Please use this identifier to cite or link to this item:
http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/79880
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | Chusak Wittayapak | - |
dc.contributor.advisor | Amporn Jirattikorn | - |
dc.contributor.author | Worachet Potawong | en_US |
dc.date.accessioned | 2024-07-24T17:56:35Z | - |
dc.date.available | 2024-07-24T17:56:35Z | - |
dc.date.issued | 2024-05-23 | - |
dc.identifier.uri | http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/79880 | - |
dc.description.abstract | Tourism is widely regarded as an effective means of development by numerous governmental bodies worldwide, especially in leveraging domestic economies. Correspondingly, Chiang Khong District of Chiang Rai Province has adopted tourism promotion strategies as part of economic development. Nevertheless, often, development brings about partial benefits to local populations, or at worst, not at all. Prior to the arrival of the Fourth Thai-Lao Friendship Bridge and the proclamation of the Chiang Rai Special Economic Zone, the local civil society partnered with the public and private sectors in Chiang Khong to address current issues and prepare for upcoming changes. Since 2012, the “One City Two Patterns” development model has been acknowledged as the city’s developmental kernel. This research investigates, firstly, how Chiang Khong has been spatially produced in the process of globalization and regionalization, secondly, how the local government agencies and civil society have conceived and implemented the “One City Two Patterns” development model in Chiang Khong, and lastly how sustainable tourism development is integrated with the development model. The concept of spatio-temporal fixes was employed to explain Chiang Khong’s spatial production, while theoretical lenses of structuration and sustainable tourism development were drawn upon to analyze the local conception of and implementation of the development model and the integration of sustainable tourism development in “One City Two Patterns”, respectively. The research employed in-depth and semi-structured interviews, participant observation, and secondary data as methods of data collection. It was found that the process of globalization and regionalization, catalyzed by capitalist accumulation, has already extended into Chiang Khong. Conceived and positioned by the Thai government as an economic gateway, this border town is designated to spatially and temporally fix capital surplus from other regions in the country. Therefore, numerous infrastructure development projects were implemented in order to support the nation’s economic growth. Even though it has long been recognized as a city for trade and commerce by the locals themselves, this nascent spatial transformation renders livelihood changes in exchange for economic prosperity, which has been considered first and foremost. The second finding involves the creation of the “One City Two Patterns” development model. It results from the interplay between the local government and civil society, resulting in the demarcation of Chiang Khong into the New Town and the Old Town. Nonetheless, the local government still exercises a great deal of power over the local civil society as seen by policy imposition on the district area, e.g., the Fourth Thai-Lao Friendship Bridge. Moreover, it was found that most of the interviewers collectively perceived Chiang Khong as a commercial district, while tourism in the district is a byproduct of other economic activities. Despite a number of tourist landmarks being built throughout the Old Town, infrastructure development in the New Town causes tourism in Chiang Khong to decrease dramatically, leading to mixed perceptions towards the “One City Two Patterns” development model. Finally, taking into account four key principles of sustainable tourism development, it was discovered that Chiang Khong represents a great deal of participatory decision-making through the development model. An attempt to preserve socio-cultural heritage is successful and unsuccessful at the same time, such as the near disappearance of local fishery and boat operators for tourism purposes, while ethnic culture such as Thai Lue is well preserved. Environmental conservation practice has proved exceptional as seen from Boon Rueang Wetland Conservation Group. In terms of long-term economic plans, Chiang Rai province has a master plan for each district under its supervision to promote tourism and the economy. At the present time, however, promotional tourism events in Chiang Khong have only achieved temporary success. Tourism development in Chiang Khong at the current stage, therefore, cannot be sustained, rendering it still a passageway for trade and travel. | en_US |
dc.language.iso | en | en_US |
dc.publisher | Chiang Mai : Graduate School, Chiang Mai University | en_US |
dc.subject | development model | en_US |
dc.subject | spatio-temporal fixes | en_US |
dc.subject | structuration theory | en_US |
dc.subject | sustainable tourism | en_US |
dc.subject | Chiang Khong | en_US |
dc.title | Sustainable tourism in “Chiang Khong - one city two patterns” development model, Chiang Khong District, Chiang Rai Province | en_US |
dc.title.alternative | การท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนในตัวแบบการพัฒนา “เชียงของ - หนึ่งเมืองสองแบบ” อำเภอเชียงของ จังหวัดเชียงราย | en_US |
dc.type | Thesis | |
thailis.controlvocab.lcsh | Chiang Khong (Chiang Rai) -- Description and travel | - |
thailis.controlvocab.lcsh | Chiang Rai -- Description and travel | - |
thailis.controlvocab.lcsh | Travel -- Economic aspects | - |
thesis.degree | master | en_US |
thesis.description.thaiAbstract | การท่องเที่ยวได้รับการยกย่องจากหลายประเทศทั่วโลกในฐานะเครื่องมือของการพัฒนาอันทรงประสิทธิภาพโดยเฉพาะอย่างยิ่งด้านการพัฒนาทางเศรษฐกิจ ด้วยเหตุนั้นอำเภอเชียงของจังหวัดเชียงรายจึงตอบสนองด้วยการนำกลยุทธ์ด้านการส่งเสริมการท่องเที่ยวเข้ามาใช้พัฒนาเศรษฐกิจของพื้นที่ อย่างไรก็ตามที่บ่อยครั้งการพัฒนาดังกล่าวสร้างประโยชน์ให้กับประชาชนในพื้นที่เพียงบางส่วนหรืออาจไม่เกิดขึ้นเลยด้วยประการทั้งปวง ดังนั้นก่อนการเปิดใช้สะพานมิตรภาพไทย - ลาวแห่งที่ 4 และการประกาศให้พื้นที่ของจังหวัดเชียงรายเป็นเขตเศรษฐกิจพิเศษ ภาคประชาสังคมในอำเภอเชียงของจึงได้ร่วมมือกับภาครัฐและเอกชนเพื่อจัดการกับปัญหาที่มีอยู่และที่กำลังจะเกิดขึ้นในอนาคต และนับตั้งแต่ปี พ.ศ. 2555 เป็นต้นมา การพัฒนาในอำเภอเชียงของก็ได้รับการขับเคลื่อนด้วยตัวแบบการพัฒนา “หนึ่งเมืองสองแบบ” เป็นหัวใจสำคัญ งานวิจัยฉบับนี้ได้ทำการตรวจสอบการผลิตสร้างพื้นที่ในอำเภอเชียงของภายใต้บริบทแห่งโลกาภิวัตน์และภูมิภาคาภิวัตน์ ประการที่สองคือการรับรู้และเข้าใจของตัวแทนภาครัฐและภาคประชาสังคม ตลอดจนถึงการดำเนินการของตัวแบบการพัฒนา “หนึ่งเมืองสองแบบ”ในอำเภอเชียงของ และประการสุดท้ายคือการตรวจสอบการผสานการพัฒนาการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนในตัวแบบดังกล่าว โดยใช้แนวคิดการแก้ซ่อมเชิงพื้นที่และเวลา (spatio-temporal fixes) เพื่ออธิบายถึงการเปลี่ยนแปลงด้านการผลิตสร้างพื้นที่ในอำเภอเชียงของ ในขณะที่ทฤษฎีการก่อตัวของโครงสร้างความสัมพันธ์ของสังคม (structuration theory) และแนวคิดการพัฒนาการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนได้ถูกนำมาวิเคราะห์เพื่อตอบคำถามที่สองและสามตามลำดับ งานวิจัยฉบับนี้ใช้การสัมภาษณ์เชิงลึกและกึ่งโครงสร้าง การสังเกตแบบมีส่วนร่วม และข้อมูลทุติยภูมิในการรวบรวมข้อมูล ข้อค้นพบประการแรกคือกระบวนการโลกาภิวัตน์และภูมิภาคาภิวัตน์ที่ได้รับการกระตุ้นโดยการสะสมทุนนั้นได้แผ่ขยายเข้ามายังพื้นที่อำเภอเชียงของ ด้วยเหตุนั้นพื้นที่ชายแดนแห่งนี้จึงเป็นที่รับรู้และถูกวางตำแหน่งจากรัฐบาลไทยให้เป็นประตูทางเศรษฐกิจที่คอยซึมซับส่วนเกินทุนทั้งในเชิงพื้นที่และเวลาที่หลั่งไหลมาจากภูมิภาคอื่นของประเทศ ดังนั้นโครงการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานจำนวนมากจึงได้รับการดำเนินการจนแล้วเสร็จเพื่อสนับสนุนการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจของประเทศ และถึงแม้ว่าผู้คนท้องถิ่นมองอำเภอแห่งนี้เป็นเมืองค้าขายชายแดนมาอย่างยาวนาน แต่การเปลี่ยนแปลงด้านพื้นที่ในช่วงที่ผ่านมาได้ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงด้านวิถีชีวิตของคนในพื้นที่เพื่อแลกกับความเจริญรุ่งเรืองทางเศรษฐกิจของประเทศที่ถูกมองว่าเป็นเรื่องที่สำคัญที่สุด ข้อค้นพบประการที่สองเกี่ยวข้องกับการพัฒนาตัวแบบการพัฒนา “หนึ่งเมืองสองแบบ” อันเป็นผลมาจากปฏิสัมพันธ์ระหว่างรัฐบาลและภาคประชาสังคมในท้องถิ่น สิ่งที่เกิดขึ้นตามมาคือการวางกรอบการพัฒนาเมืองออกเป็นสองเขตคือ “เมืองเก่า” และ “เมืองใหม่” แม้ตัวแบบการพัฒนานี้จะเป็นผลจากความร่วมมือในท้องถิ่น แต่กระนั้นภาครัฐก็ยังคงเป็นผู้ถืออำนาจเหนือกว่าภาคประชาสังคม ดังจะเห็นได้จากการก่อสร้างสะพานมิตรภาพไทย-ลาวแห่งที่ 4 นอกจากนี้การสัมภาษณ์กับผู้มีส่วนได้ส่วนเสียยังเผยให้เห็นถึงการมองเชียงของในฐานะของเมืองค้าขายชายแดนโดยมีการท่องเที่ยวเป็นเพียงผลพลอยได้ของกิจกรรมทางเศรษฐกิจอื่น และถึงแม้ว่าจะมีความพยายามในการสร้างจุดท่องเที่ยวใหม่ในพื้นที่เมืองเก่า แต่การพัฒนาด้านโครงสร้างพื้นฐานในพื้นที่เมืองใหม่กลับเป็นสาเหตุที่ทำให้การท่องเที่ยวในอำเภอเชียงของซบเซา และนำไปสู่การรับรู้ที่มีทั้งแง่บวกและแง่ลบต่อตัวแบบการพัฒนา “หนึ่งเมืองสองแบบ” ในที่สุด ข้อค้นพบประการสุดท้ายคือการวิเคราะห์การท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนในอำเภอเชียงของผ่านหลักการพื้นฐานของการพัฒนาการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน 4 ประการ ประการแรกอำเภอเชียงของได้แสดงให้เห็นถึงกระบวนการการมีส่วนร่วมในการตัดสินใจดังจะเห็นได้จากตัวแบบการพัฒนาดังกล่าว ในขณะที่การอนุรักษ์สังคมและวัฒนธรรมนั้นมีทั้งที่มีส่วนที่สำเร็จและไม่สำเร็จ กล่าวคือการประมงท้องถิ่นในแม่น้ำโขงและการเดินเรือข้ามฟากเพื่อการท่องเที่ยวนั้นใกล้สูญหายไปจากพื้นที่แห่งนี้ แต่ในขณะเดียวกันการรักษาวัฒนาธรรมของชาวไทลื้อยังคงเป็นที่ประจักษ์ต่อสายตา ประการต่อมาคือการอนุรักษ์ทรัพยากรทางธรรมชาติที่ประสบความสำเร็จเป็นอย่างมากจากความสำเร็จในการปกป้องป่าชุ่มน้ำบ้านบุญเรือง ในขณะที่แผนเศรษฐกิจระยะยาวนั้นได้มีการค้นพบถึงแผนแม่บทของจังหวัดเชียงรายที่ระบุประเด็นการส่งเสริมการท่องเที่ยวและเศรษฐกิจควบคู่กัน อย่างไรก็ตามในขณะเดียวกันนั้น กิจกรรมส่งเสริมการท่องเที่ยวในอำเภอเชียงของกลับประสบความสำเร็จเพียงระยะสั้น ด้วยเหตุดังกล่าวเหล่านั้น การพัฒนาการท่องเที่ยวในอำเภอเชียงของจึงไม่อาจนำไปสู่ความยั่งยืนและยังคงเป็นการย้ำจุดยืนของเชียงของในฐานะเมืองทางผ่านของการค้าและการท่องเที่ยวต่อไป | en_US |
Appears in Collections: | SOC: Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
620435902 Worachet Potawong.pdf | 3.12 MB | Adobe PDF | View/Open Request a copy |
Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.