Please use this identifier to cite or link to this item:
http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/79626
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | พิชญลักษณ์ พิชญกุล | - |
dc.contributor.author | ปิยะธิดา ใจแก้ว | en_US |
dc.date.accessioned | 2024-07-06T07:41:39Z | - |
dc.date.available | 2024-07-06T07:41:39Z | - |
dc.date.issued | 2023-12-21 | - |
dc.identifier.uri | http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/79626 | - |
dc.description.abstract | This research aimed to study Thai tourist behavior in using spa service in Chiang Mai, utilizing theory relevant to consumer behavior. Data were collected by the questionnaires completed by 400 Thai tourists using spa service in Chiang Mai. Descriptive statistics was assisted to identify frequency, percentages, and mean. Chi-Square Test regarded as Statistical inference was also employed to determine a relationship between demographic factors and Thai tourist behavior in using spa service in Chiang Mai. In terms of general information of the respondents, the data showed that the majority of the respondents (78.1%) categorized by gender were female. Most of them (78.9%) were between 31-40 years old. Also, almost all of them (99.8%) have the highest academic qualification as Bachelor’s Degree or Equivalent. Moreover, most of them (98.3%) worked as a private sector employee and 91.5% of them had a monthly income between 20,001 – 30,000 Baht. Regarding the samples behavior in using spa service in Chiang Mai, the study revealed that most of the samples (40.2%) went to have Thai massage. Also, the main purpose of using spa service (38.3%) was to relieve muscle inflammation. Most of the respondents (68.2%) had spa treatments at their regular spa while almost all of them (91%) stated that people involved in decision-making to go to spa were themselves. Moreover, the frequency of doing spa treatments among the majority of them (90%) was one to six times a year. Most of them (77.3%) used spa service on weekend and 75.4% of them went to spa during 12.01 - 4.00 pm. Additionally, the samples mostly had spa treatments for one to two hours at each time (90.8%) and around two thirds of them (64.4%) paid 1,001 – 2,000 Baht for each spa session. They also preferred Day Spa program in the percentage of 83.3%. Furthermore, most of them (82.6%) received news and information about spa through social media platforms; Facebook, Instagram, Twitter, etc. In aspect of a relationship between demographic factors and Thai tourist behavior in using spa service in Chiang Mai, it was found that they were relevant to each other in some aspects including gender, age, monthly income, behavior in experiencing spa services; Thai massage, foot massage, milk soak, their purpose of going to spa; to reduce muscle inflammation, people involved in decision making, frequency of using the service, and how they receive information. According to the results from Marketing Mix analysis, the respondents put the importance on Marketing Mix elements consisting of product, promotion, process, physical evidence, people, place, and price accordingly. | en_US |
dc.language.iso | other | en_US |
dc.publisher | เชียงใหม่ : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ | en_US |
dc.title | พฤติกรรมการใช้บริการสปาในจังหวัดเชียงใหม่ของนักท่องเที่ยวชาวไทย | en_US |
dc.title.alternative | Behavior of Thai tourists towards using spa services in Chiang Mai Province | en_US |
dc.type | Independent Study (IS) | |
thailis.controlvocab.thash | สปา -- เชียงใหม่ | - |
thailis.controlvocab.thash | นักท่องเที่ยว | - |
thailis.controlvocab.thash | พฤติกรรมผู้บริโภค | - |
thesis.degree | master | en_US |
thesis.description.thaiAbstract | การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาพฤติกรรมการใช้บริการสปาในจังหวัดเชียงใหม่ของนักท่องเที่ยวชาวไทย โดยใช้ทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับพฤติกรรมผู้บริโภค รวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามจากนักท่องเที่ยวชาวไทยที่ใช้บริการสปาในจังหวัดเชียงใหม่ จำนวน 400 ราย โดยวิเคราะห์สถิติเชิงพรรณนา ประกอบด้วย ความถี่ (Frequency) ค่าร้อยละ (Percentage) และ ค่าเฉลี่ย (Mean) และสถิติเชิงอนุมาน โดยใช้สถิติการวิเคราะห์ความสัมพันธ์ (Chi-Square Test) ระหว่างปัจจัยด้านประชากรศาสตร์กับพฤติกรรมการใช้บริการสปาในจังหวัดเชียงใหม่ของนักท่องเที่ยวชาวไทย ผลการศึกษาข้อมูลทั่วไปของผู้ตอบแบบสอบถาม พบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง ร้อยละ 78.1 โดยช่วงอายุที่มากที่สุดอยู่ในช่วงระหว่าง 31-40 ปี ร้อยละ 78.9 ซึ่งระดับการศึกษาสูงสุดของกลุ่มตัวอย่างมีสัดส่วนที่มากที่สุดคือ ระดับปริญญาตรีหรือเทียบเท่า ร้อยละ 99.8 ส่วนใหญ่มีอาชีพเป็นพนักงานบริษัทเอกชน ร้อยละ 98.3 และมีรายได้ต่อเดือนระหว่าง 20,001 – 30,000 บาท ร้อยละ 91.5 ผลกาศึกษาพฤติกรรมการใช้บริการสปาในจังหวัดเชียงใหม่ของกลุ่มตัวอย่าง พบว่า ส่วนใหญ่เลือกใช้บริการนวดแผนไทย ร้อยละ 40.2 โดยมีวัตถุประสงค์ในการใช้บริการเพื่อคลายความปวดเมื่อย ร้อยละ 38.3 โดยเหตุผลในการเข้าใช้บริการสปามาจากการเป็นร้านประจำ ร้อยละ 68.2 ซึ่งผู้มีส่วนร่วมในการตัดสินใจส่วนใหญ่จะเป็นด้วยตนเอง ร้อยละ 91 โดยมีความถี่ในการเข้าใช้บริการสปาอยู่ที่ 1 – 6 ครั้งต่อปี ร้อยละ 90 โดยที่วันที่เข้ารับบริการสปาส่วนใหญ่จะเป็นวันหยุดสุดสัปดาห์ ร้อยละ 77.3 โดยมีช่วงเวลาในการเข้าใช้บริการช่วง 12.01 - 16.00 น. ร้อยละ 75.4 ซึ่งมีระยะเวลาในการเข้าใช้บริการสปาที่ครั้งละ 1-2 ชั่วโมง ร้อยละ 90.8 โดยมีการจ่ายค่าบริการต่อครั้งที่ระหว่าง 1,001 – 2,000 บาท ร้อยละ 64.4 ซึ่งส่วนใหญ่ผู้ตอบแบบสอบถามมักจะเลือกใช้ประเภทสปาแบบ Day Spa ร้อยละ 83.3 และส่วนใหญ่มักจะได้รับข่าวสารผ่านช่องทางออนไลน์ (เช่น Facebook, Instagram, Twitter เป็นต้น) คิดเป็นสัดส่วนที่มากที่สุด ร้อยละ 82.6 ผลการศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยด้านประชากรศาสตร์สัมพันธ์กับพฤติกรรมการใช้บริการสปาในจังหวัดเชียงใหม่ของนักท่องเที่ยวชาวไทย ผลการศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยด้านประชากรศาสตร์ มีความสัมพันธ์กันในบางด้าน ประกอบด้วย เพศ อายุ และรายได้ต่อเดือน กับพฤติกรรมการใช้บริการสปาในจังหวัดเชียงใหม่ ได้แก่ บริการนวดแผนไทย บริการนวดฝ่าเท้า บริการแช่น้ำนม วัตถุประสงค์เพื่อคลายความปวดเมื่อย ผู้มีส่วนร่วมในการตัดสินใจ ความถี่ในการเข้าใช้บริการ และการรับข้อมูลข่าวสาร ผลการศึกษาส่วนประสมการตลาดบริการต่อการใช้บริการสปาในจังหวัดเชียงใหม่ของนักท่องเที่ยวชาวไทย พบว่าผู้ตอบแบบสอบถามให้ระดับความสำคัญของปัจจัยส่วนประสมการตลาดบริการ ด้านผลิตภัณฑ์ ด้านการส่งเสริมการตลาด ด้านกระบวนการ ด้านการนำเสนอลักษณะทางกายภาพ ด้านบุคคล ด้านสถานที่และช่องทางการจัดจำหน่าย และ ด้านราคา อยู่ในระดับมาก ทุกปัจจัย โดยเรียงตามลำดับจากสำคัญมากที่สุดไปจนถึงน้อยที่สุด | en_US |
Appears in Collections: | BA: Independent Study (IS) |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
641532089-ปิยะธิดา-ใจแก้ว.pdf | 6.93 MB | Adobe PDF | View/Open Request a copy |
Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.