Please use this identifier to cite or link to this item:
http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/79501
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | เรนัส เสริมบุญสร้าง | - |
dc.contributor.author | ธีรพงศ์ แสงเดช | en_US |
dc.date.accessioned | 2024-06-17T10:05:55Z | - |
dc.date.available | 2024-06-17T10:05:55Z | - |
dc.date.issued | 2024-02-19 | - |
dc.identifier.uri | http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/79501 | - |
dc.description.abstract | The Purpose of this independent study entitled “Marketing Mix Affecting Consumers Towards Purchasing Air Purifier in Chiang Mai Province” was to study every aspect of the marketing mix that specifically impacted the purchase of air purifiers by consumers in Chaing Mai, Thailand. The 4Ps of the marketing mix: product, price, place, and promotion were utilized as aspects in the study. Convenience Sampling was used particularly along with the distribution of specific group questionnaires. A selected sample focused on consumers who decided to buy air purifiers within not more than one year from the latest buying and must be residents of Chiang Mai. The Study employed data through sending executable links as a Google Form to make online questionnaires on every involved Facebook Group such as Air Purifier and Air Filter’s Group, Northen Thai Allergy and Asthma Club, and Lukchang Mocho Group. Also, distributed the QR code handbills to students in Chiang Mai University. The online questionnaire received 385 samples in total. The data was further analyzed by descriptive statistics, which composed of frequency, percentage, average, and data interpretation. Moreover, the study was analyzed by inferential statistics through the independent sample (T-test) which compared the average of two sample groups, classified by the number and price of air purifiers in every household. The analysis of the F-test (One-Way ANOVA) was utilized by the average marketing mix comparison, classified by the number of every household member and average monthly income. The data of the study also tested the differences of pairwise levels of sub-factors based on Schiffer’s method. The Results found that most of the respondents of questionnaire are particularly female with the age range of 20-30 years old, stay single, achieve bachelor’s degree graduate, be as students, receive average monthly income about 10,000-20,000 baht, live in detached house with 3-4 of their family members. A buying behavior on air purifiers of consumers in Chiang Mai found that most of the respondents of questionnaire already owned one air purifier at their house. Most of them were Xiaomi’s brand with their type of air purifier with an air filter or HEPA Filter and their price was not over 5,000 baht. They are usually installed in a room size of less than 30 square meters. Generally, consumers buy air purifiers via an E-Commerce platform and pay via Internet Banking / Mobile Banking. Most of them made themselves decision because they would like to lessen the danger of PM2.5 pollution and they usually bought air purifiers when there was only a situation of PM2.5 or smog crisis. According to the study, the marketing mix has a very high impact on consumers' decisions to purchase air purifiers in Chiang Mai. Place had the highest impact and then product, price, and promotion, respectively. Regarding the place aspect, there are top 3 of average sub-factors that affect customer’s decision: as follow, the product can be ordered via online platforms, the availability and sufficiency of product, and the trustworthiness of distribution place. Regarding the product aspect, there are top 3 of average sub-factors that affect customer’s decision: as follow, the durability of the product, the degree of filtration, and the silence of the air purifiers when it is working. Regarding the price aspect, there are top 3 of average sub-factors that affect customer’s decision: as follow, the price of the air purifier is valuable and acceptable against the health improvement of family members, the price of the air purifier is acceptable against its degree of filtration of PM2.5, and the price of air purifier is acceptable against its advance technology or system. Regarding the promotion aspect, there are top 3 of average sub-factors that affect customer’s decision: as follow, there were interesting promotions, there were the expertise and politeness of seller or administrator, and there was a demonstration on which how to use the product. The Results of the hypothesis test of two sample groups found that the respondents of the questionnaire who have different numbers of air purifiers at their homes and who buy air purifiers at different prices differently focused on the marketing mix of product, price, place, and promotion as well. The Results of the hypothesis test of over than two sample groups found that the respondents of the questionnaire who have different numbers of family members somewhat focused on the marketing mix of product and price, on the other hand, place and promotion were not that different. Moreover, the respondents of the questionnaire who receive a different average monthly income slightly focused on the marketing mix of product and promotion differently, on the other hand, price and place were not that different. | en_US |
dc.language.iso | other | en_US |
dc.publisher | เชียงใหม่ : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ | en_US |
dc.title | ส่วนประสมการตลาดที่มีผลต่อการเลือกซื้อเครื่องฟอกอากาศของผู้บริโภคในจังหวัดเชียงใหม่ | en_US |
dc.title.alternative | Marketing mix affecting purchasing air purifier of consumers in Chiang Mai province | en_US |
dc.type | Independent Study (IS) | |
thailis.controlvocab.thash | เครื่องฟอกอากาศ | - |
thailis.controlvocab.thash | พฤติกรรมผู้บริโภค | - |
thailis.controlvocab.thash | การตลาด -- การตัดสินใจ | - |
thailis.controlvocab.thash | การตลาด -- เชียงใหม่ | - |
thailis.controlvocab.thash | พฤติกรรมผู้บริโภค | - |
thesis.degree | master | en_US |
thesis.description.thaiAbstract | การค้นคว้าแบบอิสระเรื่องส่วนประสมการตลาดที่มีผลต่อการเลือกซื้อเครื่องฟอกอากาศของผู้บริโภคในจังหวัดเชียงใหม่ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาส่วนประสมการตลาดที่มีผลต่อการซื้อเครื่องฟอกอากาศของผู้บริโภคในจังหวัดเชียงใหม่ โดยใช้แนวคิดส่วนประสมการตลาด (4Ps) ได้แก่ ด้านผลิตภัณฑ์ ด้านราคา ด้านช่องทางการจัดจำหน่าย และด้านการส่งเสริมการตลาด โดยใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบตามสะดวก (Convenience Sampling) ด้วยการกระจายแบบสอบถามเฉพาะกลุ่มตัวอย่างที่ผู้บริโภคที่เป็นผู้ตัดสินใจซื้อผลิตภัณฑ์เครื่องฟอกอากาศภายในครัวเรือนด้วยตนเองเป็นผู้ที่อาศัยอยู่ในจังหวัดเชียงใหม่ และมีระยะเวลาการซื้อเครื่องฟอกอากาศครั้งล่าสุดไม่เกิน 1 ปีที่ผ่านมา โดยการเก็บข้อมูลผ่านการแจกแบบสอบถามออนไลน์ (Online Questionnaire) ทาง Facebook Group เช่น กลุ่มเครื่องฟอกอากาศและแผ่นกรองอากาศ กลุ่มลูกช้าง มช. ชมรมโรคภูมิแพ้-หอบหืด ภาคเหนือ ด้วยการส่งลิงค์ (Link) และทำการแจกใบ QR Code ของระบบ Google Form ให้แก่นักศึกษาในมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เป็นจำนวนทั้งสิ้น 385 ตัวอย่าง ซึ่งข้อมูลที่ได้นำมาวิเคราะห์โดยใช้สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และการแปลผล และใช้สถิติอนุมาน โดยการทดสอบความแตกต่าง Independent Sample (T-test) ที่ใช้เปรียบเทียบค่าเฉลี่ยระหว่างกลุ่มตัวอย่างสองกลุ่ม โดยจำแนกตามจำนวนเครื่องฟอกอากาศภายในครัวเรือนและราคาเครื่องฟอกอากาศ การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว F-test (One-Way ANOVA) โดยใช้การเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยปัจจัยส่วนประสมการตลาด จำแนกตามจำนวนสมาชิกในครอบครัวและรายได้เฉลี่ยต่อเดือน และทดสอบความแตกต่างของระดับปัจจัยย่อยเป็นรายคู่ด้วยวิธีการของเชฟเฟ่ (Schiffer) ผลการศึกษา พบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง มีอายุระหว่าง 20 - 30 ปี มีสถานภาพโสด จบการศึกษาระดับปริญญาตรี ประกอบอาชีพนักเรียน/นักศึกษา มีรายได้เฉลี่ยต่อเดือนอยู่ในช่วง 10,000 - 20,000 บาท พักอาศัยในบ้านเดี่ยว มีจำนวนสมาชิกในครอบครัว 3 - 4 คนพฤติกรรมในการเลือกซื้อเครื่องฟอกอากาศของผู้บริโภคในจังหวัดเชียงใหม่ พบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่จะมีเครื่องฟอกอากาศภายในครัวเรือนจำนวน 1 เครื่อง เป็นเครื่องฟอกอากาศระบบไส้กรอง (HEPA Filter) ของแบรนด์ Xiaomi มีราคาไม่เกิน 5,000 บาท ใช้งานกับห้องที่มีขนาดต่ำกว่า 30 ตร.ม. โดยทำการซื้อสินค้าผ่านช่องทาง E-Commerce Platform เช่น Shopee Lazada และชำระเงินผ่าน Internet Banking / Mobile Banking ซึ่งทำการตัดสินใจซื้อด้วยตนเอง โดยมีเหตุผลที่ซื้อเครื่องฟอกอากาศเพื่อช่วยแก้ไขปัญหาฝุ่น PM2.5 และมักตัดสินใจเลือกซื้อเครื่องฟอกอากาศในช่วงที่มีสถานการณ์ปัญหาฝุ่น PM2.5 หรือปัญหาหมอกควัน ส่วนประสมการตลาดที่มีผลต่อการตัดสินใจซื้อเครื่องฟอกอากาศของผู้บริโภคในจังหวัดเชียงใหม่ พบว่า มีผลต่อการตัดสินใจซื้อในระดับมาก โดยปัจจัยที่มีค่าเฉลี่ยสูงที่สุด คือ ปัจจัยด้านช่องทางการจัดจำหน่าย รองลงมา คือ ปัจจัยด้านผลิตภัณฑ์ ปัจจัยด้านราคา และปัจจัยด้านการส่งเสริมการตลาด ตามลำดับ ด้านช่องทางการจัดจำหน่าย ปัจจัยย่อยที่มีผลต่อการตัดสินใจซื้อในระดับค่าเฉลี่ยสูงที่สุด 3 ลำดับแรก ได้แก่ ความสามารถในการสั่งสินค้าผ่านช่องทางออนไลน์ต่าง ๆ ได้ การมีสินค้าพร้อมจำหน่ายอย่างเพียงพอ และความน่าเชื่อถือของสถานที่จัดจำหน่ายด้านผลิตภัณฑ์ ปัจจัยย่อยที่มีผลต่อการตัดสินใจซื้อในระดับค่าเฉลี่ยสูงที่สุด 3 ลำดับแรก ได้แก่ สินค้ามีความแข็งแรงทนทาน ความละเอียดของไส้กรองในการกรองอนุภาคฝุ่น PM2.5 และระดับความเงียบขณะการทำงาน ด้านราคา ปัจจัยย่อยที่มีผลต่อการตัดสินใจซื้อในระดับค่าเฉลี่ยสูงที่สุด 3 ลำดับแรก ได้แก่ ความคุ้มค่าในด้านราคากับการดูแลสุขภาพของสมาชิกในครอบครัวที่ดีขึ้น ราคาเหมาะสมกับระดับความละเอียดในการกรองอนุภาคฝุ่น PM2.5 ของเครื่องฟอกอากาศ และราคาเหมาะสมกับเทคโนโลยีเสริมในการดูแลสุขภาพของเครื่องฟอกอากาศด้านการส่งเสริมการตลาด ปัจจัยย่อยที่มีผลต่อการตัดสินใจซื้อในระดับค่าเฉลี่ยสูงที่สุด 3 ลำดับแรก ได้แก่ การมีโปรโมชั่นส่งเสริมการขายที่น่าสนใจ เช่น ลด-แลก-แจก-แถม ความเชี่ยวชาญในการให้คำแนะนำและความสุภาพของพนักงานขายหรือพนักงานตอบแชท (แอดมิน) และการมีการสาธิตการใช้งานสินค้า ผลการทดสอบสมมติฐาน พบว่า ผู้ตอบแบบสอบถาม 2 กลุ่ม คือ ผู้ที่มีจำนวนเครื่องฟอกอากาศภายในครัวเรือนแตกต่างกันและผู้ที่มีเครื่องฟอกอากาศในราคาแตกต่างกัน มีผลต่อการตัดสินใจซื้อกับปัจจัยส่วนประสมการตลาดด้านผลิตภัณฑ์ ด้านราคา ด้านช่องทางการจัดจำหน่าย และด้านการส่งเสริมการตลาดแตกต่างกัน ผู้ตอบแบบสอบถาม 2 กลุ่ม ขึ้นไป คือ ผู้ที่มีจำนวนสมาชิกในครอบครัวแตกต่างกันมีผลต่อการตัดสินใจซื้อกับปัจจัยส่วนประสมการตลาดด้านผลิตภัณฑ์และด้านราคาแตกต่างกัน ส่วนปัจจัยด้านช่องทางการจัดจำหน่ายและด้านการส่งเสริมการตลาดไม่แตกต่างกัน และผู้ตอบแบบสอบถามที่มีรายได้เฉลี่ยต่อเดือนแตกต่างกันมีผลต่อการตัดสินใจซื้อกับปัจจัยส่วนประสมการตลาดด้านผลิตภัณฑ์และด้านการส่งเสริมการตลาดแตกต่างกัน ส่วนปัจจัยด้านราคาและด้านช่องทางการจัดจำหน่ายไม่แตกต่างกัน | en_US |
Appears in Collections: | BA: Independent Study (IS) |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
641532083-ธีรพงศ์ แสงเดช.pdf | 1.38 MB | Adobe PDF | View/Open Request a copy |
Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.