Please use this identifier to cite or link to this item: http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/79714
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorAssoc.Prof.Dr. Chadarat Ampasavate-
dc.contributor.advisorAsst.Prof.Dr. Kanokwan Kiattisin-
dc.contributor.authorMr. Nontachai Magrodeen_US
dc.contributor.authorนาย นนทชัย มากรดen_US
dc.date.accessioned2024-07-12T01:11:46Z-
dc.date.available2024-07-12T01:11:46Z-
dc.date.issued2024-03-12-
dc.identifier.urihttp://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/79714-
dc.description.abstractThis study aimed to develop a submicron colloidal formulation for delivering of Tripeptide-3 to inhibit sebaceous gland activity, thereby reducing the oiliness of facial skin and acne. The experimental design used pseudoternary phase diagram plots to determine the factors influencing microemulsions formation. These factors include HLB values of the surfactant mixture, co-surfactants, whether single or double tails, types and ratios of co-solvents, and the content of caprylic/capric triglyceride (CCT oil) in formulations. Notably, the combination of Cremophor® RH 40 and a double-tailed co-surfactant, Lameform® TGI (referred to as Smix), at a hydrophilic-hydrophobic balance (HLB) of 13, in conjunction with water and a co-solvent (Propylene Glycol, PG) at a 1:1 ratio, yielded the largest microemulsion area (57%) compared with those from other Smix and co-solvent combinations. Further refinement was achieved through the optimization employing a Design Expert® program with a two-level full factorial experimental design (two-level FFD). The three independent variables include HLB value (11 or 13), polypropylene glycol (PG) content (20% or 40%), and oil content (5% or 10% CCT oil), while ensuring a limited Smix content at 10%. The. dependent variables were observed, including physical appearance, particle size (nm) and percent transmittance (%T). The optimal formulation is achieved by heating the oil and water phases to 70±2 °C then pouring the water phase into the oil phase with vigorous stirring until the formulation cooldown to approximately 40 °C. Among the eight formulations tested, the optimal formulation consisted of 10% Smix with an HLB of 13, 20% PG, and 5% oil content. This combination yielded submicron emulsions with droplet sizes of 25.7±1.2 nm, a PDI of 0.237±0.1, and %T of 70.6±0.5%. The formulation demonstrated stability under various stress tests, including centrifugation at 10,000 rpm for 30 minutes, six heating-cooling cycles, and three freeze-thaw cycles. Furthermore, the results indicated stable Tripeptide-3 when the pH was adjusted to 4.5. Considering the method of preparation and characteristics of the optimized Tripeptide-3 formulation, this nano-colloidal dispersion was conclusively identified as stable and translucent nanoemulsions. The Tripeptide-3 in the optimized nanoemulsion exhibited a significantly enhanced permeation through the Strat-M® artificial skin membrane in Franz diffusion cells when compared to three microemulsions (o/w, bicontinuous, and w/o microemulsions), and a coarse emulsion. Consequently, the nanoemulsions displayed significantly elevated levels of both skin flux and skin retention of Tripeptide-3 within the membrane. Further clinical evaluation was performed in 23 healthy volunteers with oily facial skin. The formulation displayed no signs of skin irritation and efficacy of facial oil reductions by 21.61±4.76%, 19.92±4.76%, and 15.54±7.83% on the forehead, nose, and chin, respectively, while concomitantly augmenting skin moisture levels on the forehead, cheek, and chin by 12.65±6.98%, 3.58±3.29%, and 9.88±6.54%, respectively, after 28 days of intervention. In conclusion, the study has optimized a low-surfactant nanoemulsion formulation for hydrophilic peptide delivery into facial skin to reduce oiliness. The optimized nanoemulsion exhibited thermodynamic stability and significantly higher skin permeation compared to microemulsions and an emulsion used for comparison. Through evaluation in volunteers, this formulation was efficacious in reducing facial oiliness and non-irritated when used as a cosmetic product, demonstrating potential as a therapeutic intervention in managing sebum levels in individuals with oily skin conditions.en_US
dc.language.isoenen_US
dc.publisherChiang Mai : Graduate School, Chiang Mai Universityen_US
dc.subjectmicroemulsionsen_US
dc.subjectnanoemulsionsen_US
dc.subjectdermal delivery systemen_US
dc.subjectoptimizationen_US
dc.subjecthydrophilic agenten_US
dc.titleOptimized Tripeptide-3-loaded Nanoemulsions compared with Microemulsions for dermal deliveryen_US
dc.title.alternativeนาโนอิมัลชันที่กักเก็บไตรเปปไทด์-๓ จากสภาวะที่เหมาะสมเทียบกับไมโครอิมัลชันสำหรับการนำส่งสู่ชั้นผิวหนังแท้en_US
dc.typeThesis
thailis.controlvocab.lcshNanoemulsions-
thailis.controlvocab.lcshMicroemulsions-
thailis.controlvocab.lcshTripeptide-3-
thailis.controlvocab.lcshCosmetics-
thesis.degreemasteren_US
thesis.description.thaiAbstractการศึกษานี้เพื่อพัฒนาตำรับของสารแขวนลอยที่มีอนุภาคขนาดนาโนเมตรเพื่อนำส่งสารไตรเปป-ไทด์-๓ สำหรับยับยั้งการทำงานของต่อมไขมันเพื่อลดสภาวะผิวหน้ามันและลดการเกิดสิว โดยทำการออกแบบการทดลองเพื่อหาปัจจัยที่มีผลต่อการก่อตัวของไมโครอิมัลชันโดยใช้สามเหลี่ยมไตรวัตภาคเทียม เช่น ค่าเอชแอลบี (HLB) ของระบบสารลดแรงตึงผิว ชนิดหางเดี่ยวหรือหางคู่ ชนิดและอัตราส่วนของตัวทำละลายร่วม และปริมาณของน้ำมันชนิดความยาวสายกลางคาพริลิค คาพริค ไตรกลีเซอไรด์ในตำรับ โดยพบว่า ระบบสารลดแรงตึงผิว (Smix) ที่ประกอบด้วยครีโมฟอร์ อาร์เอซ ๔๐ และสารลดแรงตึงผิวร่วมชนิดหางคู่ ลามีฟอร์ม ทีจีไอ ที่ค่าเอชแอลบี ๑๓ ร่วมกับตัวทำละลายร่วม โพรไพลีน ไกลคอล (PG) ต่อ น้ำในอัตราส่วน ๑:๑ ทำให้มีพื้นที่ที่เกิดการก่อตัวของไมโครอิมัลชันสูงที่สุดเท่ากับร้อยละ ๕๗ จึงเป็นระบบที่ได้นำไปพัฒนาต่อเพื่อเป็นตำรับสำหรับใช้ในอาสาสมัครโดยใช้โปรแกรมออกแบบการทดลองดีซายด์ เอ๊กซเพิร์ท แบบสองระดับ รวมทุกปัจจัย โดยศึกษาปัจจัยของ ค่าเอชแอลบี (๑๑ หรือ ๑๓) รวมทั้งปริมาณของสารช่วยละลาย ร้อยละ ๒๐ หรือ ร้อยละ ๔๐ และ ปริมาณน้ำมันในตำรับ ร้อยละ ๕ หรือ ร้อยละ ๑๐ โดยกำหนดให้มีการใช้ Smix ที่ 10% ทำการวัดผลเป็น ลักษณะทางกายภาพ เปรียบเทียบขนาดของอนุภาค และร้อยละของแสงที่ผ่านตำรับ โดยใช้การเตรียมด้วยการให้ความร้อนที่ ๗๐±๒ องศาเซลเซียสแก่วัตภาคน้ำและวัตภาคน้ำมัน แล้วเทวัตภาคน้ำลงในวัตภาคน้ำมันจากนั้นคนแรงๆ จนอุณหภูมิของตำรับลดลงประมาณ ๔๐ องศาเซลเซียส โดยตำรับที่ให้อนุภาคแขวนลอยที่เหมาะสมที่สุดจาก ๘ ตำรับประกอบด้วย สารลดแรงตึงผิวที่ค่าเอชแอลบี ๑๓ ร้อยละ ๑๐ ร่วมกับ PG และน้ำมัน ร้อยละ ๒๐ และร้อยละ ๕ ตามลำดับ โดยมีขนาดอนุภาคที่ ๒๕.๗±๑.๒ นาโนเมตร (ดัชนีการกระจายตัว ๐.๒๓๗±๐.๑) อัตราการผ่านของแสงที่ ร้อยละ ๗๐.๖±๐.๕ และมีความคงตัวหลังจากทดสอบโดยการเร่งให้สลายตัว โดยการปั่นเหวี่ยงที่ ๑๐,๐๐๐ รอบต่อนาที เป็นเวลา ๓๐ นาที การวางไว้ในที่ร้อนสลับเย็น จำนวน ๖ รอบ และวางไว้ที่จุดเยือกแข็งสลับการปล่อยให้ละลาย ๓ รอบ และพบว่าไตรเปปไทด์-๓ มีความคงตัวเมื่อมีค่าพีเอชของตำรับเท่ากับ ๔.๕ โดยลักษณะของตำรับที่กักเก็บสารไตรเปปไทด์-๓ เป็นตำรับชนิดนาโนอิมัลชันเนื่องจากต้องการพลังงานความร้อนในการเกิดเป็นคอลลอยด์ที่มีลักษณะคงตัวและโปร่งแสงตำรับนาโนอิมัลชันที่พัฒนาขึ้นสามารถทำให้ไตรเปปไทด์-๓ ซึมผ่านผิวจำลอง ชนิดสเตรท-เอ็ม ในเซลล์การแพร่ฟรานส์ได้ดีกว่า ตำรับไมโครอิมัลชัน ๓ ชนิด ที่ได้ จากสามเหลี่ยมไตรวัตภาคเทียม (ชนิดน้ำมันในน้ำ ชนิดไบคอนทินิวอัส และชนิดน้ำในน้ำมัน) ที่มีปริมาณสารลดแรงตึงผิวร้อยละ ๕๐ และตำรับอิมัลชันปกติ โดยพบอัตราการซึมผ่านและปริมาณสารสำคัญในชั้นของผิวสังเคราะห์มากกว่าตำรับไมโครอิมัลชัน และอิมัลชันอย่างมีนัยสำคัญ จึงได้นำตำรับชนิดนาโนอิมัลชันที่ได้ไปทดสอบในอาสาสมัครที่มีผิวหน้ามัน จำนวน ๒๓ คน พบว่าตำรับไม่ทำให้เกิดการระคายเคืองผิว และมีประสิทธิภาพในการลดความมันบนใบหน้าทั้งที่ หน้าผาก จมูก และ คาง ลดลงร้อยละ ๒๑.๖๑ ± ๔.๗๖, ๑๙.๙๒ ± ๔.๗๖,และ ๑๕.๕๔ ± ๗.๘๓ นอกจากนี้พบว่าสามารถเพิ่มความชุ่มชื้นของผิวหน้าบริเวณ หน้าผาก แก้มและคางได้ ๑๒.๖๕ ± ๖.๙๘, ๓.๕๒ ± ๓.๒๙, และ ๙.๘๘ ± ๖.๕๔ ตามลำดับหลังจากใช้ครบ ๒๘ วัน โดยสรุป ได้พัฒนาตำรับไตรเปปไทด์-๓ ในนาโนอิมัลชันที่ใช้สารลดแรงตึงผิวปริมาณน้อย เพื่อนำส่งเปปไทด์ที่ละลายน้ำได้ดีเข้าสู่ผิวหน้าสำหรับลดความมัน โดยการคัดเลือกองค์ประกอบร่วมและประเมินคุณสมบัติต่าง ๆ ของตำรับ พบว่าได้ตำรับที่มีความคงตัวทางอุณหพลศาสตร์ และมีอัตราการซึมผ่านผิวที่สูงกว่าตำรับชนิดไมโครอิมัลชันและอิมัลชันที่นำมาเปรียบเทียบ เมื่อนำไปทดสอบกับอาสาสมัคร พบว่าตำรับนาโนอิมัลชันที่ได้มีประสิทธิภาพในการลดความมันของผิวหน้า และไม่ก่อให้เกิดการระคายเคืองเมื่อนำไปใช้เป็นเครื่องสำอาง จึงเป็นผลิตภัณฑ์ที่มีศักยภาพ สำหรับการใช้ควบคุมความมันสำหรับผู้ที่มีผิวมันen_US
Appears in Collections:PHARMACY: Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
621031016 Nontachai Magrode.pdf1.31 MBAdobe PDFView/Open    Request a copy


Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.