Please use this identifier to cite or link to this item: http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/79670
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorNattasak Krittigamas-
dc.contributor.authorPattamaporn Vassanacharoenen_US
dc.date.accessioned2024-07-09T00:58:32Z-
dc.date.available2024-07-09T00:58:32Z-
dc.date.issued2024-02-21-
dc.identifier.urihttp://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/79670-
dc.description.abstractSoybean is a plant that has oil as the main component, thus easily causing the seeds deteriorate. Therefore, it is difficult to preserve them over a season to use as good quality seeds. This research focuses on finding a method for improving the quality of soybean seeds that have been stored across seasons by using the seed priming technique with Gibberellic acid (GA3) at various concentrations together with PEG6000 at a water potential -1.2 MPa in three varieties of soybean: Chiang Mai 60 (CM 60), Chiang Mai 2 (CM 2) and, SJ 5, were planted in the dry season and stored for 6 months. The research operation consists of three experimental. First, to study the effect of priming on seed quality. Testing was carried out on three varieties: CM 60, CM 2, and SJ 5, were planted in the dry season and stored for 6 months. They were primed with GA3 solution at concentrations of 10, 20 and 30 ppm with PEG6000 at a water potential -1.2 MPa for 5 hours. The result show that seed priming with GA3 at a concentration of 20 ppm with PEG6000 at a water potential -1.2 MPa for a period of 5 hours is suitable for CM 60 and CM 2 varieties and 30 ppm in SJ 5 variety. The priming resulted in increased seed germination, field emergence and seed vigor compared to unprimed seeds. It was also found that Priming reduces the germination time of seeds, causing them to germinate faster. Second, study of water absorption rate. and the appropriate time period for priming. The seeds of all three varieties were soaked in three types of solutions: water, gibberellic acid (GA3) solution at a concentration of 30 ppm, and gibberellic acid (GA3) solution at a concentration of 30 ppm. + PEG6000 at a water potential -1.2 MPa of 12 hours. The water uptake rate of soybean seeds in Phase I occurred rapidly during 1-3 hours after soaking. After that, the seeds absorbed more water at a reduced rate and began to enter Phase II in the 5th-6th hour in the water solution. But in the GA3 + PEG6000 solution at a water potential -1.2 MPa, the entry into Phase II occurred between the 6th and 8th hours. Soaking the seeds in the GA3 solution together with PEG6000 at a water potential -1.2 MPa for 5 hours caused the seeds to have Germination increased compared to unprimed seeds. The last one, the effects on enzyme activity: GA3 solution at a concentration of 30 ppm promoted enzyme activity, with β-amylase having the highest response.en_US
dc.language.isoenen_US
dc.publisherChiang Mai : Graduate School, Chiang Mai Universityen_US
dc.titleEfficiency of Gibberellic Acid (GA3) priming on soybean seed imbibition and seedling performanceen_US
dc.title.alternativeประสิทธิภาพของการเตรียมความพร้อมของเมล็ดพันธุ์ถั่วเหลืองด้วยกรดจิบเบอเรลลิคแอซิค (GA3) ต่อการดูดน้ำและสมรรถภาพของต้นกล้าen_US
dc.typeThesis
thailis.controlvocab.lcshSoybean-
thailis.controlvocab.lcshSoybean -- Seeds-
thailis.controlvocab.lcshGibberellic Acid-
thailis.controlvocab.lcshPlant regulators-
thesis.degreedoctoralen_US
thesis.description.thaiAbstractถั่วเหลืองเป็นพืชที่มีองค์ประกอบหลักเป็นน้ำมันจึงทำให้เกิดการเสื่อมคุณภาพของเมล็ดพันธุ์ได้ง่าย จึงทำให้มีปัญหาในการเก็บรักษาข้ามฤดูเพื่อใช้เป็นเมล็ดพันธุ์คุณภาพดี การวิจัยนี้มุ่งเน้นการศึกษาวิธีการยกระดับคุณภาพเมล็ดพันธุ์ถั่วเหลืองที่ผ่านการเก็บรักษาข้ามฤดูที่มีคุณภาพต่ำให้สามารถงอกเป็นต้นกล้าปกติและเจริญเติบโตในแปลงได้ โดยใช้เทคนิค seed priming ด้วย สารละลายกรดจิบเบอเรลลิค (GA3) ที่ความเข้มข้นต่างๆ ร่วมกับสารโพลีเอทธิลีนไกลคอล (PEG6000) ที่ชลศักย์ -1.2 MPa ในถั่วเหลืองจำนวน 3 พันธุ์ ได้แก่ พันธุ์เชียงใหม่ 60 พันธุ์เชียงใหม่ 2 และพันธุ์ สจ 5 ที่ปลูกในช่วงปลูกฤดูแล้งและเก็บรักษาเป็นระยะเวลา 6 เดือน การดำเนินงานวิจัยประกอบไปด้วย การทดลองที่ 1 ศึกษาผลของการทำไพร์มมิ่งต่อคุณภาพเมล็ดพันธุ์ ดำเนินการทดสอบในถั่วเหลือง 3 พันธุ์ ได้แก่ พันธุ์เชียงใหม่ 60 พันธุ์เชียงใหม่ 2 และพันธุ์ สจ 5 ที่ทำการปลูกในช่วงปลูกฤดูแล้งและเก็บรักษาเป็นระยะเวลา 6 เดือน นำมาทำไพร์มมิ่งด้วยสารละลายกรดจิบเบอเรลลิค ที่ความเข้มข้น 10 20 และ 30 ppm ร่วมกับสารโพลีเอทธิลีนไกลคอล 6000 ที่ชลศักย์-1.2 MPa เป็นระยะเวลา 5 ชั่วโมง พบว่า การทำไพร์มมิ่งด้วยกรดจิบเบอเรลลิค ที่ความเข้มข้น 20 ppm ร่วมกับสารโพลีเอทธิลีนไกลคอล 6000ที่ชลศักย์-1.2 MPa เป็นระยะเวลา 5 ชั่วโมง เหมาะสมสำหรับพันธุ์เชียงใหม่ 60 และพันธุ์เชียงใหม่ 2 ส่วนในพันธุ์ สจ 5 ตอบสนองได้ดีที่กรรมวิธีการทำไพร์มมิ่งด้วยสารละลาย กรดจิบเบอเรลลิค ที่ความเข้มข้น 30 ppm ผลต่อคุณภาพเมล็ดพันธุ์ พบว่า การทำไพร์มมิ่งมีผลให้เปอร์เซ็นต์การงอก ความสามารถในการงอกได้ในแปลง และความแข็งแรงของเมล็ดเพิ่มขึ้น ระยะเวลาในการงอกของเมล็ดลดลง ทำให้เมล็ดงอกได้เร็วขึ้น การทดลองที่ 2 ศึกษาอัตราการดูดน้ำและระยะเวลาที่เหมาะสมในการทำไพร์มมิ่ง โดยนำเมล็ดพันธุ์ถั่วเหลืองทั้ง 3 พันธุ์มาแช่ในสารละลาย 3 ชนิด ได้แก่ น้ำ สารละลายกรดจิบเบอเรลลิก ที่ความเข้มข้น 30 ppm และ สารละลายกรดจิบเบอเรลลิก ที่ความเข้มข้น 30 ppm + สารโพลี เอทธิลีนไกลคอล 6000 ที่ชลศักย์-1.2 MPa เป็นระยะเวลา 12 ชั่วโมง พบว่า อัตราการดูดน้ำของเมล็ดในระยะที่ 1 เกิดขึ้นอย่างอย่างรวดเร็ว ในช่วง 1-3 ชั่วโมงหลังแช่ หลังจากนั้นเมล็ดมีดูดน้ำเพิ่มในอัตราที่ถอดถอยและเริ่มเข้าสู่ระยะที่ 2 ในชั่วโมงที่ 5-6 ในสารละลายน้ำ แต่ในสารละลายกรดจิบเบอเรลลิค + โพลีเอทธิลีนไกลคอล 6000 ที่ชลศักย์ -1.2 MPa การเข้าสู่ระยะที่ 2 อยู่ระหว่างชั่วโมงที่ 6-8 การแช่เมล็ดในสารละลายกรดจิบเบอเรลลิค ร่วมกับ สารโพลีเอทธิลีนไกลคอล 6000ที่ชลศักย์-1.2 MPa ที่ระยะเวลา 5 ชั่วโมง ทำให้เมล็ดมีความงอกเพิ่มขึ้นเมื่อเปรียบเทียบกับเมล็ดที่ไม่ทำไพร์มมิ่ง และการทดลองที่ 3 ศึกษาผลต่อการเกิดกิจกรรมของเอนไซม์ พบว่า สารละลายกรดจิบเบอเรลลิคที่ความเข้มข้น 30 ppm ส่งเสริมให้การเกิดกิจกรรมของเอนไซม์เพิ่มขึ้นโดยเอนไซม์ β-amylase มีการตอบสนองสูงสุดen_US
Appears in Collections:AGRI: Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
610851010-PATTAMAPORN VASSANACHAROEN.pdf3.74 MBAdobe PDFView/Open    Request a copy


Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.