Please use this identifier to cite or link to this item: http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/79636
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorเทพินทร์ พัชรานุรักษ์-
dc.contributor.advisorอารตี อยุทธคร-
dc.contributor.authorพรนิภา คชรินทร์en_US
dc.date.accessioned2024-07-06T11:26:04Z-
dc.date.available2024-07-06T11:26:04Z-
dc.date.issued2024-02-20-
dc.identifier.urihttp://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/79636-
dc.description.abstractThe thesis on Social Capital, Meanings of Aging and Taking Care of the Elderly in the Family was conducted through qualitative research. The purpose of this study is to investigate the valuing meaning of aging, as well as the relationship between social capital and the valuing meaning of aging and elderly care and support within families. The data was collected through the interview of 15 elderly caregivers in Neon Khiri Village, Tha Kham subdistrict, Tha Sae district, Chumphon Province. As for elderly caregiving in this study, the caregiving patterns are found to include, 1) caregiving in early and late stages, 2) caregiving by children and spouses, 3) caregiving by son and daughter, 4) sons and the caregiving role for female elderly and 5) characteristics of the living arrangements of caregivers and the elderly. The research findings revealed that caregivers perceive the meaning of aging based on their perceptions and experiences, both from caregiving situations and personal experiences. The meaning was perceived in 5 characteristics; 1) relationship between aging and physical and deteriorating health, 2) relationship between aging and the remaining time and lifespan, 3) relationship between aging and knowledge and accumulated experiences, 4) being the emotional support and focal point of the family and 5) defining aging in terms of active aging. For social capital and elderly care within the family, it is found that for cultural capital and elderly care by caregivers, it is still a matter of responsibility under the ethics and values that have been inherited in Thai society. Under the support of care provided by social capital, the caregiver maintains a close-knit relationship with family members, allowing the caregiver to have less burden of care as each family member performs their own part in supporting the care of the elderly. There are also neighbors and members of the village who all are familiar with one another, which is the common pattern of relationships in the context of a rural society where community members have close relationships that help and support one another clearly through assistance, support, and visits as well as asking for help during the illness. As for the economic capital, it was found to be a form of support for the elderly that derived from other forms of support. The burden of responsibility and personal expenses on the majority of caregivers often restrict their ability to financially support the elderly, thus providing support in alternative ways. The suggestions of this study are as follow; 1) The relationship between the caregiver and neighbor is the relationship with the exchange of generosity where people are helping one another, being both givers and receivers. This generosity creates mutual support in the long term, creating support and care in various aspects and enabling caregivers and the elderly to live in society without feeling isolated. 2) Ultimately, the elderly need someone to take care of them. Therefore, it is essential to encourage and support the positive values regarding aging as appropriate to the period of time. Also, family relationships should be strengthened in order to create the sense of duty that arises from love, attachment, and support within the family, whether it results in the elderly receiving care or in caregivers receiving assistance from other family members, thereby lightening the burden of caregiving, and 3) The elderly were being taken care of by a wife who herself is soon to be an elderly person. The situation where the elderly care for each other is concerning. Authorities and related agencies should have a plan to regularly monitor households with elderly individuals to understand their living conditions and caregiving situation of the caregivers in order to provide assistance if caregivers encounter problems during the caregiving process.en_US
dc.language.isootheren_US
dc.publisherเชียงใหม่ : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่en_US
dc.titleทุนทางสังคม การให้ความหมายความสูงอายุ และการดูแลผู้สูงอายุในครอบครัวen_US
dc.title.alternativeSocial capital, meanings of aging and taking care of the elderly in the familyen_US
dc.typeThesis
thailis.controlvocab.lcshผู้สูงอายุ -- การดูแล-
thailis.controlvocab.lcshผู้สูงอายุ -- การดูแลที่บ้าน-
thesis.degreemasteren_US
thesis.description.thaiAbstractวิทยานิพนธ์เรื่องทุนทางสังคม การให้ความหมายความสูงอายุ และการดูแลผู้สูงอายุในครอบครัว เป็นการศึกษาวิจัยเชิงคุณภาพ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการให้ความหมายความสูงอายุ และความสัมพันธ์ของทุนทางสังคมกับการให้ความหมายความสูงอายุและการดูแลผู้สูงอายุในครอบครัว ใช้การเก็บรวบรวมข้อมูลด้วยวิธีการสัมภาษณ์ผู้ดูแลผู้สูงอายุ ในหมู่บ้านเนินคีรี ตำบลท่าข้าม อำเภอท่าแซะ จังหวัดชุมพร จำนวน 15 คน สำหรับการดูแลผู้สูงอายุในงานศึกษานี้ พบแบบแผนการดูแลที่ประกอบไปด้วย 1) การดูแลผู้สูงอายุในช่วงต้นและช่วงปลาย 2) การดูแลผู้สูงอายุโดยบุตรกับการดูแลโดยภรรยา 3) การดูแลผู้สูงอายุโดยบุตรชายและบุตรหญิง 4) บุตรชายกับการดูแลผู้สูงอายุหญิง และ 5) ลักษณะการอยู่อาศัยของผู้ดูแลและผู้สูงอายุ ผลการศึกษาพบว่าผู้ดูแลผู้สูงอายุให้ความหมายความสูงอายุจากการรับรู้และประสบการณ์ของผู้ดูแลแต่ละคนทั้งจากประสบการณ์บนสถานการณ์การดูแลและประสบการณ์ส่วนตัว ซึ่งพบการให้ความหมายความสูงอายุใน 5 ลักษณะ คือ 1) การให้ความหมายความสูงอายุสัมพันธ์กับการเปลี่ยนแปลงทางร่างกายและสุขภาพที่เสื่อมลง 2) การให้ความหมายความสูงอายุที่สัมพันธ์กับช่วงเวลาและเวลาชีวิตที่เหลือน้อยลง 3) การให้ความหมายความสูงอายุ ที่สัมพันธ์กับการมีความรู้ และการสั่งสมประสบการณ์ 4) การเป็นที่พึ่งทางจิตใจและเป็นศูนย์รวมของครอบครัว และ 5) การให้ความหมายความสูงอายุในลักษณะ active aging สำหรับทุนทางสังคมกับการดูแลผู้สูงอายุในครอบครัวพบว่า สำหรับทุนทางวัฒนธรรมกับการดูแลผู้สูงอายุของผู้ดูแลยังคงเป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับหน้าที่ ความรับผิดชอบ ภายใต้ศีลธรรม จริยธรรม และค่านิยมที่ยึดถือปฏิบัติสืบต่อกันมา ภายใต้การได้รับการสนับสนุนการดูแลจากทุนทางสังคมที่ผู้ดูแลยังคงมีเครือข่ายของสมาชิกในครอบครัวที่แน่นแฟ้น ทำให้ผู้ดูแลได้รับการแบ่งเบาภาระการดูแลจากการที่สมาชิกในครอบครัวแต่ละคนที่ต่างก็ทำหน้าที่ของตนเองในการเกื้อหนุนผู้สูงอายุ รวมถึงผู้ดูแลยังมีเพื่อนบ้าน และสมาชิกในหมู่บ้าน ที่เป็นบุคคลที่รู้จักคุ้นเคยกัน ซึ่งเป็นไปตามแบบแผนความสัมพันธ์ของบริบทของสังคมชนบท ที่สมาชิกในชุมชนยังมีความสัมพันธ์ที่สนิทสนม ช่วยเหลือเกื้อกูล และพึ่งพาอาศัยซึ่งกันและกัน และสำหรับทุนทางเศรษฐกิจ พบว่าเป็นการเกื้อหนุนผู้สูงอายุที่พบน้อยกว่าการสนับสนุนด้านอื่น ๆ จากภาระรับผิดชอบ และภาระในการใช้จ่ายส่วนตัวของผู้ดูแลส่วนใหญ่ ที่ทำให้ไม่สามารถเกื้อหนุนผู้สูงอายุเป็นเงินได้ จึงเกิดการเกื้อหนุนในด้านอื่น ๆ ทดแทน ข้อเสนอแนะจากงานศึกษานี้ คือ 1) ความสัมพันธ์ของผู้ดูแลผู้สูงอายุกับเพื่อนบ้าน เป็นความสัมพันธ์ที่มีการผลัดเปลี่ยนกันเป็นผู้ให้และผู้รับ มีการแลกเปลี่ยน และช่วยเหลือซึ่งกันและกัน ทำให้เกิดการเกื้อหนุนกันไปในระยะยาว ซึ่งจะเป็นผลให้ผู้ดูแลและผู้สูงอายุได้รับการสนับสนุนดูแลในด้านต่าง ๆ และสามารถอยู่ในสังคมได้อย่างไม่โดดเดี่ยว 2) ท้ายที่สุดแล้วผู้สูงอายุก็จำเป็นที่จะต้องมีผู้ดูแล ดังนั้นจึงควรส่งเสริมการสร้างความสัมพันธ์ที่เข้มแข็งในครอบครัว เพื่อให้เกิดการทำหน้าที่ดูแลผู้ดูแลผู้สูงอายุบนความรัก ความผูกพัน และเพื่อให้เกิดการช่วยเหลือดูแลผู้สูงอายุต่อไป ไม่ว่าจะเป็นผลให้ผู้สูงอายุได้รับการดูแล หรือเป็นผลให้ผู้ดูแลได้รับการแบ่งเบาภาระการดูแลจากสมาชิกในครอบครัว และ 3) การดูแลผู้สูงอายุโดยภรรยาซึ่งเป็นผู้สูงอายุด้วยกันเอง และภรรยาที่จะเป็นผู้สูงอายุในอีกไม่กี่ปีข้างหน้า จะเป็นสถานการณ์การดูแลที่น่าเป็นห่วง เนื่องจากเป็นการดูแลผู้สูงอายุด้วยผู้สูงอายุด้วยกันเอง เจ้าหน้าที่และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องจึงควรมีแผนในการติดตามบ้านที่มีผู้สูงอายุเป็นระยะ เพื่อให้รับรู้สถานการณ์ความเป็นอยู่ และสถานการณ์การดูแลของผู้ดูแลผู้สูงอายุอย่างเป็นปัจจุบัน เพื่อที่จะสามารถให้การช่วยเหลือได้ หากผู้ดูแลกำลังเผชิญปัญหาในระหว่างการดูแลen_US
Appears in Collections:SOC: Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
พรนิภา คชรินทร์ 640431017.pdf42.02 MBAdobe PDFView/Open    Request a copy


Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.