Please use this identifier to cite or link to this item: http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/79722
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorภาณุพันธุ์ ประภาติกุล-
dc.contributor.advisorณฐิตากานต์ พยัคฆา-
dc.contributor.advisorแสงทิวา สุริยงค์-
dc.contributor.authorวัชระ อินโองการen_US
dc.date.accessioned2024-07-12T09:44:30Z-
dc.date.available2024-07-12T09:44:30Z-
dc.date.issued2567-03-26-
dc.identifier.urihttp://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/79722-
dc.description.abstractThe Phrae Provincial Agricultural Office had promoted production technology to improve the production of tangerine quality, but most farmers still do not accept technology. Most farmers grow oranges naturally and did not take care according to academic principles much. While some farmers had good care, there is still a demand for knowledge and application of production technology. The researcher was therefore interested in studying the factors related to the acceptance of tangerine production technology by farmers in Phrae Province. The objectives of this research are 1) to study basic personal characteristics. Some economic and social aspects of farmers growing quality tangerines, Wang Chin District, Phrae Province 2) to analyze factors related to the acceptance of quality tangerine production technology by farmers growing quality tangerines, Wang Chin District, Phrae Province, and 3) To analyze problems, needs, and suggestions regarding quality tangerine production technology for farmers who grow quality tangerines in Wang Chin District, Phrae Province. The population was 194 farmers who participated in the Tangerine Large Plot Project with the Phrae Provincial Agricultural Office from 2017 to 2021. An interview schedule was used to collect data, the alpha coefficient was 0.741, and stepwise multiple regression analysis was used to analyze the data. The assumptions in this study were basic personal factors, economic factors and social factors affect farmers’ adoption of Tangerine quality production technology in Wang Chin district, Phrae province.The result showed that most of the farmers were male with an average age of 60.76 years. Graduated from primary school, and had 14.74 years of experience in growing tangerines. The average number of household workers was 3.01 people, an average of 2.51 temporary workers, an average amount of tangerine growing area of 6.76 rai, and the average amount of tangerine production produced in 2022 was 15,278.54 kilograms. By selling produce, produce from the canal/orange stands. The produce can be sold at an average price of 10.84 baht/per kilogram. have net income (less production costs) from the sale of tangerine produce, an average of 136,463.22 baht. All farmers use their household land to produce tangerines. However, most farmers have outstanding debts. The farmers who are burdened with debt have an average outstanding debt of 148,633.33 baht. Most farmers do not have a social position. Farmers with the social position of village headman/village headman/assistant village headman and a member of the Bank for Agriculture and Agricultural Cooperatives (BAAC) customer group. The most farmers have contact with agricultural extension officers regarding the production of quality tangerine averaging 4.56 times/3 months. Farmers' compliance with technology for producing tangerines averaged 37.06 points. Farmers had a high level of compliance with technology for producing quality tangerines. Furthermore, it found that knowledge level regarding the production of quality tangerines had a statistically significant negative correlation at the 0.05 level with the level of compliance with quality tangerine production technology. Suggestions from this study include that the government should set goals for promoting quality tangerine production technology for farmers in Wang Chin District, Phrae Province. And the government should plan the promotion by integrating relevant officials to provide knowledge, advice, and join in planning water resource management, promoting academic knowledge, and linking markets to support farmers' produce. Including the government sector should focus on managing disease and insect outbreaks appropriately, and supporting water resources so that farmers have enough water to use during the production season. And the government should support the integration of production and processing groups by setting standards and controlling the price of tangerine production to the same standard, and should support the integration of farmers who produce more quality tangerines.en_US
dc.language.isootheren_US
dc.publisherเชียงใหม่ : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่en_US
dc.subjectAdoptionen_US
dc.subjectProduction Technologyen_US
dc.titleปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการยอมรับเทคโนโลยีการผลิตส้มเขียวหวานคุณภาพของเกษตรกรในอำเภอวังชิ้น จังหวัดแพร่en_US
dc.title.alternativeFactors relating to farmers’ adoption of tangerine quality production technology in Wang Chin district, Phrae provinceen_US
dc.typeIndependent Study (IS)
thailis.controlvocab.thashส้มเขียวหวาน-
thailis.controlvocab.thashเทคโนโลยีการเกษตร-
thailis.controlvocab.thashส้มเขียวหวาน -- วังชิ้น (แพร่)-
thesis.degreemasteren_US
thesis.description.thaiAbstractสำนักงานเกษตรจังหวัดแพร่ได้ทำการถ่ายทอดเทคโนโลยีการผลิตเพื่อพัฒนาการผลิตส้มเขียวหวานให้มีคุณภาพ, แต่ผลการดำเนินงานดังกล่าวกลับพบว่า เกษตรกรส่วนใหญ่ยังไม่ยอมรับหรือไม่ปฏิบัติตาม เกษตรกรส่วนใหญ่ปลูกส้มแบบธรรมชาติ และไม่ได้ดูแลตามหลักวิชาการมากนัก ในขณะที่ เกษตรกรบางส่วนที่มีการดูแลรักษาที่ดี ยังคงมีความต้องการความรู้และการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีการผลิต ผู้วิจัยจึงสนใจที่จะทำการศึกษาถึงปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการยอมรับเทคโนโลยีการผลิตส้มเขียวหวานของเกษตรกรในจังหวัดแพร่โดยการวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ (1) เพื่อศึกษาลักษณะพื้นฐานส่วนบุคคล เศรษฐกิจและสังคมบางประการของเกษตรกรผู้ปลูกส้มเขียวหวานคุณภาพ อำเภอวังชิ้น จังหวัดแพร่ (2) เพื่อวิเคราะห์ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการยอมรับเทคโนโลยีการผลิตส้มเขียวหวานคุณภาพของเกษตรกรผู้ปลูกส้มเขียวหวานคุณภาพ อำเภอวังชิ้น จังหวัดแพร่ และ (3) เพื่อวิเคราะห์ปัญหา ความต้องการ และข้อเสนอแนะที่มีต่อเทคโนโลยีการผลิตส้มเขียวหวานคุณภาพของเกษตรกรผู้ปลูกส้มเขียวหวานคุณภาพ อำเภอวังชิ้น จังหวัดแพร่ ประชากรที่ใช้ศึกษาครั้งนี้ คือ เกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการแปลงใหญ่ส้มเขียวหวานกับสำนักงานเกษตรจังหวัดแพร่ ปี พ.ศ. 2560 - 2564 จำนวน 194 คน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสัมภาษณ์ที่มีค่าความเชื่อมั่น 0.741 และใช้การวิเคราะห์สมการถดถอยพหุแบบเป็นขั้นตอน สมมติฐานในการศึกษานี้ คือ ปัจจัยพื้นฐานส่วนบุคคล ปัจจัยทางด้านเศรษฐกิจ และปัจจัยทางด้านสังคม มีผลต่อการยอมรับเทคโนโลยีการผลิตส้มเขียวหวานคุณภาพของเกษตรกรในอำเภอวังชิ้น จังหวัดแพร่ ผลการวิจัย พบว่า เกษตรกรส่วนใหญ่เป็นเพศชาย มีอายุเฉลี่ย 60.76 ปี จบการศึกษาระดับประถมศึกษา และมีประสบการณ์การผลิตส้มเขียวหวานเฉลี่ย 14.74 ปี เกษตรกรมีจำนวนแรงงานในครัวเรือนเฉลี่ย 3.01 คน แรงงานจ้างชั่วคราวเฉลี่ย 2.51 คน มีจำนวนพื้นที่ปลูกส้มเขียวหวาน เฉลี่ย 6.76 ไร่ ปริมาณผลผลิตส้มเขียวหวานที่ผลิตได้ ในปี พ.ศ. 2565 เฉลี่ย 15,278.54 กิโลกรัม จำหน่ายผลผลิตทางล้ง/แผงส้ม โดยจำหน่ายผลผลิตได้ราคาเฉลี่ย 10.84 บาท/ต่อกิโลกรัม ทั้งนี้ เกษตรกร มีรายได้สุทธิ (หักต้นทุนการผลิต) จากการจำหน่ายผลผลิตส้มเขียวหวาน เฉลี่ย 136,463.22 บาท เกษตรกรทั้งหมดใช้พื้นที่ของครัวเรือนในการผลิตส้มเขียวหวาน อย่างไรก็ตาม เกษตรกรส่วนใหญ่มีภาระหนี้สินคงค้าง โดยเกษตรกรที่มีภาระหนี้สินมีภาระหนี้สินคงค้างเฉลี่ย 148,633.33 บาท นอกจากนี้เกษตรกรส่วนใหญ่ไม่มีตำแหน่งทางสังคม สำหรับเกษตรกรที่มีตำแหน่งทางสังคมพบว่าเป็นกำนัน/ผู้ใหญ่บ้าน/ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้าน และเป็นสมาชิกกลุ่มลูกค้าธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธกส.) อย่างไรก็ตามในปี พ.ศ. 2565 เกษตรกรมีการติดต่อกับเจ้าหน้าที่ส่งเสริมการเกษตรในเรื่อง การผลิตส้มเขียวหวานคุณภาพ เฉลี่ย 4.56 ครั้ง/3เดือน เกษตรกรมีการปฏิบัติตามเทคโนโลยีการผลิตส้มเขียวหวานเฉลี่ย 37.06 คะแนน โดยเกษตรกรมีระดับการปฏิบัติตามเทคโนโลยีการผลิตส้มเขียวหวานคุณภาพในระดับมาก นอกจากนี้ยังพบว่า ระดับความรู้เกี่ยวกับการผลิตส้มเขียวหวานคุณภาพมีความสัมพันธ์เชิงลบกับระดับการปฏิบัติตามเทคโนโลยีการผลิตส้มเขียวหวานคุณภาพอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ข้อเสนอแนะที่ได้จากการศึกษานี้ ได้แก่ ภาครัฐควรกำหนดเป้าหมายการส่งเสริมเทคโนโลยีการผลิตส้มเขียวหวานคุณภาพของเกษตรกรในอำเภอวังชิ้น จังหวัดแพร่ และวางแผนการส่งเสริมโดยบูรณาการเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องเพื่อเข้ามาให้ความรู้ คำแนะนำ และร่วมวางแผนการจัดการแหล่งน้ำ การส่งเสริมองค์ความรู้ทางวิชาการ และการเชื่อมโยงตลาดเพื่อรองรับผลผลิตของเกษตรกร รวมถึงภาครัฐจึงควรให้ความสำคัญต่อการจัดการปัญหาโรคและแมลงระบาดให้เหมาะสม และการสนับสนุนเรื่องแหล่งน้ำเพื่อให้เกษตรกรมีน้ำใช้อย่างเพียงพอในช่วงฤดูกาลผลิต และควรสนับสนุนการรวมกลุ่มผลิตและแปรรูป โดยกำหนดมาตรฐานและควบคุมราคาผลผลิตของส้มเขียวหวานให้เป็นมาตรฐานเดียวกัน และควรสนับสนุนการรวมกลุ่มเกษตรกรผู้ผลิตส้มเขียวหวานคุณภาพให้มากขึ้นen_US
Appears in Collections:AGRI: Independent Study (IS)

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
620832008-วัชระ อินโองการ.pdf2.07 MBAdobe PDFView/Open    Request a copy


Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.