Please use this identifier to cite or link to this item: http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/79495
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorนงเยาว์ เกษตร์ภิบาล-
dc.contributor.advisorนงค์คราญ วิเศษกุล-
dc.contributor.authorธัญพัฒน์ เหล่าพิเชียรพงษ์en_US
dc.date.accessioned2024-06-17T00:47:49Z-
dc.date.available2024-06-17T00:47:49Z-
dc.date.issued2024-02-
dc.identifier.urihttp://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/79495-
dc.description.abstractCatheter-associated urinary tract infection (CAUTI) is a significant problem which increases costs and mortality rates for patients. Nurses are important in preventing such infections. This quasi-experimental research aimed to determine the effectiveness of a CAUTI prevention program on knowledge, practices, and CAUTI incidence in a secondary hospital during July 2023 to January 2024. The sample consisted of 30 nurses working in two female medical wards. The research instruments included the CAUTI prevention program, a demographic data questionnaire, a knowledge test, a practice observational recording form, and a CAUTI incidence form. The content validity indices of the knowledge test and the practice observational recording form were 0.94 and 0.95, respectively. The reliability of the knowledge test and the interrater reliability of the practice observational recording form were 0.98 and 1.00, respectively. The data were analyzed using descriptive statistics, Wilcoxon signed rank test, Chi-square test, and Fisher exact test. The results of the study revealed that after implementing the prevention program, the participants significantly increased their median knowledge scores for prevention of CAUTI from before implementation, from 12.00 to 19.00 out of 20.00 points (p<0.001), and the proportion of correct practices on prevention of CAUTI significantly increased from those before implementation, from 73.00% to 98.05% (p<0.001). The incidence of CAUTI decreased from 4.37 to 1.23 per 1,000 catheter days, resulting in a reduction of 3.55 times. The results of this study demonstrate that the CAUTI prevention program could enhance nurse’s knowledge and prevention practices, and reduce the incidence of CAUTI. This program should be implemented in other hospitals to prevent CAUTI.en_US
dc.language.isootheren_US
dc.publisherเชียงใหม่ : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่en_US
dc.titleประสิทธิผลของโปรแกรมการป้องกันการติดเชื้อในระบบทางเดินปัสสาวะที่สัมพันธ์กับการคาสายสวนปัสสาวะในพยาบาลหอผู้ป่วยอายุรกรรมหญิงen_US
dc.title.alternativeEffectiveness of the catheter-associated urinary tract infection prevention program among nurses in female medical wardsen_US
dc.typeThesis
thailis.controlvocab.thashทางเดินปัสสาวะ-
thailis.controlvocab.thashทางเดินปัสสาวะ -- โรค-
thailis.controlvocab.thashทางเดินปัสสาวะติดเชื้อ-
thailis.controlvocab.thashหลอดปัสสาวะ-
thesis.degreemasteren_US
thesis.description.thaiAbstractการติดเชื้อในระบบทางเดินปัสสาวะที่สัมพันธ์กับการคาสายสวนปัสสาวะเป็นปัญหาสำคัญ ส่งผลกระทบให้ค่าใช้จ่ายและอัตราการเสียชีวิตของผู้ป่วยเพิ่มขึ้น พยาบาลมีส่วนสำคัญในการป้องกันการติดเชื้อดังกล่าว การวิจัยกึ่งทดลองนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประสิทธิผลของโปรแกรมการป้องกันการติดเชื้อในระบบทางเดินปัสสาวะที่สัมพันธ์กับการคาสายสวนปัสสาวะต่อความรู้การปฏิบัติและอุบัติการณ์การติดเชื้อในระบบทางเดินปัสสาวะที่สัมพันธ์กับการคาสายสวนปัสสาวะในโรงพยาบาล ทุติยภูมิแห่งหนึ่ง ดำเนินการวิจัยระหว่างเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2566 ถึง มกราคม พ.ศ. 2567 กลุ่มตัวอย่าง คือ พยาบาลที่ปฏิบัติงานในหอผู้ป่วยอายุรกรรมหญิง 2 แห่ง จำนวน 30 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย โปรแกรมการป้องกันการติดเชื้อในระบบทางเดินปัสสาวะที่สัมพันธ์กับการคาสายสวนปัสสาวะ แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคล แบบวัดความรู้ แบบบันทึกการสังเกต การปฏิบัติ และแบบบันทึกอุบัติการณ์การติดเชื้อในระบบทางเดินปัสสาวะที่สัมพันธ์กับการคาสายสวนปัสสาวะ มีค่าดัชนีความตรงตามเนื้อหาของแบบวัดความรู้ และแบบสังเกตการปฏิบัติเท่ากับ 0.94 และ 0.95 ตามลำดับ ค่าความเชื่อมั่นของแบบวัดความรู้ และค่าความเชื่อมั่นของแบบสังเกตการปฏิบัติได้เท่ากับ 0.98 และ 1.00 ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา สถิติทดสอบวิลคอกซัน สถิติไคสแควร์ และสถิติฟิชเชอร์   ผลการศึกษา ภายหลังดำเนินโปรแกรม กลุ่มตัวอย่างมีคะแนนมัธยฐานความรู้ในการป้องกันการติดเชื้อในระบบทางเดินปัสสาวะที่สัมพันธ์กับการคาสายสวนปัสสาวะ มากกว่าก่อนการใช้โปรแกรมจาก 12.00 คะแนน เป็น 19.00 คะแนน จากคะแนนเต็ม 20.00 คะแนน ซึ่งแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.001) และสัดส่วนการปฏิบัติในการป้องกันการติดเชื้อในระบบทางเดินปัสสาวะที่สัมพันธ์กับการคาสายสวนปัสสาวะถูกต้องมากกว่าก่อนดำเนินโปรแกรมจากร้อยละ 73.00 เป็นร้อยละ 98.05 ซึ่งแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.001) และอุบัติการณ์การติดเชื้อในระบบทางเดินปัสสาวะที่สัมพันธ์กับการคาสายสวนปัสสาวะลดลงจาก 4.37 ครั้ง เป็น 1.23 ครั้ง ต่อ 1,000 วันคาสายสวนปัสสาวะ โดยลดลง 3.55 เท่า การวิจัยครั้งนี้แสดงให้เห็นว่า การใช้โปรแกรมการป้องกันการติดเชื้อในระบบทางเดินปัสสาวะที่สัมพันธ์กับการคาสายสวนปัสสาวะ ทำให้พยาบาลมีความรู้และการปฏิบัติในการป้องกันการติดเชื้อในระบบทางเดินปัสสาวะที่สัมพันธ์กับการคาสายสวนปัสสาวะเพิ่มขึ้น และช่วยลดอุบัติการณ์ การติดเชื้อในระบบทางเดินปัสสาวะที่สัมพันธ์กับการคาสายสวนปัสสาวะ จึงควรนำโปรแกรมนี้ไปใช้ในโรงพยาบาลอื่น เพื่อป้องกันการติดเชื้อในระบบทางเดินปัสสาวะที่สัมพันธ์กับการคาสายสวนปัสสาวะen_US
Appears in Collections:NURSE: Theses



Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.