Please use this identifier to cite or link to this item: http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/79898
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorอริศรา เจริญปัญญาเนตร-
dc.contributor.authorอรรถชัย บุญประเสริฐen_US
dc.date.accessioned2024-07-28T08:06:56Z-
dc.date.available2024-07-28T08:06:56Z-
dc.date.issued2567-05-15-
dc.identifier.urihttp://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/79898-
dc.description.abstractAnthracnose Disease outbreak in Arabica coffee. It has caused great damage to Thai coffee farmers and the agricultural economic system. The aims of this study are separated into three objectives. Firstly, this research aims to analyze the physical factors that affect the occurrence of Anthracnose Disease in Arabica coffee. Secondly, to create an Anthracnose Disease Index in Arabica coffee using Sentinel-2 and Finally, aims to predict the yield of Arabica coffee using the Sentinel-2 satellite in Anthracnose Disease outbreaking. Physical factors from satellite imagery indices are analyzed about environmental conditions to the occurrence of fungi that cause Anthracnose Disease to be used to model Anthracnose Disease predictions. For the creation of an Anthracnose Disease Index analyzed in combination with satellite imagery of bands from spectral-signature analysis to obtain a test index sample suitable for Anthracnose indexation, and to use physical factors to analyze Arabica coffee yield prediction with multiple linear regression equations to evaluate coffee yield in the next harvesting by comparing it with actual yield data from field surveys. The study found that the Land Surface Temperature Index (LST) is a physical factor associated with temperature that affects the occurrence of fungi that cause Anthracnose. It is a physical factor that is associated with temperature that affects the occurrence of fungi that cause Anthracnose Disease. When temperatures are high and there is drought, fungi can thrive, infesting resident plants. The Normalize Difference Moisture Index (NDMI) can explain the spread of Anthracnose Disease through fungal spores in wind and rain that cause air humidity, and elevation affects the growth and plant disease resistance of Arabica coffee plants. Anthracnose indexing section It was found that 2 indices are test index 0E and test index 0F, which are test index 0E that is suitable for analyzing the probability of Anthracnose Disease and index 0F which is suitable for analyzing the probability of not occurring Anthracnose Disease and analysis of yield prediction of Arabica coffee. It was found that the Leaf Area Index (LAI) and the Normalized Difference Moisture Index (NDMI) correlated with yield prediction. When analyzing the data error from the Root Mean Square Error (RMSE), it was found that the mean squared error was 76.61, which means that the yield calculated from the production yield prediction model equation has a deviation from the actual yield of 76.61 kg per rai.en_US
dc.language.isootheren_US
dc.publisherเชียงใหม่ : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่en_US
dc.subjectการคาดการณ์ผลผลิตen_US
dc.subjectดัชนีแอนแทรคโนสen_US
dc.subjectปัจจัยทางด้านกายภาพen_US
dc.titleการสร้างดัชนีแอนแทรคโนสและการคาดการณ์ผลผลิตกาแฟพันธุ์อาราบิก้าจากการเกิดโรคแอนแทรคโนสด้วยดาวเทียม Sentinel-2en_US
dc.title.alternativeCreation of anthracnose index and productivity prediction of Arabica from Anthracnose disease using Sentinel-2en_US
dc.typeThesis
thailis.controlvocab.thashกาแฟ -- พันธุ์อราบิก้า-
thailis.controlvocab.thashกาแฟ -- การปลูก-
thailis.controlvocab.thashกาแฟ -- โรคและศัตรูพืช-
thailis.controlvocab.thashแอนแทรคโนส-
thailis.controlvocab.thashดาวเทียม-
thesis.degreemasteren_US
thesis.description.thaiAbstractโรคแอนแทรคโนสที่มีการระบาดในกาแฟพันธุ์อาราบิก้า ได้สร้างความเสียหายอย่างมากต่อเกษตรกรปลูกกาแฟไทย ไปจนถึงระดับระบบเศรษฐกิจทางด้านสินค้าทางการเกษตร โดยในการศึกษาครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ 3 ประการ ได้แก่ 1. เพื่อวิเคราะห์ปัจจัยทางกายภาพที่ส่งผลต่อการเกิดโรคแอนแทรคโนสในกาแฟพันธุ์อาราบิก้า 2. เพื่อสร้างดัชนีแอนแทรคโนสในกาแฟพันธุ์อาราบิก้าด้วยดาวเทียม Sentinel-2 และ3. เพื่อคาดการณ์ผลผลิตกาแฟพันธุ์อาราบิก้าที่เกิดโรคแอนแทรคโนสด้วยดาวเทียม Sentinel-2 โดยการวิเคราะห์ปัจจัยทางกายภาพจากดัชนีภาพถ่ายดาวเทียมที่มีความสัมพันธ์กับสภาพแวดล้อมต่อการเกิดเชื้อราที่เป็นสาเหตุของโรคแอนแทรคโนส เพื่อนำมาสร้างแบบจำลองการคาดการณ์โรคแอนแทรคโนส สำหรับการนำมาสร้างดัชนีโรคแอนแทรคโนสที่วิเคราะห์ร่วมกับแถบความถี่ภาพถ่ายดาวเทียมจากการวิเคราะห์ลายเซ็นเชิงคลื่น เพื่อให้ได้ตัวอย่างดัชนีทดสอบที่มีความเหมาะสมในการสร้างดัชนีโรคแอนแทรคโนส และการนำปัจจัยทางกายภาพวิเคราะห์การคาดการณ์ผลผลิตกาแฟพันธุ์อาราบิก้าด้วยสมการถดถอยเชิงเส้นพหุคูณ เพื่อประเมินผลผลิตกาแฟในรอบเก็บเกี่ยวถัดไป โดยเปรียบเทียบกับข้อมูลผลผลิตจริงที่ได้จากการสำรวจภาคสนาม ผลการศึกษา พบว่า ดัชนีอุณหภูมิพื้นผิวดิน (LST) เป็นปัจจัยทางกายภาพที่มีความเกี่ยวข้องกับอุณหภูมิที่มีผลต่อการเกิดเชื้อราที่เป็นสาเหตุของโรคแอนแทรคโนส เมื่ออุณหภูมิสูงและมีความแห้งแล้ง เชื้อราสามารถเจริญเติบโต เข้าทำลายพืชอาศัยได้ ส่วนดัชนีความแตกต่างความชื้น (NDMI) สามารถอธิบายการแพร่กระจายของโรคแอนแทรคโนสผ่านสปอร์ของเชื้อราในสภาพแวดล้อมที่มีลมและฝนที่ทำให้มีความชื้นในอากาศ และระดับความสูง (Elevation) มีผลต่อการเจริญเติบโตและความต้านทานโรคพืชของต้นกาแฟพันธุ์อาราบิก้า ส่วนการสร้างดัชนีโรคแอนแทรคโนส พบว่า มี 2 ดัชนีทดสอบที่มีความเหมาะสม คือ ดัชนีทดสอบ 0E และดัชนีทดสอบ 0F โดยคือ ดัชนีทดสอบ 0E ที่มีความเหมาะสมในการวิเคราะห์ความน่าจะเป็นของการเกิดโรคแอนแทรคโนส และดัชนีทดสอบ 0F มีความเหมาะสมในการวิเคราะห์ความน่าจะเป็นของการไม่เกิดโรคแอนแทรคโนส และการวิเคราะห์การคาดการณ์ผลผลิตกาแฟพันธุ์อาราบิก้า พบว่า ดัชนีพื้นที่ใบ (LAI) และดัชนีความแตกต่างความชื้น (NDMI) มีความสัมพันธ์ในการคาดการณ์ผลผลิต มีค่าสัมประสิทธิ์การตัดสินใจ (R-squared) คือ 0.594 เมื่อวิเคราะห์ค่าความคลาดเคลื่อนของข้อมูลจากค่าความคลาดเคลื่อนกำลังสองเฉลี่ย (RMSE) พบว่า ค่าความคลาดเคลื่อนกำลังสองเฉลี่ยมีค่าเท่ากับ 76.61 ซึ่งหมายถึง ผลผลิตที่คำนวณได้จากสมการแบบจำลองการคาดการณ์ผลผลิตผลิตมีความคลาดเคลื่อนไปจากผลผลิตจริง 76.61 กิโลกรัมต่อไร่en_US
Appears in Collections:SOC: Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
630431020_อรรถชัย บุญประเสริฐ.pdf4.72 MBAdobe PDFView/Open    Request a copy


Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.