Please use this identifier to cite or link to this item: http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/79915
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorมนต์นภัส มโนการณ์-
dc.contributor.advisorธารณ์ ทองงอก-
dc.contributor.authorปิยะธิดา สยะรักษ์en_US
dc.date.accessioned2024-07-28T15:00:58Z-
dc.date.available2024-07-28T15:00:58Z-
dc.date.issued2567-05-02-
dc.identifier.urihttp://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/79915-
dc.description.abstractThis research aimed to study the current situation, desirable conditions, and needs of visionary leadership among school administrators in the Secondary Educational Service Area Office in Chiang Mai, study best practices, and develop and verify guidelines for these administrators. The research involved surveying 170 school administrators, interviewing 11 Basic Education Commission Quality Award (OBECQA) winning administrators and OBECQA assessors, and confirming the guidelines with nine experts in national quality awards. The tools used were a Likert scale questionnaire adapted from the Baldrige Performance Excellence Program, a semi-structured interview form, and a guideline assessment questionnaire. The analysis included the Priority Needs Index (PNImodified), means, and standard deviations. The research findings indicate that current visionary leadership was high, and desirable conditions were at their highest. The component with the highest level of needs was measurement, analysis, and knowledge management. Best practices prioritize all seven OBECQA criteria components. The guidelines consist of principles, objectives, methods/processes, key success factors, and limitations/challenges. The overall guideline confirming results of propriety, feasibility, and utility were at the highest level. Therefore, administrators should focus on measurement, analysis, and knowledge management, as research findings indicate that administrators have the highest need in this component. Administrators should utilize assessment data to refine and improve their work to align with school development. The research findings indicate that: 1) The overall current situation and desired conditions for the visionary leadership of school administrators attached to the Secondary Educational Service Area Office Chiang Mai were rated highly. The Priority Needs Index (PNImodified) was 0.095, arranged from the highest to the lowest: measurement, analysis and knowledge management, operations, student and stakeholders, leadership, results, strategy and workforce. 2) Best practices for the visionary leadership of school administrators promote and support three main issues, consisting of methods/processes of leading the organization with vision, seven components, conditions for success and limitations/challenges that affect leading the visionary leadership, both internal and external factors. 3) Guidelines for the visionary leadership of school administrators attached to the Secondary Educational Service Area Office Chiang Mai consists of five main issues 1) The principle is to manage educational institutions to have quality according to OBECQA criteria. 2) The objective is to present guidelines for leading the organization with vision that results in quality educational institutions. 3) Processes according to the elements of leading an organization with vision, 4) Key success factors in leading an organization with vision, both in terms of knowledge and ability of leaders and cooperation from stakeholders, and 5) Limitations/challenges both internal factors and external factors and the overall results of the inspection of the guidelines—propriety, feasibility, and utility—are at the highest levelen_US
dc.language.isootheren_US
dc.publisherเชียงใหม่ : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่en_US
dc.titleแนวทางการนำองค์กรอย่างมีวิสัยทัศน์ของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเชียงใหม่en_US
dc.title.alternativeGuidelines for the visionary leadership of school administrators attached to The Secondary Educational Service Area Office Chiang Maien_US
dc.typeIndependent Study (IS)
thailis.controlvocab.thashสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเชียงใหม่-
thailis.controlvocab.thashผู้บริหารโรงเรียน-
thailis.controlvocab.thashการบริหารการศึกษา-
thailis.controlvocab.thashการศึกษา -- การประเมิน-
thesis.degreemasteren_US
thesis.description.thaiAbstractการวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อ 1) เพื่อศึกษาสภาพปัจจุบัน สภาพที่พึงประสงค์ และความต้องการจำเป็นของการนำองค์กรอย่างมีวิสัยทัศน์ของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเชียงใหม่ 2) เพื่อการศึกษาวิธีการปฏิบัติที่ดีในการนำองค์กรอย่างมีวิสัยทัศน์ และ 3) เพื่อจัดทำและตรวจสอบแนวทางการนำองค์กรอย่างมีวิสัยทัศน์ของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเชียงใหม่ กลุ่มผู้ให้ข้อมูลประกอบด้วย ผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเชียงใหม่ จำนวน 170 คน สอบถามความคิดเห็นด้วย แบบสอบถามชนิดประมาณค่า 5 ระดับ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และดัชนีลำดับความสำคัญของความต้องการจำเป็น (PNImodified) ศึกษาวิธีการปฏิบัติที่ดีด้วยการสัมภาษณ์ ผู้บริหารสถานศึกษาจากสถานศึกษาที่ได้รับรางวัลคุณภาพ OBECQA และผู้ประเมินรางวัลคุณภาพ OBECQA จำนวน 11 คน ซึ่งได้มาจากการเลือกแบบเจาะจง โดยใช้แบบสัมภาษณ์แบบกึ่งโครงสร้าง วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้การวิเคราะห์เนื้อหา จัดทำ (ร่าง) แนวทางการนำองค์กรอย่างมีวิสัยทัศน์ของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเชียงใหม่โดยใช้การวิเคราะห์เนื้อหา ตรวจสอบ (ร่าง) แนวทางการนำองค์กรอย่างมีวิสัยทัศน์ของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเชียงใหม่ โดยผู้ทรงคุณวุฒิที่มีความเชี่ยวชาญด้านรางวัลคุณภาพแห่งชาติ จำนวน 9 คน ซึ่งได้มาจากการเลือกแบบเจาะจง โดยใช้แบบตรวจสอบแนวทาง ใช้เกณฑ์ในการพิจารณาความเหมาะสม ความเป็นไปได้ และความเป็นประโยชน์ ผลการวิจัยพบว่า 1) การนำองค์กรอย่างมีวิสัยทัศน์ของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเชียงใหม่ มีค่าเฉลี่ยของสภาพปัจจุบันโดยรวมอยู่ในระดับมาก และมีค่าเฉลี่ยของสภาพที่พึงประสงค์โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด มีค่าดัชนีลำดับความสำคัญของความต้องการจำเป็น (PNImodified) โดยรวมเท่ากับ 0.095 เรียงจากมากไปหาน้อย ดังนี้ การวัด วิเคราะห์ และการจัดการความรู้ การปฏิบัติการ ผู้เรียนและผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย การนำองค์กร ผลลัพธ์ กลยุทธ์ และบุคลากร ตามลำดับ 2) วิธีปฏิบัติที่ดีในการนำองค์กรอย่างมีวิสัยทัศน์ของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเชียงใหม่ เชียงใหม่ ควรส่งเสริมและสนับสนุนใน 3 ประเด็นหลัก ประกอบด้วย วิธีการ/กระบวนการของการนำองค์กรอย่างมีวิสัยทัศน์ 7 องค์ประกอบ เงื่อนไขความสำเร็จ และข้อจำกัด/อุปสรรคที่ส่งผลต่อการนำองค์กรอย่างมีวิสัยทัศน์ทั้งปัจจัยภายในและปัจจัยภายนอก 3) แนวทางการนำองค์กรอย่างมีวิสัยทัศน์ของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเชียงใหม่ ประกอบด้วย 5 ประเด็นหลัก ได้แก่ 1) หลักการ คือ การบริหารสถานศึกษาให้มีคุณภาพตามเกณฑ์ OBECQA 2) วัตถุประสงค์เพื่อนำเสนอแนวทางการนำองค์กรอย่างมีวิสัยทัศน์ที่ส่งผลให้สถานศึกษามีคุณภาพ 3) วิธีการ/กระบวนการตามองค์ประกอบของการนำองค์กรอย่างมีวิสัยทัศน์ 4) เงื่อนไขความสำเร็จในการนำองค์กรอย่างมีวิสัยทัศน์ทั้งในด้านของความรู้ความสามารถของผู้นำและความร่วมมือจากผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง และ5) ข้อจำกัด/อุปสรรค และผลการตรวจสอบแนวทางโดยภาพรวมมีความเหมาะสม ความเป็นไปได้ และความเป็นประโยชน์ ในระดับมากที่สุดen_US
Appears in Collections:EDU: Independent Study (IS)

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
650232074 ปิยะธิดา สยะรักษ์.pdf20.41 MBAdobe PDFView/Open    Request a copy


Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.