Please use this identifier to cite or link to this item: http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/79679
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorพนิดา จันทโสภีพันธ์-
dc.contributor.advisorโรจนี จินตนาวัฒน์-
dc.contributor.authorศิรินันท์ จงอริยะกุลen_US
dc.date.accessioned2024-07-09T10:03:19Z-
dc.date.available2024-07-09T10:03:19Z-
dc.date.issued2024-06-05-
dc.identifier.urihttp://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/79679-
dc.description.abstractCOVID-19 is a respiratory infectious disease that has impacted global public health. Preventing infection is a proactive measure to reduce the severity and mortality rate of the disease, especially among older adults, who are at higher risk of infection and death compared to other groups. The COVID-19 vaccine is an essential tool in preventing COVID-19. Using the Health Belief Model framework, this predictive correlational research aims to 1) determine the intention to receive the COVID-19 vaccine among unvaccinated older adults and 2) identify factors predicting the intention to receive the COVID-19 vaccine among them. These factors include perceived susceptibility to COVID-19, perceived seriousness of COVID-19, perceived benefits of the COVID-19 vaccine, perceived barriers to receiving the vaccine, recommendations from medical personnel, and advice from close individuals. Participants included 120 older adults who had not received a COVID-19 vaccination in Koh Samui District, Surat Thani Province. They were selected through convenience and snowball sampling. Data was collected between April and October 2023 and analyzed using logistic regression analysis. Results demonstrated that: 1. The mean intention to be vaccinated against COVID-19 of unvaccinated older adults in this study was 3.45 (S.D. = 3.07), ranging from 0 to 9. 2. Perceived susceptibility to COVID-19, perceived seriousness of COVID-19, perceived benefits of COVID-19 vaccines, perceived barriers to COVID-19 vaccination, received recommendations from health care providers, and advice from close individuals collectively predicted the intention to receive the COVID-19 vaccine by 22% (Nagelkerke’s R2 = 0.22), χ2 (1, N = 120) = 20.17 (p < 0.01). The Wald Test analysis indicated that perceived susceptibility to COVID-19 significantly predicted the intention to receive the COVID-19 vaccine. The older adults increased perceived susceptibility to COVID-19 was significantly associated with an increased possibility of COVID-19 vaccination intention among older adults (OR = 1.65, 95% CI = 1.22-2.22). Findings from this study provide nurses, medical personnel, and public health policymakers with guidelines for designing services and strategies to encourage older adults who have not yet been vaccinated to receive the COVID-19 vaccine in order to reduce infection rates and mortality among older adults.en_US
dc.language.isootheren_US
dc.publisherเชียงใหม่ : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่en_US
dc.titleปัจจัยทำนายความตั้งใจในการฉีดวัคซีนโควิด-19 ของผู้สูงอายุที่ยังไม่เคยฉีดวัคซีนในภาคใต้ของประเทศไทยen_US
dc.title.alternativeFactors predicting COVID-19 vaccination intention of unvaccinated older adults in Southern Thailanden_US
dc.typeThesis
thailis.controlvocab.thashวัคซีนโควิด-19-
thailis.controlvocab.thashผู้สูงอายุ-
thailis.controlvocab.thashโควิด-19 (โรค) -- การให้วัคซีน-
thailis.controlvocab.thashโรคติดต่อ -- การป้องกัน-
thesis.degreemasteren_US
thesis.description.thaiAbstractโรคโควิด-19 เป็นโรคในระบบทางเดินหายใจ ที่ส่งผลกระทบต่อระบบสาธารณสุขทั่วโลก การป้องกันจากการติดเชื้อเป็นการแก้ปัญหาเชิงรุก เพื่อลดความรุนแรง และลดอัตราตายจากโรค โดยเฉพาะอย่างยิ่งในผู้สูงอายุที่เป็นกลุ่มเสี่ยงจากการติดเชื้อและและเสียชีวิตมากกว่ากลุ่มอื่น วัคซีนโควิด-19 เป็นเครื่องมือสำคัญที่ใช้ในการป้องกันโรคโควิด-19 การวิจัยแบบหาความสัมพันธ์เชิงทำนายครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษาความตั้งใจในการฉีดวัคซีนโควิด-19 ของผู้สูงอายุที่ยังไม่เคยได้รับวัคซีนโควิด-19 และ 2) ศึกษาปัจจัยทำนายความตั้งใจในการฉีดวัคซีนโควิด-19 ในผู้สูงอายุที่ยังไม่เคยฉีดวัคซีนโควิด-19 ได้แก่ การรับรู้โอกาสเสี่ยงของการเป็นโรคโควิด-19 การรับรู้ความรุนแรงของโรคโควิด-19 การรับรู้ประโยชน์ของวัคซีนโควิด-19 การรับรู้อุปสรรคของการได้รับวัคซีนโควิด-19 การได้รับคำแนะนำเรื่องการได้รับวัคซีนจากบุคลากรทางการแพทย์ และ การได้รับคำแนะนำเรื่องการได้รับวัคซีนจากบุคคลใกล้ชิดโดยใช้กรอบแนวคิดแบบแผนความเชื่อด้านสุขภาพ HBM กลุ่มตัวอย่างคือ ผู้สูงอายุที่ยังไม่เคยได้รับการฉีดวัคซีนโควิด-19 ในอำเภอเกาะสมุย จังหวัดสุราษฎร์ธานี จำนวน 120 ราย ผู้วิจัยเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบตามความสะดวกและการบอกต่อของผู้เข้าร่วมวิจัยแบบสโนว์บอลล์ เก็บข้อมูลระหว่างเดือนเมษายน ถึงเดือนตุลาคม พ.ศ. 2566 และวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้การวิเคราะห์ความถดถอยโลจิสติค (logistic regression analysis) ผลการวิจัยพบว่า 1. ผู้สูงอายุที่ไม่เคยฉีดวัคซีนโควิด-19 มีคะแนนความตั้งใจในการเข้ารับการฉีดวัคซีนโควิด-19 คะแนนเฉลี่ย เท่ากับ 3.45 (S.D.= 3.07) โดยมีคะแนนต่ำสุด 0 คะแนน และคะแนนสูงสุด 9 คะแนน 2. การรับรู้โอกาสเสี่ยงของการเป็นโรคโควิด-19 การรับรู้ความรุนแรงของโรคโควิด-19 การรับรู้ประโยชน์ของวัคซีนโควิด-19 การรับรู้อุปสรรคของการได้รับวัคซีนโควิด-19 การได้รับคำแนะนำเรื่องการได้รับวัคซีนจากบุคลากรทางการแพทย์ และการได้รับคำแนะนำเรื่องการได้รับวัคซีนจากบุคคลใกล้ชิด สามารถร่วมกันทำนายความตั้งใจในการฉีดวัคซีนโควิด-19 ได้ร้อยละ 22 (Nagelkerke’s R2 = 0.22) อย่างมีนัยสำคัญทาง สถิติ χ2 (1, N = 120) = 20.17 (p < 0.01) ผลการวิเคราะห์ค่า Wald Test พบว่า การรับรู้โอกาสเสี่ยงของการเป็นโรคโควิด-19 สามารถทำนายความตั้งใจในการฉีดวัคซีนวัคซีนโควิด-19 ได้ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ผู้สูงอายุที่มีการรับรู้โอกาสเสี่ยงของการเป็นโรคโควิด-19 ที่เพิ่มขึ้น มีโอกาสมีความตั้งใจในการฉีดวัคซีนโควิด-19 สูงขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (OR = 1.65, 95% CI = 1.22-2.22) ผลการศึกษาครั้งนี้ ทำให้ พยาบาล บุคลากรทางการแพทย์ และผู้ออกแบบนโยบายสาธารณสุข ได้แนวทางในการพัฒนาออกแบบบริการ และกลยุทธ์ต่าง ๆ ในการส่งเสริมให้ผู้สูงอายุที่ยังไม่เคยรับการฉีดวัคซีนเข้ารับบริการฉีดวัคซีนโควิด-19 เพื่อลดอัตราการติดเชื้อและการเสียชีวิตในผู้สูงอายุen_US
Appears in Collections:NURSE: Theses



Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.