Please use this identifier to cite or link to this item: http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/79706
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorปีดิเทพ อยู่ยืนยง-
dc.contributor.authorสีสุดา มาลาทิบen_US
dc.date.accessioned2024-07-12T00:46:39Z-
dc.date.available2024-07-12T00:46:39Z-
dc.date.issued2567-04-
dc.identifier.urihttp://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/79706-
dc.description.abstractThis thesis aims to study facts, scope, processes, and management procedures of forest fire operations by local government organizations according to the Local Administrative Organization Act B.E. 2542, and the legal issues arising from the overlapping power and responsibilities of local government organizations in managing forest fire problems. It also aims to study cases of forest fire management in foreign countries in order to propose improvement to the capabilities of local government organizations to manage forest fire management more effectively. The study finds that Thai local government organizations does not manage forest fire as efficiently as it should, due to two problems and limitations. First is the problem regarding the operations of forest fire management. This study finds that local government organizations lack personnel and staff with sufficient knowledge and skills for fire control, leading to a lack of efficient forest fire management, especially for the forest fires that occur in small, remote administrative areas, making it difficult to travel to extinguish forest fires. Firefighting tools and equipment are also insufficient and inappropriate to cover the size of the areas they are responsible for. Moreover, the lack of budget from central government for purchasing modern firefighting equipment contributes to the problem. Additionally, there is still ineffectiveness in the spread of knowledge to and the raising of awareness of the population, especially of the members in the local communities, regarding the risks of forest fires and their effects. Moreover, farmers are still viewing forest fires as necessary for land preparation for agriculture and do so without creating fire boundaries to prevent the fires from spreading out and . The fires then easily spread into the forests and grow into forest fires. Second is the problem arising from overlapping of power. This study finds that while there are several laws granting power of forest fires management to local government organizations, however, in practice, local government organizations are not able to exercise such power to efficiently manage forest fires. This is because those laws do not only grant the power of forest fires management to local government organizations but also to other government agencies, causing the overlapping of power to manage forest fires of the relevant government agencies, both content wise (the laws and regulations) and duty performance wise (the exercise of power to command and the responsibilities). This results in delayed performance of duties and the exercise of legal power to order and command, and conflicts within organizations. The aforementioned makes it not possible to create unity and efficiency in the management of forest fires. Keywords: Forest Fire, Forest Fire Management, Local Governmenten_US
dc.language.isootheren_US
dc.publisherเชียงใหม่ : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่en_US
dc.titleการจัดการไฟป่าภายใต้พระราชบัญญัติกำหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2542en_US
dc.title.alternativeForest fire management according to the determining plans and process of decentralization to Local Government Organization Act, B.E. 2542en_US
dc.typeThesis
thailis.controlvocab.thashไฟป่า-
thailis.controlvocab.thashไฟป่า -- กฎหมายและระเบียบข้อบังคับ-
thailis.controlvocab.thashไฟป่า -- การป้องกันและควบคุม-
thailis.controlvocab.thashองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น -- การจัดการสิ่งแวดล้อม-
thesis.degreemasteren_US
thesis.description.thaiAbstractวิทยานิพนธ์นี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาข้อเท็จจริง ขอบเขต ขั้นตอนและกระบวนการการจัดการไฟป่าขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ตามพระราชบัญญัติกำหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2542 และปัญหาทางกฎหมายที่เกิดขึ้นจากความทับซ้อนทางอำนาจหน้าที่ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในการจัดการปัญหาไฟป่า รวมถึงศึกษาการจัดการไฟป่าในต่างประเทศ เพื่อนำมาเป็นแนวทางในการพัฒนาศักยภาพขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เพื่อให้การจัดการไฟป่าให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น ผลการศึกษาพบว่าองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นยังไม่สามารถจัดการไฟป่าได้อย่างมีประสิทธิภาพเท่าที่ควรโดยมีปัญหาและข้อจำกัดสองประการดังต่อไปนี้ ประการแรก ด้านการปฏิบัติการจัดการไฟป่า พบว่า องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นขาดแคลนบุคลากรที่มีความรู้และทักษะที่เพียงพอสำหรับการจัดการไฟป่า ทำให้ระบบการบริหารจัดการไฟป่าไม่มีศักยภาพ โดยเฉพาะไฟป่าที่เกิดขึ้นในพื้นที่ขององค์กรส่วนท้องถิ่นขนาดเล็กในพื้นที่ห่างไกลทำให้เกิดความยากต่อปฏิบัติการดับไฟป่า ประกอบกับอุปกรณ์สำหรับการปฏิบัติการมีจำนวนไม่เพียงพอกับพื้นที่ป่าในความรับผิดชอบ อีกทั้งงบประมาณในการจัดซื้ออุปกรณ์ที่ทันสมัยและมีคุณภาพในการดับไฟป่าอย่างรวดเร็วไม่ได้รับการจัดสรรจากหน่วยงานรัฐส่วนกลางที่เพียงพอ นอกจากนี้ การส่งเสริมความรู้เกี่ยวกับภัยของไฟป่าและผลกระทบที่ตามมาแก่ประชาชนโดยเฉพาะประชาชนที่อยู่อาศัยใกล้เคียงหรือในพื้นที่ป่านั้นยังไม่อาจสร้างการตระหนักถึงผลกระทบที่ตามมาประกอบกับเกษตรกรยังเล็งเห็นการเผาป่าเพื่อเตรียมพื้นที่การเกษตรเป็นสิ่งจำเป็นโดยปราศจากการป้องกันแนวเขตของไฟเพื่อมิให้เกิดการลุกลามจนก่อให้เกิดปัญหาไฟป่า ประการที่สอง ด้านอำนาจกฎหมายที่ทับซ้อน พบว่า แม้จะมีกฎหมายจำนวนมากที่ให้อำนาจในการจัดการไฟป่าแก่องค์กรส่วนท้องถิ่น ทว่า ในทางปฏิบัติองค์กรส่วนท้องถิ่นยังไม่สามารถใช้อำนาจการจัดการไฟป่าได้อย่างมีประสิทธิภาพ เนื่องจากกฎหมายดังกล่าวมิได้ให้อำนาจเฉพาะแต่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในการจัดการกับไฟป่าเท่านั้น แต่ยังให้อำนาจดังกล่าวแก่หน่วยงานอื่นด้วยเช่นกัน ทำให้เกิดความซ้ำซ้อนของอำนาจจัดการไฟป่าของแต่ละหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งในเชิงเนื้อหา (กฎหมาย) และการปฏิบัติหน้าที่ (อำนาจในการออกคำสั่งและความรับผิดชอบ) อันนำมาซึ่งผลลัพธ์ของความล่าช้าในการปฏิบัติหน้าที่ การออกคำสั่งภายใต้ขอบเขตอำนาจทางกฎหมาย และความขัดแย้งภายในหน่วยงาน ดังนั้น ด้วยสาเหตุดังกล่าวจึงไม่อาจก่อให้เกิดเอกภาพและประสิทธิภาพในการจัดการปัญหาไฟป่าอย่างแท้จริง คำสำคัญ: ไฟป่า, การจัดการไฟป่า, องค์กรปกครองท้องถิ่นen_US
Appears in Collections:LAW: Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
642032021-sesouda malathip.pdf2.62 MBAdobe PDFView/Open    Request a copy


Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.