Please use this identifier to cite or link to this item: http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/79689
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorธารณ์ ทองงอก-
dc.contributor.advisorสุบัน พรเวียง-
dc.contributor.authorภาสกร ทองเฉลิมen_US
dc.date.accessioned2024-07-09T11:51:02Z-
dc.date.available2024-07-09T11:51:02Z-
dc.date.issued2024-05-22-
dc.identifier.urihttp://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/79689-
dc.description.abstractThis independent study aimed to 1)Studythe current situation and desired state in differences of large secondary schools teachers attached to the Secondary Educational Service Area Office Chiang Mai.2)Develop strategies to enhance teamwork among in differences of large secondary schools teachers attached to the Secondary Educational Service Area Office Chiang Mai.3)Evaluate the strategies for enhancing teamwork among in differences of large secondary schools teachers attached to the Secondary Educational Service Area Office Chiang Mai. This study was conducted in three stages. Stages 1: A survey was administered to234 administrators and teachers from 6 large secondary schools attached to the Secondary Educational Service Area Office, Chiang Mai, to assess the current and desired state of teamwork among teachers of different age groups.The questionnaire used a 5-point Likert scale. Stages 2: A workshop was conducted with 11 administrators and teachers from the 6 schools to develop strategies for enhancing teamwork among teachers of different age groups. Stages 3: The strategies developed in Phase 2 were evaluated using a quality assessment instrument. The instrument was completed by 11 administrators and teachers from the 6 schools. Data were analyzed using mean, standard deviation, and index of necessity.Tools used in guideline inspection is the form of quality checking in consistency, suitability,feasibility and utility by using consensus voting according to the meeting. The findings of this study show 1) The current state of teamwork among teachers of different age groups in differences of large secondary schools teachers attached to the Secondary Educational Service Area Office Chiang Mai., was found to be at a high level. The desired state of teamwork was also found to be at a high level. The index value of necessity indicated that the greatest need was for increased teacher participation in teamwork, followed by improved interaction among team members, shared goals and objectives, and trust among team members.2)Strategies for Enhancing Teamwork are included. Strategy1:Develop a mindset for promoting teamwork Include 4 Secondary strategy.Strategy2: Promote teacher involvement in setting school target and goals together. Include 3 Secondary strategy.3) Theevaluation of Strategies were found to be of high quality and were likely to be effective in enhancing teamwork among teachers of different age groups. The strategies were approved by consensusin consistency, suitability, feasibility and utility.en_US
dc.language.isootheren_US
dc.publisherเชียงใหม่ : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่en_US
dc.titleกลยุทธ์การเสริมสร้างการทำงานเป็นทีมของครูต่างช่วงวัยในโรงเรียนมัธยมศึกษาขนาดใหญ่ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเชียงใหม่en_US
dc.title.alternativeThe Strategy to promote teamwork in generational differences of large secondary schools teachers attached to the secondary educational service area office Chiang Maien_US
dc.typeIndependent Study (IS)
thailis.controlvocab.thashสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเชียงใหม่-
thailis.controlvocab.thashครูมัธยมศึกษา -- ภาระงาน-
thailis.controlvocab.thashการศึกษาขั้นมัธยม -- เชียงใหม่-
thesis.degreemasteren_US
thesis.description.thaiAbstractการศึกษานี้มีวัตถุประสงค์ คือ 1) เพื่อศึกษาสภาพปัจจุบันและสภาพที่พึงประสงค์การทำงานเป็นทีมของครูต่างช่วงวัยในโรงเรียนมัธยมศึกษาขนาคใหญ่ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเชียงใหม่ 2) เพื่อจัดทำกลยุทธ์ในการเสริมสร้างการทำงานเป็นทีมของครูต่างช่วงวัยในโรงเรียนมัธยมศึกษาขนาดใหญ่ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเชียงใหม่ 3) เพื่อตรวจสอบกลยุทธ์ในการเสริมสร้างการทำงานเป็นทีมของครูต่างช่วงวัยในโรงเรียนมัธยมศึกษาขนาดใหญ่ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเชียงใหม่ โดยมีการศึกษา 3 ขั้นตอน คือ ขั้นตอนที่ 1 การศึกษาสภาพปัจจุบันและสภาพที่พึงประสงค์การทำงานเป็นทีมของครูต่างช่วงวัยในโรงเรียนมัธยมศึกษาขนาดใหญ่ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเชียงใหม่ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษา คือ ผู้บริหารและครูโรงเรียนมัธยมศึกษาขนาดใหญ่ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเชียงใหม่ จำนวน 6 โรงเรียน รวมทั้งสิ้นจำนวน 234 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถามสภาพปัจจุบันและสภาพที่พึงประสงค์การทำงานเป็นทีมของครูต่างช่วงวัย โรงเรียนมัธยมศึกษาขนาดใหญ่ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา มีลักษณะเป็นมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะ ห์ข้อมูล คือ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและค่าดัชนีความต้องการจำเป็น ขั้นตอนที่ 2 การจัดทำกลยุทธ์ในการเสริมสร้างการทำงานเป็นทีมของครูต่างช่วงวัยในโรงเรียนมัธยมศึกษาขนาดใหญ่ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเชียงใหม่ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้เลือกแบบเจาะจง คือ ผู้บริหารและครูสถานศึกษาขนาดใหญ่แบ่งตามช่วงอายุ จำนวน 6 โรงเรียน รวมทั้งสิ้นจำนวน 11 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบวาระการประชุม ใช้รูปแบบการประชุมเชิงปฏิบัติการ และขั้นตอนที่ 3 การตรวจสอบกลยุทธ์ในการเสริมสร้างการทำงานเป็นทีมของครูต่างช่วงวัยในโรงเรียนมัธยมศึกษาขนาดใหญ่ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเชียงใหม่ กลุ่มตัวอย่างเลือกแบบเจาะจง คือ ผู้บริหารและครูสถานศึกษาขนาดใหญ่แบ่งตามช่วงอายุ จำนวน 6 โรงเรียน รวมทั้งสิ้นจำนวน 11 คน เครื่องมือที่ใช้ในการตรวจสอบแนวทาง คือ แบบตรวจสอบคุณภาพด้านความสอดคล้อง ด้านความเหมาะสม ด้านความเป็นไปได้ และการใช้ประ โยชน์ ใช้การลงคะแนนฉันทามติตามที่ประชุม ผลการศึกษา พบว่า 1. สภาพปัจจุบันการทำงานเป็นทีมของครูต่างช่วงวัย โรงเรียนมัธยมศึกษาขนาดใหญ่ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเชียงใหม่ โดยรวมอยู่ในระดับมาก สภาพที่พึงประสงค์การทำงานเป็นทีมของครูต่างช่วงวัย โรงเรียนมัธยมศึกษาขนาดใหญ่ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเชียงใหม่โดยร วมอยู่ในระดับมากที่สุด ค่าดัชนีความต้องการจำเป็นด้านการมีส่วนร่วมในการทำงานเป็นทีมมากที่สุด รองมาเป็นค้านการมีปฏิสัมพันธ์ระหว่างสมาชิกในทีม การมีจุดมุ่งหมายและเป้าหมายร่ วมกัน และการมีความไว้วางใจซึ่งกันและกันในการทำงานเป็นทีมตามลำดับ 2. กลยุทธ์ในการเสริมสร้างการทำงานเป็นทีมของครูต่างช่วงวัยในโรงเรียนมัธยมศึกษาขนาดใหญ่ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเชียงใหม่ ประกอบด้วยกลยุทธ์ที่ 1 พัฒนากรอบความคิดในการส่งเสริมการทำงานเป็นทีม ประกอบด้วย 4 กลยุทธ์รอง และกลยุทธ์ที่ 2 ส่งเสริมการมีส่วนร่วมในการกำหนดทิศทางและเป้าหมายของสถานศึกษาร่วมกัน ประกอบด้วย 3 กลยุทธ์รอง 3. ผลการตรวจสอบกลยุทธ์ในการเสริมสร้างการทำงานเป็นทีมของครูต่างช่วงวัยในโรงเรียนมัธยมศึกษาขนาดใหญ่ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกยามัธยมศึกษาเชียงใหม่ พบว่า ทุกกลยุทธ์ผ่านฉันทามติ ในด้านความสอดคล้อง ความเหมาะสม ความเป็นไปได้ และการนำไปใช้ประโยชน์en_US
Appears in Collections:EDU: Independent Study (IS)

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
650232078 ภาสกร ทองเฉลิม.pdf8.24 MBAdobe PDFView/Open    Request a copy


Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.