Please use this identifier to cite or link to this item:
http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/79516
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | จิราวรรณ ดีเหลือ | - |
dc.contributor.advisor | นันทพร แสนศิริพันธ์ | - |
dc.contributor.author | วิรินทร พิมพ์ไลย | en_US |
dc.date.accessioned | 2024-06-18T10:26:12Z | - |
dc.date.available | 2024-06-18T10:26:12Z | - |
dc.date.issued | 2023-11 | - |
dc.identifier.uri | http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/79516 | - |
dc.description.abstract | Insomnia among pregnant women with obesity affects them and their infants during the antepartum, intrapartum, and postpartum periods. The purpose of this predictive correlational study was to investigate insomnia and the factors predicting insomnia among pregnant women with obesity, including pre-pregnancy body mass index, pregnancy-related anxiety, and dysfunctional beliefs and attitudes about sleep. The participants were pregnant women with obesity who were 28 weeks of gestational age or older, and attended the antenatal clinic of Maharaj Nakorn Chiang Mai Hospital, Health Promotion Center Region 1 Chiang Mai, Lamphun Hospital, and Uttaradit Hospital between June and August 2023. The 115 participants were selected based on the inclusion criteria. The study instruments consisted of the Personal Information Record and Questionnaire, the Thai version of the Athens Insomnia Scale (AIS-Thai) by Chalardsakul and Sithinamsuwan (2022), the Pregnancy-related Anxiety Scale by Pinanong et al. (2020), and the Thai version of the Dysfunctional Beliefs and Attitudes about Sleep Scale by Chimluang et al. (2017). Data were analyzed using descriptive statistics, Fisher's exact test, and multiple logistic regression. The results showed that: 1. Pregnant women with obesity had insomnia (AIS ≥ 7) at 44.35%. The median score for insomnia was 6.0 (IQR = 4.0). 2. The factors predicting insomnia among pregnant women with obesity included pre-pregnancy body mass index (BMI) ≥ 27.0 kg/m² (aOR = 3.05, 95% CI: 1.14-8.16), pregnancy-related anxiety with a score ≥ 19.0 (aOR = 2.88, 95% CI: 1.17-7.11), and dysfunctional beliefs and attitudes about sleep with a score ≥ 6.0 (aOR = 4.20, 95% CI: 1.51-11.64) with a prediction accuracy of 75.10% (AuROC = 0.751). The findings of this study suggest that nurse-midwives should assess pre-pregnancy BMI, pregnancy-related anxiety, and dysfunctional beliefs and attitudes about sleep in pregnant women with obesity to screen and monitor insomnia as well as promote sleep in pregnant women with obesity. | en_US |
dc.publisher | เชียงใหม่ : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ | en_US |
dc.title | ปัจจัยทำนายการนอนไม่หลับในสตรีตั้งครรภ์ที่มีภาวะอ้วน | en_US |
dc.title.alternative | Factors oredicting insomnia among pregnant women with obesity | en_US |
dc.type | Thesis | |
thailis.controlvocab.thash | การตั้งครรภ์ | - |
thailis.controlvocab.thash | ภาวะแทรกซ้อนขณะตั้งครรภ์ | - |
thailis.controlvocab.thash | โรคอ้วน | - |
thailis.controlvocab.thash | การนอนไม่หลับ | - |
thesis.degree | master | en_US |
thesis.description.thaiAbstract | การนอนไม่หลับในสตรีตั้งครรภ์ที่มีภาวะอ้วน ส่งผลกระทบต่อสตรีตั้งครรภ์และทารกทั้งในระยะตั้งครรภ์ คลอด และหลังคลอด การวิจัยแบบหาความสัมพันธ์เชิงทำนายครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการนอนไม่หลับ และปัจจัยทำนายการนอนไม่หลับในสตรีตั้งครรภ์ที่มีภาวะอ้วน ได้แก่ ดัชนีมวลกายก่อนตั้งครรภ์ ความวิตกกังวลเกี่ยวกับการตั้งครรภ์ และความเชื่อและทัศนคติที่ไม่เหมาะสมเกี่ยวกับการนอนหลับ กลุ่มตัวอย่างเป็นสตรีตั้งครรภ์ที่มีภาวะอ้วน อายุครรภ์ตั้งแต่ 28 สัปดาห์ขึ้นไป ที่มารับบริการฝากครรภ์ในโรงพยาบาลมหาราชนครเชียงใหม่ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพ ศูนย์อนามัยที่ 1 เชียงใหม่ โรงพยาบาลลำพูน และโรงพยาบาลอุตรดิตถ์ ระหว่างเดือนมิถุนายน ถึง เดือนสิงหาคม พ.ศ. 2566 จำนวน 115 ราย เลือกกลุ่มตัวอย่างตามคุณสมบัติที่กำหนด เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย แบบบันทึกและแบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคล แบบสอบถามภาวะนอนไม่หลับฉบับภาษาไทยโดย ปิยวัฒน์ ฉลาดสกุล และพาสิริ สิทธินามสุวรรณ (Chalardsakul & Sithinamsuwan, 2022) แบบสอบถามความวิตกกังวลเกี่ยวกับการตั้งครรภ์ ของปิ่นอนงค์ พิมพ์สุวรรณ และคณะ (2563) และแบบประเมินความเชื่อและทัศนคติที่ไม่ถูกต้องเกี่ยวกับการนอนหลับ ฉบับภาษาไทยโดย จรรยา ฉิมหลวง และคณะ (Chimluang et al., 2017) วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา สถิติฟิชเชอร์ และสถิติถดถอยโลจิสติกพหุ ผลการศึกษาพบว่า 1. สตรีตั้งครรภ์ที่มีภาวะอ้วนมีปัญหาการนอนไม่หลับ (AIS ≥ 7) ร้อยละ 44.35 โดยมีค่ามัธยฐานของคะแนนการนอนไม่หลับเท่ากับ 6.0 (IQR = 4.0) 2. ปัจจัยทำนายการนอนไม่หลับในสตรีตั้งครรภ์ที่มีภาวะอ้วน ได้แก่ ดัชนีมวลกายก่อนตั้งครรภ์มากกว่าหรือเท่ากับ 27.0 กก./ตร.ม. (aOR = 3.05, 95% CI: 1.14-8.16) ความวิตกกังวลเกี่ยวกับการตั้งครรภ์มากกว่าหรือเท่ากับ 19.0 คะแนน (aOR = 2.88, 95% CI: 1.17-7.11) และความเชื่อและทัศนคติที่ไม่เหมาะสมเกี่ยวกับการนอนหลับมากกว่าหรือเท่ากับ 6.0 คะแนน (aOR = 4.20, 95% CI: 1.51-11.64) โดยมีความถูกต้องในการทำนายร้อยละ 75.10 (AuROC = 0.751) ผลการศึกษาครั้งนี้มีข้อเสนอแนะว่าพยาบาลผดุงครรภ์ควรมีการประเมินดัชนีมวลกายก่อนตั้งครรภ์ ความวิตกกังวลเกี่ยวกับการตั้งครรภ์ และความเชื่อและทัศนคติที่ไม่เหมาะสมเกี่ยวกับการนอนหลับในสตรีตั้งครรภ์ที่มีภาวะอ้วน เพื่อคัดกรองและเฝ้าระวังปัญหาการนอนไม่หลับ และส่งเสริมการนอนหลับในสตรีตั้งครรภ์ที่มีภาวะอ้วน | en_US |
Appears in Collections: | NURSE: Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
641231058 วิรินทร พิมพ์ไลย.pdf | ปัจจัยทำนายการนอนไม่หลับในสตรีตั้งครรภ์ที่มีภาวะอ้วน | 9.55 MB | Adobe PDF | View/Open Request a copy |
Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.