Please use this identifier to cite or link to this item: http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/79428
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorถาวร อ่อนประไพ-
dc.contributor.advisorนิวัติ อนงค์รักษ์-
dc.contributor.authorสุประภัทร เขื่อนใจen_US
dc.date.accessioned2024-03-15T03:00:59Z-
dc.date.available2024-03-15T03:00:59Z-
dc.date.issued2024-03-15-
dc.identifier.urihttp://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/79428-
dc.description.abstractThe situation of forest areas has tentatively decreased and transformed to other land uses, through intensive agricultural production. It has resulted to decrease rapidly forest resource of the country. Integration of geo-information technology and the community participation in the survey, collecting and development of spatial and community databases. This leads to resolving forest resource problems and raising the land use efficiency in the Yang small watershed, Pa Laeo Luang sub-district, Santi Suk district, Nan province. This study had purposed to develop the spatial and community databases, analyze the driving forces impacting on land use changes, and investigate spatial and community potentials, produce spatial scenario mapping and collaborating the people awareness to design the alternative land uses. Geo-informatics technology was collaboratively applied, including remote sensing to classify, monitor, and mapping the land use in the Yang small watershed in 2016 with THEOS satellite imagery, and the land use in 2019 with GeoEye-1 satellite imagery integrative with imagery data from the unmanned aerial vehicles (UAV). In addition, geographic information system was applied to analyze the land use change of the Yang small watershed during 2016 to 2019, including the mapping of land use changes with linking to their attribute data. Finally, global positioning system (GPS) was applied to explore and mapping of locations, areas and boundaries of the farmers' agricultural plots.en_US
dc.language.isootheren_US
dc.publisherเชียงใหม่ : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่en_US
dc.titleการวิเคราะห์ศักยภาพเชิงพื้นที่และชุมชนเพื่อแก้ไขปัญหาทรัพยากรป่าไม้ในลุ่มน้ำยาง ตำบลป่าแลวหลวง อำเภอสันติสุข จังหวัดน่านen_US
dc.title.alternativeAnalysis of spatial and community potentials for resolving forest resource problems of Yang watershed, Pa Laeo Luang sub-district, Santi Suk district, Nan provinceen_US
dc.typeThesis
thesis.degreemasteren_US
thesis.description.thaiAbstractสถานการณ์พื้นที่ป่าไม้มีแนวโน้มลดลงและมีการเปลี่ยนแปลงไปเป็นการใช้ประโยชน์ที่ดินประเภทอื่น ด้วยสาเหตุมาจากการผลิตภาคการเกษตรแบบเข้มข้น ส่งผลทำให้ทรัพยากรป่าไม้ของประเทศลดลงอย่างรวดเร็ว การบูรณาการเทคโนโลยีภูมิสารสนเทศและการมีส่วนร่วมในการสำรวจ รวบรวม และพัฒนาฐานข้อมูลเชิงพื้นที่และชุมชน เพื่อนำไปสู่การแก้ไขปัญหาทรัพยากรป่าไม้และเพิ่มประสิทธิภาพการใช้ประโยชน์ที่ดินในพื้นที่ลุ่มน้ำยาง ตำบลป่าแลวหลวง อำเภอสันติสุข จังหวัดน่าน ในการศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาฐานข้อมูลเชิงพื้นที่และชุมชน วิเคราะห์ปัจจัยการขับเคลื่อนที่ส่งผลกระทบต่อการเปลี่ยนแปลงการใช้ประโยชน์ที่ดิน และศึกษาศักยภาพเชิงพื้นที่และชุมชน จัดทำภาพสถานการณ์เชิงพื้นที่ในอนาคต ร่วมกับการสร้างความตระหนักรู้รวมถึงร่วมออกแบบทางเลือกการใช้ประโยชน์ที่ดิน เทคโนโลยีภูมิสารสนเทศ (geo-information technology) ถูกนำมาประยุกต์ใช้ร่วมกัน ประกอบด้วย การสำรวจข้อมูลระยะไกล (remote sensing: RS) เพื่อใช้ในการจำแนก การติดตาม และการจัดทำแผนที่การใช้ประโยชน์ที่ดินของพื้นที่ลุ่มน้ำยางในปี พ.ศ. 2559 ด้วยข้อมูลภาพถ่ายดาวเทียมธีออส (THEOS) และปี พ.ศ. 2562 ด้วยข้อมูลภาพถ่ายดาวเทียมจีโออาย 1 (GeoEye-1) ร่วมกับข้อมูลภาพถ่ายจากอากาศยานไร้คนขับ (unmanned aerial vehicle: UAV) นอกจากนี้ ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ (geographic information system: GIS) ถูกประยุกต์ใช้เพื่อวิเคราะห์การเปลี่ยนแปลงการใช้ประโยชน์ที่ดินของลุ่มน้ำยางระหว่างปี พ.ศ. 2559 ถึง พ.ศ. 2562 รวมถึงการจัดทำแผนที่การเปลี่ยนแปลงการใช้ประโยชน์ที่ดินดังกล่าวพร้อมเชื่อมโยงเข้ากับข้อมูลคุณลักษณะ สุดท้ายระบบการกำหนดตำแหน่งบนพื้นโลก (global positioning system: GPS) ถูกประยุกต์ใช้ในการสำรวจและทำแผนที่แสดงตำแหน่ง พื้นที่ และขอบเขตแปลงเกษตรกรรมของเกษตรกรผู้เข้าร่วมวิจัย ผลการวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อติดตามการใช้ประโยชน์ที่ดินในพื้นที่ลุ่มน้ำยาง พบว่า ในปี พ.ศ. 2562 พื้นที่ป่าไม้เพิ่มขึ้นอย่างชัดเจน จำนวน 2,047.2 ไร่ (จาก 14,922.7 ไร่ เป็น 16,969.9 ไร่) โดยชนิดการใช้ประโยชน์ที่ดินที่มีสัดส่วนลดลง ประกอบด้วย พื้นที่ปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ และพื้นที่นาข้าว ลดลงร้อยละ 43.7 และ 6.3 ตามลำดับ สำหรับชนิดการใช้ประโยชน์ที่ดินที่มีสัดส่วนเพิ่มขึ้น ประกอบด้วย พื้นที่ป่าไม้ พื้นที่ไม้ยืนต้นผสมหรือไม้ผลผสม พื้นที่ไร่ร้าง พื้นที่แหล่งน้ำ และพื้นที่ชุมชนและสิ่งปลูกสร้าง เพิ่มขึ้นร้อยละ 31.3, 11.9, 5.1, 1.6 และ 0.1 ตามลำดับ ผลการออกแบบภาพสถานการณ์เชิงพื้นที่ในอนาคตด้วยเทคนิคการวิเคราะห์ศักยภาพเชิงพื้นที่และการซ้อนทับชั้นข้อมูล 2 วิธีการ ทำให้ได้ภาพสถานการณ์เชิงพื้นที่รวม 11 รูปแบบ นอกจากนี้ กระบวนการมีส่วนร่วมของชุมชนและเกษตรกร 17 ครัวเรือนนำร่อง ทำให้เกิด 2 แนวทางของอาชีพทางเลือก ได้แก่ (1) การปรับเปลี่ยนพื้นที่แปลงปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ด้วยไม้เศรษฐกิจผสมผสานตามหลักวนเกษตร และ (2) การพัฒนาพื้นที่เกษตรใกล้บ้านด้วยการผลิตพืชผักปลอดสารพิษและการเลี้ยงปลา ซึ่งในกระบวนการอาชีพทางเลือกเหล่านี้ได้สร้างความมั่นใจให้กับครอบครัวของเกษตรกร และสามารถเปลี่ยนพื้นที่ที่เคยปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ให้กลับคืนเป็นพื้นที่วนเกษตรที่รอการเก็บผลผลิตในอนาคตอันใกล้ และไม่กลับไปปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์บนพื้นที่สูงในลุ่มน้ำยางอีก งานวิจัยนี้สามารถใช้เป็นต้นแบบที่ดีเพื่อเพิ่มพื้นที่ป่าไม้และเพิ่มประสิทธิภาพการใช้ประโยชน์ที่ดินด้วยการสร้างอาชีพทางเลือก ที่สามารถนำไปใช้กับลุ่มน้ำขนาดเล็กอื่น ๆ ได้ต่อไปen_US
Appears in Collections:AGRI: Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
590831065-สุประภัทร เขื่อนใจ.pdf10.09 MBAdobe PDFView/Open    Request a copy


Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.