Please use this identifier to cite or link to this item:
http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/79680
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | Unchalee Permsuwan | - |
dc.contributor.advisor | Piyaluk Buddhawongsa | - |
dc.contributor.advisor | Kansinee Guntawongwan | - |
dc.contributor.author | Jirawit Yadee | en_US |
dc.date.accessioned | 2024-07-09T10:10:09Z | - |
dc.date.available | 2024-07-09T10:10:09Z | - |
dc.date.issued | 2024-04-27 | - |
dc.identifier.uri | http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/79680 | - |
dc.description.abstract | This dissertation purposed to investigate discount rates for both monetary and health outcomes in Thailand and evaluate the consequences of varying discount rates from recommended discount rates through a case study on economic evaluation. Furthermore, it aimed to examine the economic and clinical outcomes among patients with AS using the national health database to determine input parameters for an economic evaluation. The dissertation comprised 3 studies. Study I, an experimental study involved 1,202 participants who underwent individual interviews to ascertain discount rates. Participants were presented with monetary and health-related scenarios, such as air pollution and the Coronavirus Disease 2019 (COVID-19), and their indifference values were elicited using a choice-based method. This data was then used to calculate discount factors and estimate annual discount rates. The findings revealed a higher discount rate for monetary outcomes (6.2%) compared to health outcomes (1.3%), with health discount rates higher during the COVID-19 scenario (2.4%) than air pollution (0.7%). Study II, a database analysis was conducted using e-claim databased managed by the National Health Security Office to assess the economic burden, hospitalization rates, and in-hospital mortality among adult patients diagnosed with aortic stenosis (AS) in Thailand. Over an 8-year period (2015 to 2022), the study observed an significant increase in hospitalizations among individuals aged 60 to 79 (p<0.001), along with a rise in in-hospital mortality and treatment costs. Study III, an economic evaluation aimed to assess the cost-effectiveness of sutureless and rapid deployment aortic valve replacement (SUAVR) compared to conventional aortic valve replacement (CAVR) in Thailand. The base-case analysis indicated that SUAVR incurred higher lifetime costs (THB 1,733,355 vs. 1,220,643), while quality-adjusted life years (QALYs) were lower than CAVR (4.95 vs. 5.08 years), resulting in it being a dominated treatment strategy. However, when alternative discount rates were applied, both SUAVR and CAVR demonstrated lower lifetime costs and higher QALYs, suggesting potential long-term benefits and cost-effectiveness. In conclusion, this study highlighted the significance of setting a lower annual discount rate for health compared to money and underscored the importance of considering discount rates across various types of diseases. Additionally, these findings underscored the importance of considering differential discount rates for health and monetary outcomes in economic evaluations and the potential implications for the cost-effectiveness of healthcare interventions. | en_US |
dc.language.iso | en | en_US |
dc.publisher | เชียงใหม่ : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ | en_US |
dc.title | A Study of time preference for money and health outcomes and application in health economic evaluation | en_US |
dc.title.alternative | ความพึงพอใจในการบริโภคต่างเวลาสำหรับเงินและผลลัพธ์ทางสุขภาพและการประยุกต์ในการประเมินความคุ้มค่าทางเศรษฐศาสตร์สาธารณสุข | en_US |
dc.type | Thesis | |
thailis.controlvocab.lcsh | Medical economics | - |
thailis.controlvocab.lcsh | Public health administration | - |
thailis.controlvocab.lcsh | Medical care, Cost of | - |
thesis.degree | doctoral | en_US |
thesis.description.thaiAbstract | ดุษฎีนิพนธ์นี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินอัตราลดสำหรับเงินและผลลัพธ์ทางสุขภาพในบริบทประเทศไทย รวมถึงเพื่อศึกษาผลของการประยุกต์ใช้อัตราลดที่ประเมินได้ในการศึกษาความคุ้มค่าทางเศรษฐศาสตร์สาธารณสุข นอกจากนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์ผลลัพธ์ทางเศรษฐศาสตร์และคลินิกของผู้ป่วยโรคลิ้นหัวใจเอออร์ตีกตีบ (aortic stenosis) เพื่อใช้สำหรับเป็นข้อมูลนำเข้าแบบจำลองในการประเมินความคุ้มค่าทางเศรษฐศาสตร์สาธารณสุข ดุษฎีนิพนธ์นี้แบ่งเป็น 3 การศึกษา ประกอบด้วย การศึกษาที่ 1 เป็นการวิจัยเชิงทดลองในกลุ่มตัวอย่างจำนวน 1,202 คน โดยทำการสัมภาษณ์เพื่อตัดสินใจเลือกคำตอบภายใต้สถานการณ์สมมติด้านการเงินและสุขภาพ สำหรับสถานการณ์ด้านสุขภาพประกอบด้วยสถานการณ์การเจ็บป่วยจากปัญหามลพิษทางอากาศและการติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 จากการตอบคำถามของกลุ่มตัวอย่างแต่ละรายโดยวิธีการตัดสินใจเลือก (choice-based elicitation method) จะได้ค่าความพึงใจที่เท่ากัน (indifference value) จากนั้นนำไปคำนวณตัวคูณลด (discount factor) และอัตราลด (discount rate) ผลการศึกษาพบว่า อัตราลดสำหรับเงิน (ร้อยละ 6.2) มีค่าสูงกว่าอัตราลดสำหรับผลลัพธ์ทางสุขภาพ (ร้อยละ 1.3) ขณะที่อัตราลดสำหรับผลลัพธ์ทางสุขภาพในสถานการณ์เจ็บป่วยจากการติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (ร้อยละ 2.4) มีค่าสูงกว่าสถานการณ์มลพิษทางอากาศ (ร้อยละ 0.7) สำหรับการศึกษาที่ 2 เป็นการวิเคราะห์ข้อมูลฐานข้อมูลจากระบบบันทึกข้อมูลและประมวลผลข้อมูลการบริการทางการแพทย์ (e-Claim database) ของสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เพื่อศึกษาภาระทางด้านเศรษฐศาสตร์ การเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาล และอัตราการเสียชีวิตในโรงพยาบาลของผู้ป่วยโรคลิ้นหัวใจเอออร์ติกตีบ (aortic stenosis) พบว่า ในช่วงระยะเวลา 8 ปี (พ.ศ. 2558-2565) กลุ่มผู้ป่วยที่มีอายุ 60-79 ปี เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลด้วยโรคลิ้นหัวใจเอออร์ติกตีบเพิ่มมากขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p-value < 0.001) รวมถึงมีอัตราการเสียชีวิตและต้นทุนด้านการรักษาที่เพิ่มสูงขึ้น สำหรับการศึกษาที่ 3 เป็นการประเมินต้นทุนอรรถประโยชน์ของหัตถการการผ่าตัดเปลี่ยนลิ้นหัวใจเอออร์ติกชนิด sutureless (sutureless and rapid deployment aortic valve replacement) เปรียบเทียบกับการผ่าตัดเปลี่ยนลิ้นหัวใจเอออร์ติกชนิด conventional (conventional aortic valve replacement) ในบริบทประเทศไทย กการวิเคราะห์กรณีฐาน การผ่าตัดเปลี่ยนลิ้นหัวใจเอออร์ติกชนิด sutureless มีต้นทุนรวมที่สูงกว่า (1,733,355 vs. 1,220,643 บาท) ขณะที่ปีสุขภาวะต่ำกว่าชนิด conventional (4.95 vs 5.08 ปี) จึงจัดเป็นมาตรการด้อย (dominated treatment strategy) นอกจากนี้ เมื่อประยุกต์ใช้ค่าอัตราลดใหม่ พบว่าทั้งการผ่าตัดเปลี่ยนลิ้นหัวใจเอออร์ติกชนิด sutureless และชนิด conventional มีต้นทุนรวมที่ลดลง โดยที่ปีสุขภาวะเพิ่มขึ้น เมื่อเปรียบเทียบกับการวิเคราะห์กรณีฐาน ซึ่งแสดงให้เห็นว่าการใช้อัตราลดดังกล่าวมีผลต่อประโยชน์และความคุ้มค่าของเทคโนโลยีด้านสุขภาพในระยะยาว โดยสรุป การศึกษานี้แสดงให้เห็นว่าควรกำหนดอัตราลดสำหรับผลลัพธ์ทางสุขภาพต่ำกว่าอัตราลดสำหรับต้นทุน โดยที่ควรพิจารณาอัตราลดที่แตกต่างกันสำหรับชนิดของโรคที่แตกต่างกัน นอกจากนี้ การกำหนดอัตราลดสำหรับเงินและผลลัพธ์ทางสุขภาพที่แตกต่างกันมีความสำคัญต่อการประเมินเทคโนโลยีด้านสุขภาพ | en_US |
Appears in Collections: | PHARMACY: Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
611051017-JIRAWIT YADEE.pdf | 1.02 MB | Adobe PDF | View/Open Request a copy |
Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.