Please use this identifier to cite or link to this item:
http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/79813
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | ฐิติวุฒิ บุญยวงศ์วิวัชร | - |
dc.contributor.author | สมศักดิ์ คำแดง | en_US |
dc.date.accessioned | 2024-07-19T01:12:25Z | - |
dc.date.available | 2024-07-19T01:12:25Z | - |
dc.date.issued | 2024-06 | - |
dc.identifier.uri | http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/79813 | - |
dc.description.abstract | The objectives of this research are 1) To study about inequality of stateless students in school. 2) To study the government process which aiming to resolve the problems on stateless students. 3) To propose suggestions for the government organization in order to solve those issues. The study revealed: The difficulties of stateless students are caused of alien workers migration along with group of foreign students crossing the border for an education. There are 2 groups of these stateless students which are stateless students who got surveyed, saved in registration of personal record and have non-citizen identity card from government, in contrast to out-of-surveyed students. These two groups show that not only social inequality but also inequity within the group of stateless students. They face issues of not having social welfare accessibility for instance; scholarship, crossed-province travel, service from private sectors, medical care. The government organization has continually solved these problems. However, the delayed of solving these difficulties is due to difference, qualification of each students, lacking of personal document, knowledge and competence of government officers. The challenge of this issue is continuation of alien migration so that it seems to be endless problems. And the best way to solve this problem in the basic is bring stateless students into the system for check, control and prevent problems at future. Key word: Stateless students, Inequality | en_US |
dc.language.iso | other | en_US |
dc.publisher | เชียงใหม่ : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ | en_US |
dc.subject | Stateless students, Inequality | en_US |
dc.title | รัฐกับการเสริมสร้างคุณภาพชีวิตนักเรียนไร้สัญชาติ กรณีศึกษา โรงเรียนวัดพระธาตุดอยกองมูศึกษา และโรงเรียนร่มเกล้าปางตองในโครงการตามพระราชดำริ อำเภอเมืองแม่ฮ่องสอน | en_US |
dc.title.alternative | The State and quality of life enhancement of stateless students: A Case study of Wat Phra That Doi Kong Mu SukSa School and Romklao Pang Tong School, Mueang Mae Hong Son District | en_US |
dc.type | Independent Study (IS) | |
thailis.controlvocab.thash | นักเรียน -- แม่ฮ่องสอน | - |
thailis.controlvocab.thash | โรงเรียน -- การบริหาร -- แม่ฮ่องสอน | - |
thailis.controlvocab.thash | คนต่างด้าว -- แม่ฮ่องสอน | - |
thailis.controlvocab.thash | คนต่างด้าว -- การเรียน | - |
thesis.degree | master | en_US |
thesis.description.thaiAbstract | งานการค้นคว้าอิสระในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) ศึกษาความเหลื่อมล้ำที่เกิดขึ้นกับนักเรียนไร้สัญชาติในสถานศึกษา 2) ศึกษากระบวนการของหน่วยงานรัฐในการสนับสนุนการแก้ไขปัญหานักเรียนไร้สัญชาติในสถานศึกษา 3) แนะนำแนวทางให้แก่หน่วยงานภาครัฐในการแก้ไขปัญหานักเรียนไร้สัญชาติ และจากการศึกษา พบว่า ปัญหานักเรียนไร้สัญชาติในพื้นที่อำเภอเมืองแม่ฮ่องสอนนั้นเป็นผลสืบเนื่องจากปัญหาของการอพยพย้ายถิ่นและการเคลื่อนย้ายของกลุ่มแรงงานต่างด้าว รวมถึงกลุ่มนักเรียนไร้สัญชาติที่เคลื่อนย้ายข้ามแดนเข้ามาเพื่อเรียนหนังสือโดยเฉพาะ กลุ่มนักเรียนไร้สัญชาติประกอบไปด้วยกลุ่มนักเรียนไร้สัญชาติซึ่งถูกสำรวจและจัดทำทะเบียนประวัติไว้แล้วและมีเอกสารสำหรับใช้แสดงตนและกลุ่มนักเรียนไร้สัญชาติที่ยังไม่ได้รับการสำรวจและจัดทำทะเบียนประวัติฯและไม่มีเอกสารใดๆในการใช้สำหรับแสดงตน ส่งผลให้นอกจากความเหลื่อมล้ำที่เกิดขึ้นในแบบปกติแล้ว ภายในกลุ่มนักเรียนไร้สัญชาติด้วยกันยังเกิดความเหลื่อมล้ำภายในกลุ่มเช่นกัน โดยความเหลื่อมล้ำที่เกิดขึ้นในกลุ่มนักเรียนไร้สัญชาติประกอบไปด้วยการเข้าถึงสวัสดิการต่างๆทั้งของภาครัฐและภาคเอกชน เช่นการรับทุนการศึกษา การเดินทาง การสมัครเข้าใช้บริการจากบริษัทเอกชน การเปิดบัญชีธนาคาร การเข้ารับการรักษาพยาบาล เป็นต้น โดยกระบวนการแก้ไขปัญหาของหน่วยงานรัฐในพื้นที่ พบว่า มีความร่วมมือระหว่างหน่วยงานเพื่อการแก้ไขปัญหาอย่างต่อเนื่อง แต่ปัญหาที่ทำให้การแก้ไขปัญหานักเรียนไร้สัญชาติมีความล่าช้าเป็นผลมาจากคุณสมบัติของนักเรียนแต่ละบุคคล การขาดเอกสารสำคัญต่างๆ ความรู้และความสามารถของเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงาน การให้ความสำคัญของผู้บริหาร โดยสิ่งท้าทายคือการเคลื่อนย้ายของบุคคลต่างด้าวยังคงเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง ส่งผลให้การแก้ไขปัญหาจึง ยากที่จะมองเห็นจุดสิ้นสุด แนวทางที่ดีที่สุดในการแก้ไขปัญหาในเบื้องต้นคือการนำกลุ่มนักเรียนเหล่านี้และบุคคลที่ไม่มีเอกสารแสดงตนเข้าสู่ระบบการจัดทำทะเบียนราษฎร เพื่อจะสามารถควบคุม ดูแล ตรวจสอบ ติดตาม และป้องกันปัญหาอาชญากรรม การหาผลประโยชน์โดยไม่ชอบ และการค้ามนุษย์ ซึ่งอาจเกิดขึ้นได้ในอนาคต คำสำคัญ: นักเรียนไร้สัญชาติ, ความเหลื่อมล้ำ | en_US |
Appears in Collections: | POL: Independent Study (IS) |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
งานค้นคว้าอิสระ สมศักดิ์ คำแดง 631932074 ฉบับสมบูรณ์.pdf | 813.46 kB | Adobe PDF | View/Open Request a copy |
Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.