Please use this identifier to cite or link to this item:
http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/79730
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | สมบัติ สกุลพรรณ์ | - |
dc.contributor.advisor | ดาราวรรณ ต๊ะปินตา | - |
dc.contributor.author | กมลพัขร อินปั๋น | en_US |
dc.date.accessioned | 2024-07-13T08:42:32Z | - |
dc.date.available | 2024-07-13T08:42:32Z | - |
dc.date.issued | 2024-03 | - |
dc.identifier.uri | http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/79730 | - |
dc.description.abstract | Suicidal behavior among early adults is a major public health and social problem around the world, as suicide has increased in violence and frequency, both global and in the Thai context. This predictive correlational descriptive study aimed to explore suicidal behavior, such as self-esteem, social support and hope. Participants were selected by following the inclusion criteria and consisted of 89 early adulths between the ages of 20 to 40 years old, both male and female, who had received services from mental health and psychiatric out patient department at community hospitals in Health Region 1 of Thailand, from March to May 2021. The research tools used were 1)the Demographic data record; 2)the Rosemberg Self-esteem Scale:Revised Thai RSES; 3)Social Support Questionaire ;4) the Revised Version of the Thai Herth Hope Index and; 5)the Mini International Neuropsychiatric Structure Interview [M.I.N.I]:Suicidality part. Descriptive statistics and, the multiple linear regression stepwise method were used for data analysis. The findings revealed that: 1. Regarding suicidal behavior of the sample, when classified by the level of suicide behavior, most participants were at the low level of suicide risk, (79.78%), followed by a moderate level (14.61%) and a high level of risk (5.62%). 2. Social support is the only factor that could predict the suicide behavior of early adults at 33.90%,with a significance level of 0.01 (R2= 0.339, P<0.01). As for feelings of self-worth and hope, it was not possible to predict suicide behavior in early adults via those factors. The results of this research can benefit psychiatric nurses and related staff working in mental health. The findings, can be used as primary information for planning to prevent the risk of suicidal behavior in early adults and for enhancing social support for early adults receiving services at community hospitals in Health Region 1 of Thailand. | en_US |
dc.language.iso | other | en_US |
dc.publisher | เชียงใหม่ : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ | en_US |
dc.title | ปัจจัยทำนายพฤติกรรมการฆ่าตัวตายในผู้ใหญ่ตอนต้น | en_US |
dc.title.alternative | Predicting factors of suicidal behavior among early adults | en_US |
dc.type | Thesis | |
thailis.controlvocab.thash | วัยหนุ่มสาว -- พฤติกรรมฆ่าตัวตาย | - |
thailis.controlvocab.thash | การฆ่าตัวตาย | - |
thailis.controlvocab.thash | พฤติกรรมฆ่าตัวตาย | - |
thailis.controlvocab.thash | การพยาบาลจิตเวชศาสตร์วัยรุ่น | - |
thesis.degree | master | en_US |
thesis.description.thaiAbstract | พฤติกรรมการฆ่าตัวตายในผู้ใหญ่ตอนต้นเป็นปัญหาทางสาธารณสุขและปัญหาทางสังคมที่สำคัญเนื่องจากสถานการณ์การฆ่าตัวตายยังคงมีความรุนแรงและมีแนวโน้มเพิ่มมากขึ้นทั้งในสังคมโลกและสังคมไทย การวิจัยแบบหาความสัมพันธ์เชิงทำนายครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาพฤติกรรมการฆ่าตัวตายของวัยผู้ใหญ่ตอนต้นและศึกษาปัจจัยทำนายของ ความรู้สึกมีคุณค่าในตนเอง การสนับสนุนทางสังคม และความหวัง ต่อพฤติกรรมการฆ่าตัวตายในผู้ใหญ่ตอนต้น กลุ่มตัวอย่าง คือ วัยผู้ใหญ่ตอนต้นที่มีอายุระหว่าง 20 – 40 ปี ทั้งเพศชายและเพศหญิง ที่มาเข้ารับบริการที่คลินิกสุขภาพจิตและจิตเวชในโรงพยาบาลชุมชน สังกัดกระทรวงสาธารณสุขในเขตพื้นที่สุขภาพที่ 1 เก็บข้อมูลระหว่างเดือนมีนาคม ถึง พฤษภาคม 2564 เลือกกลุ่มตัวอย่างตามคุณสมบัติที่กำหนดไว้คือผู้ใหญ่ตอนต้นจำนวน 89 ราย เครื่องมือที่ใช้ในการรวบรวมข้อมูล ประกอบด้วย 1) แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคล 2) แบบสอบถามความรู้สึกมีคุณค่าในตนเองของโรเซนเบอร์ก 3) แบบสอบถามการสนับสนุนทางสังคม 4) แบบประเมินความหวังของเฮิร์ท และ5) แบบสัมภาษณ์ความเสี่ยงต่อการฆ่าตัวตายในเครื่องมือวินิจฉัยโรคทางจิตเวช วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณาและสถิติอ้างอิงวิเคราะห์ความถดถอยเชิงเส้นแบบพหุคูณ (Multiple linear regression) ด้วยเทคนิคสเต็ปไวส์ (stepwise method) ผลการวิจัยพบว่า 1. พฤติกรรมการฆ่าตัวตายของกลุ่มตัวอย่างเมื่อจำแนกตามระดับคะแนนพฤติกรรมการฆ่าตัวตายพบว่ากลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่มีความเสี่ยงในการฆ่าตัวตายระดับน้อยร้อยละ79.78รองลงมาคือ ระดับปานกลาง ร้อยละ 14.61 และระดับมาก ร้อยละ 5.62 2. การสนับสนุนทางสังคมเป็นเพียงปัจจัยเดียวที่สามารถทำนายพฤติกรรมการฆ่าตัวตายของผู้ใหญ่ตอนต้นได้ ร้อยละ 33.90 อย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ 0.01(R2=0.339,P<0.01) ส่วนความรู้สึกมีคุณค่าในตนเอง และ ความหวัง ไม่สามารถร่วมทำนายพฤติกรรมการฆ่าตัวตายในผู้ใหญ่ตอนต้นได้ ผลการวิจัยในครั้งนี้จะเป็นประโยชน์ต่อการพยาบาลจิตเวชและเจ้าหน้าที่ผู้เกี่ยวข้องที่ทำงานด้านสุขภาพจิตโดยสามารถนำผลที่ได้จากการศึกษาใช้เป็นข้อมูลในการวางแผนปฏิบัติทางการพยาบาลเพื่อป้องกันความเสี่ยงต่อพฤติกรรมการฆ่าตัวตายในผู้ใหญ่ตอนต้น โดยเน้นการเสริมสร้างการสนับสนุนทางสังคมของผู้ใหญ่ตอนต้นที่เข้ารับการบริการ ณ คลินิกสุขภาพจิตและจิตเวชในโรงพยาบาลชุมชนสังกัดกระทรวงสาธารณสุขในเขตพื้นที่สุขภาพที่ 1 ต่อไป | en_US |
Appears in Collections: | NURSE: Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
611231018-กมลพัชร อินปั๋น.pdf | 7.17 MB | Adobe PDF | View/Open Request a copy |
Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.