Please use this identifier to cite or link to this item: http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/79865
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorTonapha Pusadee-
dc.contributor.advisorSansanee Jamjod-
dc.contributor.advisorJutamas Kumchai-
dc.contributor.authorPhukjira Chan-inen_US
dc.date.accessioned2024-07-24T16:52:08Z-
dc.date.available2024-07-24T16:52:08Z-
dc.date.issued2024-05-20-
dc.identifier.urihttp://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/79865-
dc.description.abstractThailand is located within a center of diversity and origin of cultivated rice (Oryza sativa L.), resulting in a diverse array of rice varieties, particularly landrace rice, which remains diverse within and between populations. Local rice is considered a significant genetic resource, possessing unique genetic characteristics that enable adaptation to local environments, resistance to diseases and pests, and some populations are known for their aromatic qualities. This genetic diversity and special quality traits can serve as valuable resources for future studies, development, and conservation of rice varieties before they disappear due to societal changes and the introduction of new breeding programs. The aroma is one of the qualities that make highly valued fragrant rice. It is an important economic trait that affects consumption and helps determine rice prices in both domestic and international markets. Fragrant rice is known for its excellent eating quality, both softness and aroma, making it increasingly popular and desirable. The aroma of rice is derived from the combination of various volatile compounds, with the main aroma compound found in fragrant rice being 2-acetyl-1-pyrroline (2AP), which is controlled by the recessive badh2 gene. Mutations on the Badh2 gene lead to the accumulation of 2AP. The fragrance characteristics are influenced not only by genetic factors but also by environmental conditions, particularly the management of nutrients. Additionally, molecular markers are now used in the plant breeding and selection of aromatic rice varieties, as they allow for the identification of desired traits at the genotype, allowing for quick and accurate selection of desired characteristics. Thus, this thesis examined the effect of nutrient management on aroma traits in Thai fragrant rice. In addition, molecular studies were conducted to identify SNPs on genes associated with aroma traits in Thai fragrant rice for developing SNP markers which will be used in selecting aromatic rice varieties in the future. The evaluation of the quality and diversity of the Badh2 gene in aromatic rice landraces can be utilized as a genetic basis for selection and improvement of aromatic rice varieties which may also be developed to become a pure-line rice variety. The 22 rice seed samples from farmers' storage facilities include 9 from the north, 8 from the northeast, and 5 from the south of Thailand plus two advanced breeding lines and three check varieties were evaluated for seed morphology and grain quality, and their Badh2 gene covering intron 4 to intron 8 was re-sequenced. Almost all of the landraces were classified as large grain types with medium to high gelatinization temperature. The variation in the Badh2 gene by haplotype analysis correlated with grain aroma by sensory evaluation. The badh2-E7 was found in haplotype 1 that had a strong aroma in KH, NDLP, and PLD just as in KDML105 and moderately aromatic BNM4, SKH, and BNM-CMU, along with PTT1. While 3 haplotypes had different positions of SNP on the Badh2 gene with a varied results of the sensory test. The present results suggested that rice varieties in the same group as the check varieties KDML105 and PTT1 could be potentially introduced as genetic resources for the fragrant rice breeding program or could be developed into highly palatable cultivars with geographical indications (GI) to increase the income for the highland farmer. However, besides genetic factors related to gene expression and various enzymes in the 2AP synthesis pathways, environmental factors such as temperature, fertilizer management, and storage also influence the quantity of 2AP. Fertilizer management is another key external factor affecting aroma quantity. Previous studies have identified that nitrogen and silicon fertilizers not only increase yield but also affect the aroma characteristics in some aromatic rice varieties. This study examines the effect of nitrogen fertilizer on proline concentration and grain quality in rice landrace, as well as the expression of the gene associated with 2AP biosynthesis pathways using the quantitative RT-PCR technique. BNM4, KDML105, PTT1, and SPR1 were grown under waterlogged conditions with nitrogen fertilizer applications. N fertilizer as urea (46%N) was applied at 30, 60, 120 kg ha-1 by splitting it into three applications at 15, 30, and 45 days after transplanting. N fertilizer increased yield in all four varieties and affected amylose, but did not influence aroma traits when compared within the varieties. Additionally, there was no effect of nitrogen on the expression of the Badh2 and P5CS genes; only differences were observed among the varieties. Furthermore, the study examined the effect of silicon on yield, seed quality, and gene expression in BNM4, KDML105, PTT1, and SPR1, which were grown in pots with 13 kg of soil under waterlogged conditions. Silicon (Si) fertilizer (Na2SiO3·5H2O) was applied at 0, 75, 150, and 225 mg kg-1 soil (designated Si0, Si75, Si150, and Si225, respectively) with two splits equally at the maximum tillering and booting stage. When compared to Si0 (no silicon fertilizer), fragrant rice varieties were found to differ markedly in the effect of Si on yield and their quality. BNM4 and KDML105 increased yield with increasing Si to Si225, while the yield of PTT1 and SPR1 reached the maximum at Si150. KDML105 represents the type with a high 2AP concentration when Si supply is low, with Si application increasing 2AP only slightly. BNM4 with increased Si fertilizer showed only slight increases in 2AP concentration and decreased when Si fertilizer was applied to Si225. While PTT1 responded to a decrease in 2AP concentration when Si fertilizer was increased. Si affected the gene expression levels of the genes associated with the 2AP biosynthesis pathway differently in each rice variety. When compared to Si0, the expression level of Badh2, DAO, ProDH, and P5CS increased, except for the expression of the ProDH gene in KDML105, which showed a decrease. Additionally, a decrease in the expression level of the DAO gene was observed when silicon fertilizer was applied at the highest level (225 mg/kg of soil) in PTT1. Conversely, the expression level of the OsLsi6 gene, which is related to silicon transport in plants, increased with the application of silicon fertilizer in all four rice varieties. The accumulation of 2AP in fragrant rice under Si fertilizer application primarily occurred through the upregulation of Badh2, DAO, ProDH, and P5CS gene expression. These results suggest that nitrogen fertilization is suitable for increasing yield, while silicon fertilizer is effective for enhancing fragrance, with only a slight impact on yield and differing in each species. Molecular studies have identified several genes in the 2AP biosynthesis pathways. Gene expression and nucleotide sequences have been studied using Next Generation Sequencing (NGS) technologies such as Whole Genome Sequencing (WGS). Therefore, studying nucleotide sequences to identify differences in base sequences at single positions (SNP) and developing molecular markers specific to genes controlling aroma characteristics in aromatic rice, including genes involved in 2AP synthesis, is a valuable option for selecting and improving aromatic rice varieties. By studying the genes involved in the 2AP synthesis process, apart from the Badh2 gene, SNP molecular markers (Kompetitive Allele-Specific PCR; KASP) can be designed and developed through nucleotide sequence analysis using Whole-genome sequencing techniques in BNM4 and KHCMU (classified as Indica type and Tropical Japonica type, respectively) compared with the Nipponbare reference genome (Japonica type). A total of 503 SNPs loci were identified in 16 genes associated with 2AP biosynthesis pathways, including the polyamine pathway and glycolysis pathway. Forty-five KASP markers from the coding sequence on nine chromosomes, including P5CS2, P5CR, TPI, OAT, SSATB, SSATA, P5CS, SPDS6, DAO, BADH2, PAO6.9, PAO6.9.8, and ProDH, were screened in 13 rice varieties, which were assessed for phenotype and badh2-E7 genotype. The badh2-E7 deletion was found in seven rice varieties exhibiting moderately aromatic and strongly aromatic traits. However, most KASP markers could not differentiate between fragrant rice varieties. Only two KASP markers were able to distinguish between landrace and elite rice varieties. Thus, to obtain information and molecular markers that can differentiate aromatic rice in genes associated with 2AP biosynthesis pathways, other techniques such as Transcriptome or RNA sequencing, should be used study intermediates in the 2AP synthesis process. The results of this study will provide valuable insights and serve as a guide for appropriate fertilizer management to enhance yield and grain quality, particularly the fragrance characteristics of Thai fragrant rice landraces. This aims to increase income for highland farmers and meet consumers' demands for fragrant rice. Additionally, the analyzed nucleotide sequence could serve as a preliminary database for further research and development of molecular markers. Furthermore, the study of intermediates and enzyme metabolites in the 2AP synthesis has been included.en_US
dc.language.isoenen_US
dc.publisherChiang Mai : Graduate School, Chiang Mai Universityen_US
dc.subjectFragrance rice landraceen_US
dc.subject2-Acetyl-1-pyrroline biosynthesis pathwayen_US
dc.subjectFragrant genesen_US
dc.subjectGene expressionen_US
dc.subjectSNPen_US
dc.titleIdentification of genes and SNP markers asociated with aroma trait in Thai fragrant local riceen_US
dc.title.alternativeการบ่งบอกยีนและเครื่องหมาย SNP ที่สัมพันธ์กับลักษณะกลิ่นหอมในข้าวหอมพื้นเมืองไทยen_US
dc.typeThesis
thailis.controlvocab.lcshRice -- Harvesting-
thailis.controlvocab.lcshRice -- Breeding-
thailis.controlvocab.lcshPlant breeding-
thesis.degreedoctoralen_US
thesis.description.thaiAbstractประเทศไทยตั้งอยู่บริเวณศูนย์กลางความหลากหลายและแหล่งกำเนิดข้าวปลูก (Oryza sativa L.) ทำให้พันธุ์ข้าวของไทยมีความหลากหลายโดยเฉพาะข้าวพื้นเมือง ซึ่งข้าวพื้นเมืองถือเป็นแหล่งพันธุกรรมที่สำคัญ มีลักษณะทางพันธุกรรมที่เป็นเอกลักษณ์ มีความสามารถปรับตัวให้เข้ากับสภาพแวดล้อมท้องถิ่นได้ดี มีความต้านทานต่อการเข้าทำลายของโรคและแมลง และยังพบว่าบางกลุ่มของประชากรข้าวพื้นเมืองมีกลิ่นหอมอีกด้วย ความหลากหลายทางพันธุกรรมและคุณภาพพิเศษนี้สามารถนำมาใช้เป็นฐานข้อมูลสำหรับการศึกษาพัฒนาต่อยอด และส่งเสริมการอนุรักษ์พันธุ์ข้าวพื้นเมืองก่อนที่จะหายไปกับการเปลี่ยนแปลงทางสังคม และนำเข้าสู่โครงการปรับปรุงพันธุ์ข้าวต่อไป ความหอมเป็นหนึ่งในลักษณะคุณภาพเมล็ดที่ทำให้ข้าวหอมมีมูลค่าสูง เป็นลักษณะพิเศษที่มีความสำคัญทางเศรษฐกิจที่มีผลต่อการบริโภคและเป็นตัวกำหนดราคาข้าวทั้งในตลาดภายในประเทศและต่างประเทศ ข้าวหอมเป็นข้าวที่มีคุณภาพในการรับประทานดี มีความนุ่ม มีกลิ่นหอม ทำให้ได้รับความนิยมและเป็นที่ต้องการบริโภคเพิ่มมากขึ้น ลักษณะของกลิ่นหอมในข้าวเกิดจากการผสมผสานของสารหอมระเหยหลายชนิด แต่กลิ่นหอมหลักที่พบในข้าวหอมเกิดจากสาร 2-acetyl-1-pyrroline (2AP) ที่ถูกควบคุมด้วยยีนด้อย badh2 โดยการกลายพันธุ์ที่เกิดขึ้นบนยีน Badh2 จะนำไปสู่กระบวนการการสะสมสาร 2AP ซึ่งลักษณะความหอมนอกจากจะถูกควบคุมด้วยปัจจัยทางพันธุกรรมแล้วยังขึ้นอยู่กับสภาพแวดล้อมอีกด้วย โดยเฉพาะอย่างยิ่งการจัดการธาตุอาหาร และนอกจากนี้ในปัจจุบันมีการนำเครื่องหมายโมเลกุล เข้ามาใช้ในงานปรับปรุงพันธุ์และคัดเลือกพันธุ์ข้าวหอม เนื่องจากสามารถตรวจสอบได้ในระดับจีโนไทป์ (genotype) และสามารถคัดเลือกลักษณะที่ต้องการได้อย่างรวดเร็วและแม่นยำ ดังนั้นวิทยานิพนธ์นี้จึงได้ศึกษาผลของการจัดการธาตุอาหารต่อลักษณะกลิ่นหอมในข้าวหอมของไทย รวมทั้งศึกษาในระดับโมเลกุลเพื่อระบุตำแหน่ง SNPs บนยีนที่เกี่ยวข้องกับลักษณะความหอมในข้าวหอมของไทย สำหรับพัฒนาเครื่องหมายโมเลกุล แบบ SNP เพื่อใช้คัดแยกพันธุ์ข้าวหอมต่อไป การประเมินลักษณะคุณภาพและความหลากหลายของยีน Badh2 ในข้าวหอมพื้นเมือง สามารถนำใช้เป็นฐานพันธุกรรมในงานคัดเลือกและปรับปรุงพันธุ์ข้าวหอมได้ หรืออาจนำไปพัฒนาเพื่อให้เป็นสายพันธุ์ข้าวที่บริสุทธิ์ได้ในอนาคต จากการเก็บรวบรวมเมล็ดพันธุ์จากเกษตรกรจำนวน 22 ประชากร แบ่งเป็น 9 ประชากร จากภาคเหนือ 8 ประชากร จากภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และ 5 ประชากร จากภาคใต้ ข้าวที่ได้รับการปรับปรุงพันธุ์ จำนวน 2 สายพันธุ์ และพันธุ์เปรียบเทียบ 3 สายพันธุ์ นำมาวิเคราะห์ลักษณะสัณฐานของเมล็ด คุณภาพเมล็ดและศึกษาลำดับนิวคลีโอไทด์ของยีน Badh2 บริเวณอินตรอนที่ 4 ถึง 8 พบว่า ประชากรข้าวพื้นเมืองส่วนใหญ่มีรูปร่างเมล็ดใหญ่ และมีอุณหภูมิที่ทำให้แป้งสุกปานกลางถึงสูง และพบความสัมพันธ์ของความหลากหลายของยีน Badh2 โดยการวิเคราะห์แบบ haplotype กับลักษณะความหอมที่ได้จากการประเมินด้วยวิธีการดม ใน haplotype ที่ 1 พบลักษณะการขาดหายไปของยีน badh2-E7 ในข้าวที่ให้ลักษณะหอมมาก ได้แก่ข้าวพันธุ์ข้าวหอม (KH), เหนียวดำลืมผัว (NDLP) และพญาลืมแกง (PLD) คล้ายคลึงกับข้าวพันธุ์ขาวดอกมะลิ 105 และกลุ่มข้าวที่ให้ระดับความหอมปานกลาง ได้แก่ข้าวพันธุ์บือเนอมู 4 (BNM4), ซิวเกลี้ยงหอม (SKH), บือเนอมู มช. (BNM-CMU) และปทุมธานี 1 ในขณะที่อีก 3 กลุ่ม haplotype พบตำแหน่ง SNPs ที่แตกต่างกันบนยีน Badh2 และมีผลการทดสอบความหอมที่แตกต่างกัน ซึ่งผลที่ได้ชี้ให้เห็นว่าข้าวพื้นเมืองพันธุ์ที่จัดอยู่ในกลุ่มเดียวกันกับพันธุ์เปรียบเทียบ พันธุ์ขาวดอกมะลิ 105 ปทุมธานี 1 สามารถใช้เป็นแหล่งพันธุกรรมเพื่อพัฒนาและปรับปรุงพันธุ์ข้าวหอมได้ หรืออาจพัฒนาเพื่อให้เป็นสินค้าสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ (GI) ต่อไปในอนาคต เพื่อเพิ่มรายได้ให้แก่เกษตรกรบนพื้นที่สูง แต่อย่างไรก็ตามนอกจากปัจจัยภายในที่เกี่ยวข้องกับการแสดงออกของยีนในกระบวนการสังเคราะห์ 2AP แล้ว ยังพบว่าปัจจัยภายนอก เช่น สภาพแวดล้อม อุณหภูมิ การจัดการธาตุอาหาร และการจัดการหลังการเก็บเกี่ยว ยังส่งผลต่อปริมาณ 2AP อีกด้วย การจัดการธาตุอาหารถือเป็นอีกหนึ่งปัจจัยหลักสำคัญที่ส่งผลต่อปริมาณความหอม การศึกษาก่อนหน้านี้ระบุว่าปุ๋ยไนโตรเจน และปุ๋ยซิลิกอนนอกจากจะเพิ่มปริมาณผลผลิตแล้วยังส่งผลต่อลักษณะความหอมในเมล็ดข้าวหอมบางสายพันธุ์ จึงนำมาสู่การศึกษาผลของไนโตรเจนต่อปริมาณโพรลีนและคุณภาพเมล็ดในข้าวหอมพื้นเมือง รวมถึงการศึกษาการแสดงออกของยีนที่เกี่ยวข้องกับความหอมด้วยเทคนิค quantitative RT-PCR พบว่าในข้าวพันธุ์บือเนอมู 4 (BNM4), ขาวดอกมะลิ 105 (KDML105), ปทุมธานี 1 (PTT1), และสุพรรณบุรี 1 (SPR1) ที่ปลูกในสภาพน้ำขังและให้ปุ๋ยไนโตรเจน ในรูปของยูเรีย (46%N) 3 ระดับ คือ 30, 60 และ 120 กิโลกรัมไนโตรเจน ต่อเฮกตาร์ โดยแบ่งใส่ 3 ครั้ง ที่ 15, 30 และ 45 วันหลังย้ายปลูก พบว่าไนโตรเจนช่วยเพิ่มปริมาณผลผลิตในข้าวทั้ง 4 สายพันธุ์ และส่งผลต่อปริมาณอมิโลสในเมล็ด แต่ไม่ส่งผลต่อความหอมเมื่อเปรียบเทียบภายในพันธุ์ รวมถึงไม่พบผลของไนโตรเจนต่อการแสดงออกของยีน Badh2 และ P5CS โดยพบเพียงความแตกต่างของแต่ละพันธุ์ ในขณะที่การศึกษาผลของซิลิกอนต่อผลผลิต คุณภาพเมล็ด และการแสดงออกของยีนในข้าวพันธุ์บือเนอมู 4 (BNM4), ขาวดอกมะลิ 105 (KDML105), ปทุมธานี 1 (PTT1), และสุพรรณบุรี 1 (SPR1) ที่ปลูกในกระถางบรรจุดิน 13 กิโลกรัม ภายใต้สภาพน้ำขังและให้ปุ๋ยซิลิกอน (Na2SiO3·5H2O) 4 ระดับ คือ 0, 75, 150 และ 225 มิลลิกรัม ต่อกิโลกรัมดิน (Si0, Si75, Si150 และ Si225) โดยแบ่งใส่ 2 ครั้ง ที่ระยะแตกกอสูงสุดและระยะออกดอก เมื่อเปรียบเทียบกับการไม่ใส่ปุ๋ยซิลิกอน (Si0) พบว่าปุ๋ยซิลิกอนมีผลต่อปริมาณผลผลิตและคุณภาพเมล็ด ข้าวพันธุ์บือเนอมู 4 และขาวดอกมะลิ 105 มีปริมาณผลผลิตเพิ่มขึ้น เมื่อให้ปุ๋ยซิลิกอนเพิ่มขึ้น จาก 0 ถึง 225 มิลลิกรัม ต่อกิโลกรัมดิน ในขณะที่ข้าวพันธุ์ปทุมธานี 1 และสุพรรณบุรี 1 พบว่าผลผลิตเพิ่มสูงที่สุดที่ระดับซิลิกอน 150 มิลลิกรัม ต่อกิโลกรัมดิน ในข้าวพันธุ์ขาวดอกมะลิ 105 พบปริมาณ 2AP สูงที่สุด เมื่อมีปริมาณซิลิกอนในเมล็ดต่ำ โดยการให้ปุ๋ยซิลิกอนที่เพิ่มขึ้น สามารถเพิ่มปริมาณ 2AP ในเมล็ดได้เพียงเล็กน้อย ในข้าวบือเนอมู 4 เมื่อให้ปุ๋ยซิลิกอนเพิ่มขึ้น ปริมาณ 2AP ในเมล็ดเพิ่มขึ้น แต่ลดลงเมื่อให้ปุ๋ยซิลิกอนที่ระดับ 225 มิลลิกรัม ต่อ กิโลกรัมดิน ในขณะที่ข้าวพันธุ์ปทุมธานี 1 พบว่าเมื่อให้ปุ๋ยซิลิกอนเพิ่มขึ้น ปริมาณ 2AP ในเมล็ดจะลดลง สำหรับการแสดงออกของยีน พบว่ายีนในกระบวนการสร้าง 2AP มีการตอบสนองต่อปุ๋ยซิลิกอนต่างกันในแต่ละพันธุ์ เมื่อเปรียบเทียบกับการไม่ใส่ปุ๋ยซิลิกอน การแสดงออกของยีน Badh2, DAO, OAT, ProDH และ P5CS เพิ่มขึ้น ยกเว้นการแสดงออกของยีน ProDH ในข้าวพันธุ์ขาวดอกมะลิ 105 ที่มีการแสดงออกของยีนแบบลดลง รวมถึงพบการแสดงออกที่ลดลงเมื่อให้ปุ๋ยซิลิกอนที่ระดับสูงสุด (225 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัมดิน) ของยีน DAO ของข้าวพันธุ์ปทุมธานี 1 ในขณะที่การแสดงออกของยีน OsLsi6 ที่เกี่ยวข้องกับการขนส่งซิลิกอนในต้นพืช การให้ปุ๋ยซิลิกอนที่เพิ่มขึ้น ส่งผลให้การแสดงออกของยีน OsLsi6 เพิ่มขึ้นในข้าวทั้ง 4 สายพันธุ์ การสะสมของปริมาณ 2AP ในข้าวหอมภายใต้การให้ปุ๋ยซิลิกอนมีความสัมพันธ์กับการแสดงออกของยีน Badh2, DAO, ProDH และ P5CS ซึ่งผลการทดลองนี้บ่งชี้ว่าการให้ปุ๋ยไนโตรเจนเป็นกรรมวิธีที่เหมาะสมสำหรับการเพิ่มผลผลิต ในขณะที่การให้ปุ๋ยซิลิกอนเป็นกรรมวิธีที่เหมาะสมสำหรับการเพิ่มความหอม และส่งผลต่อปริมาณผลผลิตเพียงเล็กน้อยเท่านั้น โดยแตกต่างกันในแต่ละสายพันธุ์ การศึกษาเชิงลึกในระดับโมเลกุลมีการระบุถึงยีนต่างๆ ในกระบวนการสังเคราะห์ 2AP และกระบวนการอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการสังเคราะห์ 2AP โดยศึกษาลำดับนิวคลีโอไทด์ ด้วยการใช้เทคโนโลยีการหาลำดับนิวคลีโอไทด์ (Next Generation Sequencing; NGS) แบบการหาลำดับนิวคลีโอไทด์ของสารพันธุกรรมทั้งหมดของสิ่งมีชีวิต (Whole genome sequencing; WGS) ดังนั้นการศึกษาในลำดับนิวคลีโอไทด์ในการทดลองนี้ เพื่อระบุความแตกต่างของลำดับเบสบนสายนิวคลีโอไทด์เพียงตำแหน่งเดียว (single nucleotide polymorphism; SNP) และพัฒนาเครื่องหมายโมเลกุลที่มีความจำเพาะเจาะจงต่อยีนที่ควบคุมลักษณะกลิ่นหอมในข้าวหอม ที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการสังเคราะห์ 2AP จึงเป็นหนึ่งในทางเลือกขั้นตอนการคัดเลือกและปรับปรุงพันธุ์ข้าวหอม โดยศึกษา ในยีนที่เกี่ยวข้องในกระบวนการสังเคราะห์ 2AP นอกเหนือจากยีน Badh2 เพื่อออกแบบและพัฒนาเครื่องหมายโมเลกุลชนิด Kompetitive Allele-Specific PCR (KASP) จากการวิเคราะห์ลำดับนิวคลีโอไทด์ด้วยเทคนิค Whole-genome sequencing ในข้าวพันธุ์บือเนอมู 4 (Indica type) และข้าวพันธุ์ก่ำหอม มช. (Tropical Japonica type) เปรียบเทียบกับฐานข้อมูลข้าวพันธุ์ Nipponbare (Japonica type) ในส่วนของยีนที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการสังเคราะห์ 2AP ทั้งกระบวนการ polyamide และ glycolysis จำนวน 16 ยีน พบการเกิด SNPs จำนวน 503 ตำแหน่ง เลือกตำแหน่งเพื่อพัฒนาเครื่องหมายโมเลกุล KASP จำนวน 45 ตำแหน่งจากบริเวณ coding sequence ของยีน P5CS2, P5CR, TPI, OAT, SSATB, SSATA, P5CS, SPDS6, DAO, BADH2, PAO6.9, PAO6.9.8, และ ProDH จาก 9 โครโมโซม นำเครื่องหมายโมเลกุลชนิด KASP ที่ออกแบบมาประเมินในแหล่งพันธุกรรมข้าวหอมจำนวน 13 พันธุ์ ซึ่งได้รับการประเมินลักษณะฟีโนไทป์และจีโนไทป์แบบ badh2 -E7 จากการทดลองที่ 1 ผลการประเมินพบว่า เครื่องหมาย KASP ส่วนใหญ่ไม่สามารถแยกความแตกต่างระหว่างพันธุ์ข้าวหอมได้ โดยพบเครื่องหมาย KASP เพียงสองตัวเท่านั้นที่สามารถแยกจีโนไทป์ ระหว่างพันธุ์ข้าวพื้นเมืองและพันธุ์ข้าวพันธุ์ปรับปรุงได้ ดังนั้นเพื่อให้ได้ข้อมูลและเครื่องหมายโมเลกุลที่สามารถแยกความแตกต่างของข้าวหอม ในยีนอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการสังเคราะห์ 2AP จึงควรมีการใช้เทคนิคอื่นๆ เช่น การหาลำดับเบสของอาร์เอ็นเอ (Transcriptome หรือ RNA sequencing) ร่วมกับการศึกษาสารอินเตอร์มีเดียทที่อยู่ในกระบวนการสังเคราะห์ 2AP ต่อไป ผลการศึกษาครั้งนี้จะเป็นประโยชน์และใช้เป็นแนวทางในการจัดการปุ๋ยอย่างเหมาะสม เพื่อเพิ่มผลผลิตและคุณภาพเมล็ด โดยเฉพาะลักษณะกลิ่นหอม ในพันธุ์ข้าวหอมไทย เพื่อเพิ่มรายได้ให้กับเกษตรกรบนพื้นที่สูงและตอบสนองความต้องการของผู้บริโภคสำหรับข้าวหอมได้ รวมทั้งข้อมูลลำดับ นิวคลีโอไทด์ที่วิเคราะห์ได้ สามารถใช้เป็นฐานข้อมูลเบื้องต้น เพื่อนำไปศึกษาและพัฒนาเครื่องหมายโมเลกุลต่อไป โดยมีการศึกษาสารอินเตอร์มีเดียทและการทำงานของเอนไซม์ที่อยู่ในกระบวนการสังเคราะห์ 2AP ร่วมด้วยen_US
Appears in Collections:AGRI: Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
610851005_Phukjira Chan-in.pdf4.73 MBAdobe PDFView/Open    Request a copy


Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.