Please use this identifier to cite or link to this item: http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/79642
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorมยุลี สำราญญาติ-
dc.contributor.advisorกวีศักดิ์ จิตตวัฒนรัตน์-
dc.contributor.advisorจันทร์ฉาย โยธาใหญ่-
dc.contributor.authorนิลุบล ศรัณยพัชร์en_US
dc.date.accessioned2024-07-07T03:26:06Z-
dc.date.available2024-07-07T03:26:06Z-
dc.date.issued2024-03-
dc.identifier.urihttp://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/79642-
dc.description.abstractDeep vein thrombosis in critically ill patients is a harmful complication. It induces pulmonary embolism and sudden death. Nurses have an important role to improve venous circulation in femoral vein to reduce the risk of this condition. This experimental study, using a pretest-posttest control group and convergent parallel design, aimed to examine the effect of a deep vein thrombosis prevention program on venous blood flow velocity and deep vein thrombosis ratio among critically ill surgical patients. Data was collected from critically ill surgical patients who had a moderate to high risk of deep vein thrombosis (Autar deep vein thrombosis risk assessment score > 11). Simple random sampling by lottery was used to assigned 50 participants into an experimental or a control group with 25 participants in each group. The research instrument was composed of 1) the deep vein thrombosis prevention program for critically ill surgical patients, and 2) the outcomes instrument composed of a venous blood flow velocity record form, which was measured by doppler ultrasound, and a deep vein thrombosis record form. Descriptive statistics and repeated measurement analysis of variance (ANOVA) were used for data analysis. The results revealed that: 1. The mean of femoral venous blood flow velocity in the control group on day 1, day 3, and day 6 showed no difference (p = 1.00) but was statistically significantly different in the experimental group between day 1 and day 6, and day 3 and day 6 (p = .001 and p = .004). 2. The means of femoral venous blood flow velocity between the control group and the experimental group were statistically significantly different (p = .001) for all three days of measurement (day 1, day 3, and day 6). 3. There was no deep vein thrombosis incidence in either group. The results of this study show that implementation of this program can increase femoral venous blood flow velocity, which can prevent deep vein thrombosis among critically ill patients.en_US
dc.language.isootheren_US
dc.publisherเชียงใหม่ : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่en_US
dc.titleผลของโปรแกรมการป้องกันลิ่มเลือดอุดตันหลอดเลือดดำส่วนลึกต่อความเร็วในการไหลเวียนของเลือดดำและสัดส่วนการเกิดลิ่มเลือดอุดตันหลอดเลือดดำส่วนลึกในผู้ป่วยวิกฤตศัลยกรรมen_US
dc.title.alternativeEffects of the deep vein thrombosis prevention program on venous blood flow velocity and deep vein thrombosis ratio among critically ill surgical patientsen_US
dc.typeThesis
thailis.controlvocab.thashฮีโมฟีเลีย -- การรักษา-
thailis.controlvocab.thashหลอดเลือดดำ-
thailis.controlvocab.thashผู้ป่วย -- การดูแล-
thesis.degreemasteren_US
thesis.description.thaiAbstractการเกิดลิ่มเลือดอุดตันในหลอดเลือดดำส่วนลึกในผู้ป่วยวิกฤต เป็นภาวะแทรกซ้อนทำให้เกิดอันตรายเนื่องจากทำให้เกิดลิ่มเลือดอุดตันหลอดเลือดในปอดและส่งผลให้ผู้ป่วยเสียชีวิตอย่างฉับพลันได้ พยาบาลมีบทบาทสำคัญในการส่งเสริมการไหลเวียนของหลอดเลือดดำที่ขาหนีบเพื่อลดความเสี่ยงในการเกิดภาวะดังกล่าว วิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงทดลอง โดยวัดผลก่อนและหลังการทดลอง (pretest-posttest control group design) วิจัยแบบพร้อมกันทั้ง 2 กลุ่ม (convergent parallel design) เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมการป้องกันลิ่มเลือดอุดตันหลอดเลือดดำส่วนลึกในผู้ป่วยวิกฤตศัลยกรรม รวบรวมข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างผู้ป่วยวิกฤตศัลยกรรมที่มีความเสี่ยงในการเกิดลิ่มเลือดอุดตันหลอดเลือดดำส่วนลึกระดับกลาง และสูง (คะแนนจากแบบประเมินความเสี่ยงในการเกิดภาวะลิ่มเลือดอุดตันหลอดเลือดดำออทาร์ (Autar scale assessment) > 11 คะแนน) คัดเลือกกลุ่มตัวอย่างโดยการสุ่มอย่างง่าย ด้วยวิธีจับสลากเข้ากลุ่มควบคุม และกลุ่มทดลองจำนวน 25 คนต่อกลุ่ม รวมทั้งหมด 50 คน เครื่องมือดำเนินการวิจัย ได้แก่ 1) โปรแกรมการป้องกันลิ่มเลือดอุดตันหลอดเลือดดำส่วนลึกในผู้ป่วยวิกฤตศัลยกรรม 2) แบบบันทึกผลลัพธ์ ประกอบด้วย แบบบันทึกความเร็วการไหลเวียนเลือดดำที่ขาหนีบซึ่งวัดด้วยเครื่องอัลตร้าซาวน์ดอปเปอร์ และแบบบันทึกการเกิดลิ่มเลือดอุดตันหลอดเลือดดำส่วนลึก วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา และการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียวแบบวัดซ้ำ (Repeated Measurement Analysis of Variance [ANOVA]) ผลการวิจัยพบว่า 1. ค่าเฉลี่ยความเร็วในการไหลเวียนของเลือดดำบริเวณขาหนีบ ในกลุ่มควบคุมจากการวัดวันที่ 1 วันที่ 3 และวันที่ 6 ไม่แตกต่างกัน (p = 1.00) แต่ในกลุ่มทดลอง จากการวัดวันที่ 1 กับวันที่ 6 และวันที่ 3 กับวันที่ 6 แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p = .001 และ .004 ตามลำดับ) 2. ค่าเฉลี่ยความเร็วในการไหลเวียนของเลือดดำบริเวณขาหนีบระหว่างกลุ่มควบคุมและกลุ่มทดลองจากการวัดทั้งสามวัน (วันที่ 1 วันที่ 3 และวันที่ 6) มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p = .001) 3. กลุ่มควบคุมและกลุ่มทดลองไม่เกิดลิ่มเลือดอุดตันหลอดเลือดดำส่วนลึก ผลการวิจัยครั้งนี้แสดงให้เห็นว่า โปรแกรมการป้องกันลิ่มเลือดอุดตันหลอดเลือดดำส่วนลึกในผู้ป่วยวิกฤตศัลยกรรม ทำให้การไหลเวียนของเลือดดำที่ขาหนีบเพิ่มขึ้น จึงน่าจะสามารถป้องกันการเกิดลิ่มเลือดอุดตันหลอดเลือดดำส่วนลึกในผู้ป่วยวิกฤตได้en_US
Appears in Collections:NURSE: Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
621231070-นิลุบล ศรัณยพัชร์.pdf10.27 MBAdobe PDFView/Open    Request a copy


Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.