Please use this identifier to cite or link to this item: http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/79561
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorเพื่อนใจ รัตตากร,-
dc.contributor.authorธัญสิริ ประเสริฐศรีศักดิ์en_US
dc.contributor.otherสุภาพร ชินชัย,-
dc.date.accessioned2024-06-22T03:20:47Z-
dc.date.available2024-06-22T03:20:47Z-
dc.date.issued2024-03-
dc.identifier.urihttp://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/79561-
dc.description.abstractAphasia, a language disorder caused by brain damage, presents substantial communication obstacles. Although speech and language therapy are essential for rehabilitation, accessibility challenges exacerbated by the COVID-19 pandemic have impeded its delivery. Telepractice has emerged as an alternative therapy model, yet there is currently limited research on its application specifically within the aphasia population in Thailand. This study aimed to assess the effectiveness of telespeech therapy in aphasia and evaluate satisfaction levels among both patients and their caregivers. Sixteen participants, consisting of eight aphasia patients and their caregivers, were included in the study. Pre- and post-assessments utilized the Thai Adaptation of the Western Aphasia Battery (TWAB) and satisfaction surveys. A 1-month telespeech therapy, comprising 12 sessions, was conducted. Analysis of TWAB scores indicated a significant improvement in the Aphasia Quotient (AQ) Median difference (min,max) = -2.45 (-14.9,-0.6), p = 0.011.Patients 2 and 3,the severity of aphasia improved from moderate to mild. Other six patients, the severity of aphasia did not change, although the test scores differed across individuals. Participants reported high to highest satisfaction levels (people with aphasia = 3/3, care givers = 4.75/5 ). This study underscores the effectiveness of telespeech therapy in aphasia, while fostering satisfaction among both patients and their caregivers.en_US
dc.language.isootheren_US
dc.publisherเชียงใหม่ : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่en_US
dc.titleประสิทธิผลของการฝึกพูดระยะไกลต่อความสามารถทางภาษาในผู้ที่มีภาวะเสียการสื่อความ: การศึกษานำร่องen_US
dc.title.alternativeEffectiveness of telespeech therapy on language abilities in people with aphasia: A pilot studyen_US
dc.typeThesis
thailis.controlvocab.thashภาวะเสียการสื่อความ-
thailis.controlvocab.thashความบกพร่องทางภาษา-
thailis.controlvocab.thashการพูดผิดปกติ-
thesis.degreemasteren_US
thesis.description.thaiAbstractภาวะเสียการสื่อความ เป็นความผิดปกติทางด้านภาษาที่มีสาเหตุมาจากสมองได้รับความเสียหายและก่อให้เกิดปัญหาในด้านการพูดและการสื่อสาร จึงเป็นสิ่งสำคัญและจำเป็นอย่างยิ่งที่ควรได้รับการฝึกพูด แต่ในช่วงสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ทำให้การได้รับการฝึกพูดมีข้อจำกัด การฝึกพูดระยะไกลจึงถูกนำมาใช้เป็นหนึ่งในทางเลือกที่จะทำให้ผู้ป่วยเข้าถึงการบริการได้ทันท่วงทีในประเทศไทยยังมีข้อจำกัดในการใช้การฝึกพูดระยะไกล ดังนั้นในการศึกษานี้มีจุดมุ่งหมายที่จะศึกษาประสิทธิผลของการฝึกพูดระยะไกลต่อความสามารถทางภาษาและความพึงพอใจในทั้งผู้ที่มีภาวะเสียการสื่อความและผู้ดูแล โดยมีจำนวนผู้เข้าร่วมวิจัยทั้งสิ้น 16 ราย แบ่งเป็นผู้ที่มีภาวะเสียการสื่อความ 8 รายและผู้ดูแล 8 ราย ซึ่งใช้ Thai Western Aphasia Battery (TWAB) เพื่อประเมินความสามารถทางภาษาก่อนและหลังการฝึกพูดระยะไกล และใช้แบบประเมินความพึงพอใจที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นมาประเมินหลังการฝึกเสร็จสิ้น โดยมีระยะเวลาในการฝึก 1 เดือน ฝึกจำนวนทั้งสิ้น 12 ครั้ง หลังจากที่นำผลคะแนนของ TWAB มาวิเคราะห์ แสดงให้เห็นว่า Aphasia Quotient (AQ) Median difference (min,max) = -2.45(-14.9,-0.6) มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p = 0.011) และระดับความรุนแรงของภาวะเสียการสื่อความที่เปลี่ยนแปลงไปในผู้ป่วยรายที่ 2 และ 3 ที่เปลี่ยนจากระดับ moderate เป็น mild ในอีก 6 รายมีระดับความรุนแรงคงเดิมแต่มีการเปลี่ยนแปลงของคะแนนแตกต่างกันไปในแต่ละราย ผู้เข้าร่วมได้ให้คะแนนความพึงพอใจต่อการฝึกพูดระยะไกลในระดับมากถึงมากที่สุด (ผู้ที่มีภาวะเสียการสื่อความ= 3/3,ผู้ดูแลหลัก = 4.75/5) ผลการศึกษาครั้งนี้แสดงให้เห็นถึงประสิทธิผลของการฝึกพูดระยะไกลในผู้ที่มีภาวะเสียการสื่อความซึ่งสอดคล้องกับการแสดงความพึงพอใจต่อภาพรวมของการฝึกพูดระยะไกลของผู้ที่มีภาวะเสียการสื่อความและผู้ดูแลen_US
Appears in Collections:AMS: Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
621131005-Tanyasiri Prasertsrisak.pdf2.42 MBAdobe PDFView/Open    Request a copy


Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.