Please use this identifier to cite or link to this item: http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/79401
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorขวัญพนมพร ธรรมไทย-
dc.contributor.advisorสมบัติ สกุลพรรณ์-
dc.contributor.authorณิชนันทน์ วิฆเนศรังสรรค์en_US
dc.date.accessioned2024-01-12T02:57:19Z-
dc.date.available2024-01-12T02:57:19Z-
dc.date.issued2566-11-07-
dc.identifier.urihttp://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/79401-
dc.description.abstractPatients with advanced cancer must to face mental distress, which cannot be avoided both suffering from pain, side effects from treatment, loss of being a healthy person adjusting to work, living, and increasing expenses as a result, pressure and high levels of stress such mental suffering inevitably results in mental health problems. If not screened for severity level and psychological care and assistance including preventing this problem effectively that could lead to suicide and can cause psychiatric comorbidities. This correlational descriptive study aimed to investigate the association between mental health literacy and psychological distress in patients with advanced cancer. The sample was 106 patients with advanced cancer residing in the area under the responsibility of Health Promoting Hospital of northeast in Thailand. Two research instruments were used for data collection: the Kessler Psychological Distress Scale (K10) and the Mental Health Literacy Assessment. Descriptive statistics and Pearson's correlation coefficient were used for data analysis. The results found that: 1. Persons with advanced cancer had a high level of mental health literacy at 76.40 percent, a moderate level at 22.60 percent, and a low level or need for improvement at only 0.90 percent. 2. Regarding psychological distress with advanced cancer, 37.70 percent had an abnormal to moderate degree, 32.10 percent had an abnormal to mild degree, 23.60 percent had an abnormal to normal degree, and 6.60 percent had an abnormal to severe degree. 3. The components of mental health literacy had a moderate and high-level negative with psychological distress among persons with advanced cancer, and the significant of .01 (r =-.630, r = -.882, and r = -.881). 4. Mental health literacy had a moderate-level negative correlation with psychological distress among persons with advanced cancer with significance of .01 (r = -.626). The results of this research can be used as fundamental information for healthcare professionals to develop mental health literacy and care management for psychological distress in persons with advanced cancer.en_US
dc.language.isootheren_US
dc.publisherเชียงใหม่ : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่en_US
dc.subjectสุขภาพจิตen_US
dc.subjectความทุกข์ทางใจen_US
dc.titleความรอบรู้ด้านสุขภาพจิตและความทุกข์ทางใจในผู้ที่เป็นโรคมะเร็งระยะลุกลามen_US
dc.title.alternativeMental health literacy and psychological distress among persons with advanced canceren_US
dc.typeThesis
thailis.controlvocab.thashผู้ป่วย -- สุขภาพจิต-
thailis.controlvocab.thashสุขภาพจิต-
thailis.controlvocab.thashความทุกข์-
thailis.controlvocab.thashผู้ป่วย -- การดูแล-
thailis.controlvocab.thashมะเร็ง -- การรักษา-
thailis.controlvocab.thashมะเร็ง -- ผู้ป่วย-
thailis.controlvocab.thashการลุกลามของมะเร็ง-
thesis.degreemasteren_US
thesis.description.thaiAbstractผู้ที่เป็นโรคมะเร็งระยะลุกลามต้องเผชิญกับสภาวะทุกข์ทางใจ โดยไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้ ทั้งความทุกข์ทรมานจากความเจ็บปวด ผลข้างเคียงจากการรักษา การสูญเสียความเป็นผู้ที่มีสุขภาพดี การปรับตัวในการทำงาน การใช้ชีวิต และค่าใช้จ่ายที่เพิ่มสูงขึ้น เป็นผลให้เกิดความกดดัน และความเครียดระดับสูง ความทุกข์ทางใจเช่นนี้หากไม่ได้รับการคัดกรองระดับความรุนแรง รวมทั้งการดูแลช่วยเหลือด้านจิตใจ และการป้องกันปัญหานี้อย่างมีประสิทธิภาพ ย่อมส่งผลให้เกิดปัญหาสุขภาพจิต ที่อาจนำไปสู่การฆ่าตัวตาย และเกิดโรคร่วมทางจิตเวชได้ การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงพรรณนาหาความสัมพันธ์ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างความรอบรู้ด้านสุขภาพจิตและความทุกข์ทางใจในผู้ที่เป็นโรคมะเร็งระยะลุกลาม กลุ่มตัวอย่างคือผู้ที่เป็นโรคมะเร็งระยะลุกลาม ภายในพื้นที่รับผิดชอบของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จำนวน 106 คน เครื่องมือที่ใช้ในการรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบประเมินความทุกข์ทางใจเคสเลอร์ 10 (K10) และแบบประเมินความรอบรู้ด้านสุขภาพจิต วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนาและสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบ สเปียแมน ผลการศึกษาพบว่า 1. ผู้ที่เป็นโรคมะเร็งระยะลุกลาม ร้อยละ 76.40 มีความรอบรู้ด้านสุขภาพจิตระดับสูง รองลงมาคือระดับปานกลาง ร้อยละ 22.60 และมีความรอบรู้ด้านสุขภาพจิตระดับต่ำหรือต้องปรับปรุง ร้อยละ 0.90 2. ความทุกข์ทางใจในผู้ที่เป็นโรคมะเร็งระยะลุกลาม ร้อยละ 37.70 มีแนวโน้มที่จะมีความผิดปกติระดับปานกลาง ร้อยละ 32.10 มีแนวโน้มที่จะมีความผิดปกติเล็กน้อย ร้อยละ 23.60 อยู่ในระดับค่อนข้างปกติ และร้อยละ 6.60 มีแนวโน้มที่จะผิดปกติอย่างรุนแรง 3. ความสัมพันธ์ระหว่างความรอบรู้ด้านสุขภาพจิตแต่ละองค์ประกอบและความทุกข์ทางใจใน ผู้ที่เป็นมะเร็งระยะลุกลามมีความสัมพันธ์กันทางลบในระดับปานกลางและระดับสูง (r=-.630, r=-.882และ-.881) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<.01) 4. ความสัมพันธ์ระหว่างความรอบรู้ด้านสุขภาพจิตและความทุกข์ทางใจในผู้ที่เป็นมะเร็งระยะลุกลามมีความสัมพันธ์กันทางลบในระดับปานกลาง (r=-.626) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<.01) ผลการวิจัยนี้สามารถนำไปเป็นข้อมูลพื้นฐานแก่บุคคลากรสาธารณสุขที่มีส่วนเกี่ยวข้อง ในการพัฒนาความรอบรู้ด้านสุภาพจิตให้แก่ผู้ที่เป็นโรคมะเร็งระยะลุกลามเพื่อหาแนวทางในการจัดการกับความทุกข์ทางใจในผู้ที่เป็นโรคมะเร็งระยะลุกลามในลำดับต่อไปen_US
Appears in Collections:NURSE: Theses



Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.