Please use this identifier to cite or link to this item:
http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/79963
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | มนต์นภัส มโนการณ์ | - |
dc.contributor.advisor | สุบัน พรเวียง | - |
dc.contributor.author | วริศรา ใจแก้ว | en_US |
dc.date.accessioned | 2024-08-11T08:14:55Z | - |
dc.date.available | 2024-08-11T08:14:55Z | - |
dc.date.issued | 2024-05 | - |
dc.identifier.uri | http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/79963 | - |
dc.description.abstract | This research aims to 1) synthesize the components and indicators of teachers' growth mindset, 2) investigate methods for developing teachers' growth mindset, and 3) develop and validate guidelines for developing teachers' growth mindset within Chiang Mai Primary Education Service Area Office 1. The sample group consists of 630 primary school teachers. Their opinions were assessed using a 5-point Likert scale questionnaire, Content validity was between 0.80 and 1.00, reliability was 0.960. and analyzed for confirmatory factor structure using the Mplus program. Qualitative data was collected through interviews with 9 experts with knowledge and experience in teacher development related to growth mindset.The experts were selected purposively and interviewed using a teacher growth mindset development questionnaire.The (draft) guideline for developing teachers' growth mindset was validated by the 9 experts and The validation was conducted form in 3 aspects: appropriateness, feasibility, and usefulness. The research findings are as follows: 1) The components of teachers' growth mindset consist of two dimensions: Internal teacher positive attitudes and Opening up learning spaces for students. The dimension of Internal teacher attitudes comprises six components: Belief in Self-Improvement, Embracing Challenges, Facing obstacles, Persistence, Learning from criticism, and Inspired by Others' Success. The dimension of Opening up learning spaces for students comprises five components: Nurturing Student Self-Belief, Embracing Challenges and Change, Transforming Challenges into Growth , Positive communication with students, and Inspiring Success. Confirmatory factor analysis supported the structural validity of this model. 2) Approaches to fostering growth mindset in teachers consist of four main aspects: Importance of developing a growth mindset is crucial for educational quality. Administrators see it as a key to improving teaching practices, leading to better student learning, Process of developing teachers' growth mindset, Conditions for success, and Limitations/ recommendations for developing a growth mindset. 3) Guidelines for developing teachers' growth mindset attached to Chiang Mai Primary Education Service Area Office 1 include five main aspects: Principles are developing teacher inner positive attitudes and opening up learning spaces for students , Objectives is nurturing Growth Mindset in teachers to enhance student quality, Methods/processes comprises the six-process Framework for developing teacher inner positive attitudes 1)Knowledge Sharing 2) Power of question 3)Coaching 4)Feedback 5)Reflective Thinking and 6)Lesson learned and The Three-Process Approach to Opening Up Learning Spaces for Students 1) Teacher competency 2) Activity design by Growth Mindset and 3) Growth Mindset Classroom Management, Conditions for success, and recommendations are Prioritize Growth Mindset Development, Align Policies, Create Safe Spaces for Idea Sharing and Build Collaborative Networks . Overall, the evaluation of the Guidelines for Developing Teachers' Growth Mindset Attached to Chiang Mai Primary Education Service Area Office indicates a high level of appropriateness, feasibility, and usefulness. | en_US |
dc.language.iso | other | en_US |
dc.publisher | เชียงใหม่ : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ | en_US |
dc.title | แนวทางการพัฒนากรอบความคิดเติบโตของครูสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงใหม่ เขต 1 | en_US |
dc.title.alternative | Guidelines for developing teachers’ growth mindset attached to Chiang Mai Primary Education Service Area Office 1 | en_US |
dc.type | Independent Study (IS) | |
thailis.controlvocab.thash | สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงใหม่ เขต 1 | - |
thailis.controlvocab.thash | การบริหารการศึกษา | - |
thailis.controlvocab.thash | ครู | - |
thailis.controlvocab.thash | การศึกษาขั้นประถม | - |
thesis.degree | master | en_US |
thesis.description.thaiAbstract | การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) สังเคราะห์องค์ประกอบและตัวบ่งชี้ของกรอบความคิดเติบโตของครู 2) ศึกษาวิธีการพัฒนากรอบความคิดเติบโตของครู และ 3) จัดทำและตรวจสอบแนวทางการพัฒนากรอบความคิดเติบโตของครูสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาเชียงใหม่เขต 1 กลุ่มตัวอย่างประกอบด้วย ครูผู้สอน ระดับประถมศึกษา จำนวน 630 คน สอบถามความคิดเห็นด้วยแบบวัดชนิดประมาณค่า 5 ระดับ ค่าความตรงเชิงเนื้อหาอยู่ระหว่าง 0.80 ถึง 1.00 ค่าความเชื่อมั่น 0.960 วิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน ด้วยโปรแกรม Mplus และรวบรวมข้อมูลเชิงคุณภาพด้วยการสัมภาษณ์ผู้ทรงคุณวุฒิที่มีความรู้ และประสบการณ์ในการพัฒนาครูเกี่ยวข้องกับกรอบความคิดเติบโต จำนวน 9 คน ซึ่งได้มาจากการเลือกแบบเจาะจง โดยใช้แบบสัมภาษณ์วิธีการพัฒนากรอบความคิดเติบโตของครู และตรวจสอบ (ร่าง)แนวทางการพัฒนากรอบความคิดเติบโตของครู จากผู้ทรงคุณวุฒิจำนวน 9 คน ซึ่งได้มาจาก การเลือกแบบเจาะจง โดยใช้แบบตรวจสอบ(ร่าง)แนวทางการพัฒนากรอบความคิดเติบโตของครู ใน 3 ประเด็น ได้แก่ ความเหมาะสม ความเป็นไปได้ และความเป็นประโยชน์ ผลการวิจัยพบว่า 1. องค์ประกอบและตัวบ่งชี้ของกรอบความคิดเติบโตของครูประกอบด้วย ด้านทัศนคติเชิงบวกภายในของครู และการเปิดพื้นที่แห่งการเรียนรู้สู่ผู้เรียน โดยด้านทัศนคติเชิงบวกภายในของครู มี 6 องค์ประกอบ ได้แก่ 1) ความเชื่อว่าความสามารถและสติปัญญาสามารถพัฒนาได้ 2) การชอบความท้าทาย 3) การเผชิญต่ออุปสรรค 4) ความพยายามและความมุ่งมั่น 5) การเรียนรู้จากคำวิจารณ์ และ 6) การสร้างแรงบันดาลใจจากความสำเร็จของผู้อื่น ด้านการเปิดพื้นที่แห่งการเรียนรู้สู่ผู้เรียน มี 5 องค์ประกอบ ได้แก่ 1) การสร้างความเชื่อมั่นในความสามารถของตัวผู้เรียน 2) การพัฒนาความสามารถในการปรับตัวกับความท้าทายและการเปลี่ยนแปลง 3) การฝึกมองปัญหาและอุปสรรคเป็นการเรียนรู้ 4) การสื่อสารเชิงบวกกับผู้เรียน และ 5) การสร้างแรงบันดาลใจสู่ความสำเร็จ ผลการตรวจสอบความสอดคล้องกลมกลืนของโมเดลตัวบ่งชี้องค์ประกอบของกรอบความคิดเติบโตของครูได้รับการยืนยันว่ามีความตรงเชิงโครงสร้าง โดยเมตริกซ์ความแปรปรวนของข้อมูลเชิงประจักษ์สอดคล้องกับทฤษฎี 2. วิธีการพัฒนากรอบความคิดเติบโตของครู ประกอบด้วย 4 ประเด็นหลัก ได้แก่ 1) ความสำคัญของการพัฒนากรอบความคิดเติบโต ที่มีความสำคัญและจำเป็นอย่างมาก เพราะเป็นปัจจัยในการพัฒนาคุณภาพการศึกษา ผ่านมุมมองของผู้บริหาร นำไปสู่คุณภาพการจัดการเรียนรู้ของครู ถ่ายทอดสู่ผู้เรียน 2) วิธีการพัฒนากรอบความคิดเติบโตของครู 3) เงื่อนไขความสำเร็จ และ 4) ข้อจำกัดและข้อเสนอแนะในการพัฒนากรอบความคิดเติบโต 3. แนวทางการพัฒนากรอบความคิดเติบโตของครูสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงใหม่ เขต 1 ประกอบด้วย 5 ประเด็นหลัก ได้แก่ 1) หลักการ คือการพัฒนาทัศคติ เชิงบวกภายในของครูและการเปิดพื้นที่แห่งการเรียนรู้สู่ผู้เรียน 2) วัตถุประสงค์ เพื่อส่งเสริม การมีกรอบความคิดเติบโตของครูสู่การพัฒนาคุณภาพผู้เรียน 3) วิธีการ/กระบวนการ (1) การพัฒนาทัศคติเชิงบวกภายในของครู ใช้วิธีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ การใช้พลังคำถาม การโค้ช การให้ข้อมูลย้อนกลับ การสะท้อนคิด และการถอดบทเรียน (2) การเปิดพื้นที่แห่งการเรียนรู้สู่ผู้เรียน ใช้วิธีการพัฒนาทักษะครูสู่ผู้เรียน การออกแบบกิจกรรมการเรียนรู้ด้วยกรอบความคิดเติบโต และการบริหารจัดการชั้นเรียนเพื่อเสริมสร้างกรอบความคิดเติบโต 4) เงื่อนไขความสำเร็จ คือ การให้ความสำคัญ กับการพัฒนากรอบความคิดเติบโต การกำหนดนโยบาย การสร้างพื้นที่ปลอดภัยทางความคิด และการสร้างเครือข่ายความร่วมมือ 5) ข้อเสนอแนะ คือ ความร่วมมือร่วมใจ การมีส่วนร่วม การให้ความสำคัญกับกระบวนการและการเข้าใจความแตกต่างระหว่างบุคคลของผู้เรียน ทั้งนี้ ผลของการตรวจสอบแนวทางโดยภาพรวมมีความเหมาะสม ความเป็นไปได้ และความเป็นประโยชน์ ในระดับมากที่สุด | en_US |
Appears in Collections: | EDU: Independent Study (IS) |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
650232084 วริศรา ใจแก้ว.pdf | 14.66 MB | Adobe PDF | View/Open Request a copy |
Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.