Please use this identifier to cite or link to this item: http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/79598
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorLinchong Pothiban-
dc.contributor.authorPikul Audthiyaen_US
dc.date.accessioned2024-07-01T01:20:14Z-
dc.date.available2024-07-01T01:20:14Z-
dc.date.issued2020-07-08-
dc.identifier.urihttp://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/79598-
dc.description.abstractHypertension is a chronic disease with a highest incidence rate and is a significant cause of death among older persons. Self-management support in this population is an important strategy for disease control and prevention of severe complications. This randomized controlled trial (RCT) aimed to investigate the effect of patient-centered communication program on autonomy and self-management behaviors among older persons with hypertension attending an internal medicine clinic at a university hospital. Sixty participants were selected based on the inclusion criteria and were randomly assigned into equal-sized experimental and control arms. The experimental arm received a patient-centered communication program, while the control arm received usual communication from the hospital staff. Data were collected through interviews before the intervention, at the program ended and 3 months after program completion. The data collection instruments were the Maastricht Personal Autonomy Questionnaire (MPAQ), and Self-Management Behaviors Questionnaire, which had acceptable content validity and reliability. Data were analyzed using descriptive statistics, repeated measures ANOVA and independent t-test.en_US
dc.language.isoenen_US
dc.publisherChiang Mai : Graduate School, Chiang Mai Universityen_US
dc.titleEffects of a patient-centered communication program on autonomy and self-management behaviors among older persons with Hypertensionen_US
dc.title.alternativeผลของโปรแกรมการติดต่อสื่อสารโดยเน้นผู้ป่วยเป็นศูนย์กลางต่อความเป็นอิสระแห่งตน และพฤติกรรมการจัดการตนเองในผู้สูงอายุโรคความดันโลหิตสูงen_US
dc.typeThesis
thailis.controlvocab.lcshHypertension in old age-
thailis.controlvocab.lcshHypertension-
thailis.controlvocab.lcshCommunication program-
thesis.degreedoctoralen_US
thesis.description.thaiAbstractโรคความดันโลหิตสูงเป็นโรคเรื้อรังที่มีอุบัติการณ์การเกิดโรคสูงที่สุด และเป็นสาเหตุสำคัญของการเสียชีวิตในผู้สูงอายุ การสนับสนุนการจัดการตนเองในประชากรกลุ่มนี้เป็นกลยุทธ์สำคัญในการควบคุมโรค และป้องกันการเกิดภาวะแทรกซ้อนรุนแรงได้ การวิจัยเชิงทดลองแบบสุ่มชนิดมีกลุ่มควบคุมนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อทดสอบผลของโปรแกรมการติดต่อสื่อสาร โดยเน้นผู้ป่วยเป็นศูนย์กลางต่อความเป็นอิสระแห่งตน และพฤติกรรมการจัดการตนเองในผู้สูงอายุโรคความดันโลหิตสูงที่เข้ารับการรักษาในคลินิกอายุรกรรมของโรงพยาบาลมหาวิทยาลัยแห่งหนึ่ง กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้สูงอายุโรคความดันโลหิตสูงที่มีคุณสมบัติตามเกณฑ์จำนวน 60 คน และถูกสุ่มเข้ากลุ่มทดลอง และกลุ่มควบคุมในจำนวนเท่ากัน กลุ่มทดลองได้รับโปรแกรมการติดต่อสื่อสาร โดยเน้นผู้ป่วยเป็นศูนย์กลางส่วนกลุ่มควบคุมได้รับการติดต่อสื่อสารตามปกติของโรงพยาบาล เก็บข้อมูลโดยการสัมภาษณ์ก่อนการทดลอง หลังการทดลอง และ 3 เดือนหลังสิ้นสุด โปรแกรมโดยใช้แบบวัดความเป็นอิสระแห่งตนในการดูแลสุขภาพของผู้สูงอายุโรคความดันโลหิตสูง และแบบวัดพฤติกรรมการจัดการตนเองของผู้สูงอายุโรคความดันโลหิตสูง ที่มีค่าความตรงตามเนื้อหา และค่าความเชื่อมั่นที่ยอมรับได้วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติบรรยาย การวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบวัดซ้ำ และสถิติทดสอบค่าที ผลการวิจัยพบว่า กลุ่มทดลองมีความเป็นอิสระแห่งตน และพฤติกรรมการจัดการตนเองสูงกว่าก่อนการเข้าร่วมโปรแกรมตลอดทุกช่วงเวลาของการวัดอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p <.01) นอกจากนี้ยังพบว่าความเป็นอิสระแห่งตน และพฤติกรรมการจัดการตนเองของกลุ่มทดลองสูงกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < .01) ตลอดทุกช่วงเวลาของการวัด ผลจากการศึกษาครั้งนี้ใช้เป็นทางเลือกสำหรับพยาบาลในการส่งเสริมความเป็นอิสระแห่งตนและพฤติกรรมการจัดการตนเองในผู้สูงอายุโรคความดันโลหิตสูง อันจะทำให้ผู้สูงอายุสามารถควบคุมโรคได้อย่างมีประสิทธิภาพen_US
Appears in Collections:NURSE: Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
581251006 พิกุล อุทธิยา.pdf3.26 MBAdobe PDFView/Open    Request a copy


Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.