนะการบริหารหลักสูตรและการจัดการเรียนรู้ของครู พบว่าด้านวิสัยทัศน์เพื่อการเปลี่ยนแปลง ด้านการทำงานเป็นทีมและการมีส่วนร่วม ด้านการสร้างบรรยากาศสังคมแห่งการเรียนรู้ ด้านบรรยากาศแห่งองค์การนวัตกรรมและด้านการสร้างแรงจูงใจให้กับบุคลากร ส่งผลต่อระดับสมรรถนะการบริหารหลักสูตรและการจัดการเรียนรู้ของครูในสถานศึกษาฯ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 สามารถสร้างสมการถดถอยในรูปคะแนนดิบและคะแนนมาตรฐาน ได้ดังนี้ สมการในรูปคะแนนดิบ (Unstandardized Score) Y ̂ = -1.86 + 0.29 (x_3 )+ 0.35 (x_1 ) + 0.29 (x_2 )+ 0.27 (x_6 )+ 0.25 (x_8 ) สมการพยากรณ์ในรูปแบบคะแนนมาตรฐาน (Standardized Score) Z ̂ = 0.29 (x_3 )+ 0.24 (x_1 ) + 0.29 (x_2 )+ 0.23 (x_6 )+ 0.20 (x_8 ) 3) แนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรมของผู้บริหารที่ส่งผลต่อสมรรถนะการบริหารหลักสูตรและการจัดการเรียนรู้ของครูสถานศึกษาที่มีการปฏิบัติที่ดี โรงเรียนที่มีการปฏิบัติที่ดี มีวิธีการ คือ ส่งเสริมการพัฒนาทักษะและความรู้ ให้มีการพัฒนาทักษะและความรู้ที่เกี่ยวข้องกับนวัตกรรมและการเปลี่ยนแปลง ให้ผู้บริหารเข้าร่วมการอบรม ฝึกอบรม หรือเป็นส่วนหนึ่งของโครงการการพัฒนาบุคลากร ผู้บริหารสร้างวัฒนธรรมองค์กรที่สนับสนุนการท้าทาย และส่งเสริมการแบ่งปันความคิดสร้างสรรค์ระหว่างบุคลากรและสร้างวัฒนธรรมที่สนับสนุนนวัตกรรม 4) แนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรมของผู้บริหารที่ส่งผลต่อสมรรถนะการบริหารหลักสูตรและการจัดการเรียนรู้ของครูสถานศึกษาฯ ที่พัฒนาขึ้นมี 4 องค์ประกอบ ได้แก่ 1) หลักการ 2) วัตถุประสงค์ 3) วิธีการ และ 4) เงื่อนไขความสำเร็จ และผลการตรวจสอบความถูกต้อง ความเหมาะสม ความเป็นไปได้โดยรวมอยู่ระดับมากที่สุด และผ่านเกณฑ์ที่กำหนดไว้ทุกด้านen_US
Appears in Collections:EDU: Independent Study (IS)

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
650232058 จิระณัฐฎ์ สุปน.pdf14.53 MBAdobe PDFView/Open    Request a copy


Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.