Please use this identifier to cite or link to this item: http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/79584
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorJamaree Chiengthong-
dc.contributor.advisorAranya Siriphon-
dc.contributor.advisorPaiboon Hengsuwan-
dc.contributor.authorWisut Thongyoien_US
dc.date.accessioned2024-06-27T00:27:48Z-
dc.date.available2024-06-27T00:27:48Z-
dc.date.issued2024-03-
dc.identifier.urihttp://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/79584-
dc.description.abstractThis dissertation aims to (1) investigate the elements that constitute the Lanta Goes Green movement and marine plastic waste management, (2) understand the practices in the assemblage of the Lanta Goes Green movement, (3) investigate the encounter between the heterogeneous sets of interests that mobilize the Lanta Goes Green movement. The study selects Koh Lanta Yai (Koh Lanta district, Krabi province) and related neighboring areas, which are currently facing diverse problems and management of inland and marine plastic waste resulting from intense tourism, modern living activities of the people on the island, and trans-boundary marine plastic waste, blown from other areas. The study draws on the four concepts of socionatural transformation, assemblage thinking, and environmental discourses and multiple governmentalities under the formation and movement of Lanta Goes Green, practices of Koh Lanta residents, and environmental subjects. The study found: First, the formation and emergence of Lanta Goes Green movements related to the provincial movement called Krabi Goes Green and the former foundations in community-based management (mangrove forest and tourism) and waste management practices caused by encounters with natural resources and environmental deterioration, and some tourists who care about the environment. In addition, the increasing waste and environmental discourses have also encouraged concern about waste management to keep the tourist destination peaceful and beautiful. The coal-based projects were considered the significant trigger of the Lanta Goes Green movement. Second, the coming of the “Lanta Goes Green” strategy has strengthened the environmental practices of Lanta residents. The movements have added the implementation of sustainable energy. Solar rooftops were installed in many tourism-related establishments and communities. Inland and marine waste management was expanded to many establishments and ecosystems. Tourism entrepreneurs, foreign and local volunteers, and some villagers have practiced various forms of waste and marine waste management. Various forms of waste management comprise (1) the waste separation in hotels, resorts, restaurants, and communities, (2) the beach cleanup activities led by the private sector and foreign residents and supported by local inhabitants and some LAOs, (3) the processing wet organic waste to the bio-fertilizer, and (4) upcycling and recycling the plastic materials. Three forms of waste management practices are categorized here: environmentally conscious practices, local organizations, and ordinary villagers. Third, the encounter with socionatural transformation, foreign tourists, practices on environmental management, diverse technologies of government, and environmental discourses, Lanta residents have produced multiple environmental subjects through the Lanta Goes Green movement comprising environmental citizens, enterprising farmers, opportunistic environmentalists, and green brokers. The findings of this study show that Lanta residents are more aware of environmental and waste problems, and the practices they created help apply to the overall waste management in Koh Lanta District. However, the increasing number of tourists and unsuitable waste management practiced by most LAOs and ordinary villagers is a big challenge for Lanta people, officials, and external sectors to negotiate an appropriate system to conserve Lanta Island's environment.en_US
dc.language.isoenen_US
dc.publisherChiang Mai : Graduate School, Chiang Mai Universityen_US
dc.titleNegotiating lanta goes green: Assembling management of marine plastic waste in touristic island of Southern Thailanden_US
dc.title.alternativeการต่อรองในกระบวนการเคลื่อนไหวลันตาโกกรีน: การก่อรูปความเคลื่อนไหวการจัดการขยะพลาสติกในแหล่งท่องเที่ยวทางทะเลในภาคใต้ของประเทศไทยen_US
dc.typeThesis
thailis.controlvocab.lcshPlastic marine debris -- Krabi-
thailis.controlvocab.lcshPlastic scrap -- Krabi-
thailis.controlvocab.lcshMarine debris -- Krabi-
thesis.degreedoctoralen_US
thesis.description.thaiAbstractดุษฎีนิพนธ์ฉบับนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ตรวจสอบองค์ประกอบของการเคลื่อนไหวลันตาโกกรีนและการจัดการขยะพลาสติกทะเล (2) ทำความเข้าใจปฏิบัติการของขบวนการเคลื่อนไหวลันตาโกกรีนและ (3) ผลที่เกิดขึ้นจากการเผชิญหน้ากันของกลุ่มผลประโยชน์ที่หลากหลายที่ขับเคลื่อนเกาะลันตาไปสู่เมืองยั่งยืน งานศึกษาเลือกพื้นที่เกาะลันตาและพื้นที่เชื่อมโยง ซึ่งตั้งอยู่ในพื้นที่อำเภอเกาะลันตา จังหวัดกระบี่ ที่กำลังเผชิญหน้ากับปัญหาการจัดการขยะทั้งบนบกและทะเล ทั้งที่เกิดจากกิจกรรมการท่องเที่ยวที่เพิ่มมากขึ้น กิจกรรมการดำรงชีพแบบสมัยใหม่ของผู้คนบนเกาะลันตา และปัญหาขยะพลาสติกทะเลข้ามพรมแดนซึ่งถูกพัดพามาจากที่อื่น งานศึกษาใช้ประโยชน์จาก 4 แนวคิดเพื่อช่วยในการวิเคราะห์ประกอบด้วย การเปลี่ยนผ่านซึ่งมีปฏิสัมพันธ์ซึ่งกันและกันระหว่างธรรมชาติและสังคม การเกาะเกี่ยวกันขององค์ประกอบที่หลากหลาย วาทกรรมทางด้านสิ่งแวดล้อมและแนวคิดการปกครองชีวญาณ เพื่อทำความเข้าใจการก่อรูปและความเคลื่อนไหวของขบวนการเคลื่อนไหวลันตาโกกรีน ปฏิบัติการ และตัวตนทางด้านสิ่งแวดล้อมของผู้คนที่อาศัยอยู่บนเกาะลันตา ซึ่งงานศึกษาในครั้งนี้พบว่า ประการที่หนึ่ง การก่อรูปและการปรากฏขึ้นของบวนการเคลื่อนไหวลันตาโกกรีนมีความเชื่อมโยงกับการเคลื่อนไหวในระดับจังหวัด คือ การขับเคลื่อนกระบี่โกกรีนและรากฐานที่เกิดขึ้นในช่วงก่อนหน้าทั้งในส่วนของการจัดการป่าชายเลนโดยชุมชน การจัดการท่องเที่ยวโดยชุมชน และปฏิบัติการการจัดการขยะบนบกและทางทะเล ซึ่งเกิดขึ้นจากการเผชิญหน้ากับความเสื่อมโทรมของทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม และการเผชิญหน้ากับนักท่องเที่ยวซึ่งมีความใส่ใจเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อม ปัญหาขยะที่เพิ่มขึ้นและวาทกรรมทางด้านสิ่งแวดล้อมได้กระตุ้นผู้คนบนเกาะลันตาให้ใส่ใจเกี่ยวกับการจัดการขยะมากขึ้นเพื่อคงสภาพเกาะลันตาในฐานะจุดหมายปลายทางของการท่องเที่ยวที่สงบและสวยงาม นอกจากนี้ การผลักดันโครงการที่มุ่งเน้นการใช้พลังงานจากถ่านหินถือเป็นตัวกระตุ้นที่สำคัญในการเคลื่อนไหวลันตาโกกรีนประการที่สอง การรับยุทธศาสตร์ลันตาโกกรีนมาปรับใช้ได้ทำให้ปฏิบัติการทางด้านสิ่งแวดล้อมของผู้คนบนเกาะลันตาเข้มแข็งขึ้น ขบวนการเคลื่อนไหวได้เพิ่มเติมปฏิบัติการด้านพลังงานยั่งยืนโดยมีการติดตั้งระบบพลังงานไฟฟ้าจากแสงอาทิตย์บนหลังคา ทั้งในสถานประกอบการที่เกี่ยวข้องกับการท่องเที่ยวและชุมชน การจัดการขยะบนบกและทะเลได้มีการขยายออกไปยังสถานประกอบการหลายแห่งและหลายระบบนิเวศของเกาะลันตา ผู้ประกอบการด้านการท่องเที่ยว ผู้อยู่อาศัยทั้งที่เป็นคนท้องถิ่นและชาวต่างชาติได้ลงมือปฏิบัติการเพื่อการจัดการขยะและขยะทะเลในรูปแบบที่หลากหลายซึ่งประกอบด้วย (1) การคัดแยกขยะภายในโรงแรม รีสอร์ท ร้านอาหารและชุมชน (2) กิจกรรมการทำความสะอาดชายหาดซึ่งนำโดยภาคเอกชนและผู้อยู่อาศัยที่เป็นชาวต่างชาติ โดยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและผู้คนท้องถิ่นทำหน้าในการสนับสนุนการดำเนินกิจกรรม (3) การผลิตปุ๋ยหมักชีวภาพจากขยะเปียก และ (4) การพัฒนาและการแยกวัสดุพลาสติกสำหรับกระบวนการรีไซเคิล ทั้งนี้ ปฏิบัติการเกี่ยวกับการจัดการขยะบนเกาะลันตาสามารถจำแนกออกเป็น 3 ประเภท คือ ปฏิบัติการของผู้ที่มีความตระหนักทางด้านสิ่งแวดล้อม ปฏิบัติการขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และปฏิบัติการของชาวบ้านโดยทั่วไป ประการที่สาม การเผชิญหน้ากับการเปลี่ยนผ่านทางด้านสังคมและสิ่งแวดล้อม นักท่องเที่ยวชาวต่างชาติ ปฏิบัติการทางด้านสิ่งแวดล้อม และเทคโนโลยีที่หลากหลายซึ่งใช้สำหรับการควบคุมการปฏิบัติของผู้คน และวาทกรรมทางด้านสิ่งแวดล้อม ได้ส่งผลให้ผู้คนในอำเภอเกาะลันตาสร้างตัวตนทางด้านสิ่งแวดล้อมที่หลากหลายผ่านกระบวนการเคลื่อนไหวลันตาโกกรีน ซึ่งประกอบด้วย (1) การเป็นพลเมืองผู้ซึ่งมีความตระหนักเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อม (2) เกษตรกรผู้ซึ่งใช้โอกาสที่มีอยู่อย่างหลากหลายจากการขบวนการเคลื่อนไหวเพื่อยกระดับความสามารถของตนเอง (3) นักสิ่งแวดล้อมที่ฉกฉวยโอกาสจากการเป็นเป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการเคลื่อนไหวทางด้านสิ่งแวดล้อมเพื่อประโยชน์ส่วนตัว และ (4) ผู้จัดกระบวนการเกี่ยวกับการอนุรักษ์ที่ปรับเปลี่ยนตัวตนตามกระบวนการที่ตัวเองสร้างขึ้นมาหรือใช้ในการแทรกแซงความประพฤติของผู้คน ข้อค้นพบสำคัญจากงานศึกษานี้แสดงให้เห็นว่า กระบวนการเคลื่อนไหวลันตาโกกรีนได้ทำให้ผู้คนบนเกาะลันตามีความตระหนักเกี่ยวกับปัญหาขยะและสิ่งแวดล้อมมากขึ้นและปฏิบัติการที่พวกเขาพัฒนาขึ้นมามีประโยชน์ที่จะนำไปปรับใช้ในการจัดการขยะของอำเภอเกาะลันตาโดยภาพรวม อย่างไรก็ตาม ด้วยจำนวนนักท่องเที่ยวที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องและการจัดการขยะที่ไม่เหมาะสมขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นโดยส่วนใหญ่และผู้คนโดยทั่วไป ยังเป็นปัญหาสำคัญที่ท้าทายผู้คนบนเกาะลันตา เจ้าหน้าที่รัฐที่เกี่ยวข้อง และผู้สนับสนุนจากภายนอกเพื่อต่อรองให้เกิดระบบการจัดการที่เหมาะสมเพื่อรักษาสภาพแวดล้อมของเกาะลันตาen_US
Appears in Collections:SOC: Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
610451004-Wisut Thongyoi.pdf34.31 MBAdobe PDFView/Open    Request a copy


Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.