Please use this identifier to cite or link to this item: http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/79386
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorจุฑามาส คุ้มชัย-
dc.contributor.advisorวีณัน บัณฑิตย์-
dc.contributor.authorณัฐวัตร อนันกุลen_US
dc.date.accessioned2024-01-08T01:24:00Z-
dc.date.available2024-01-08T01:24:00Z-
dc.date.issued2566-11-22-
dc.identifier.urihttp://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/79386-
dc.description.abstractThe multi-pistillate flower (MPF) trait, characterized by having more than one female flower per node in cucumber plants, plays a crucial role in cucumber yield improvement. The study made an assessment of cucumber varieties to select parents for creating the first (F1) and second (F2) hybrid populations, focusing on ensuring the homogeneity of the parental lines. Genetic characteristics, including MPFs per node, the number of nodes with MPF, MPF trait heterosis of mid-parent, and heterobeltiosis, were meticulously recorded. Subsequently, the presence of multi-pistillate flower traits was verified by the single nucleotide polymorphisms (SNPs) analysis. It was found that the selected female variety (EWSCU-809) exhibited the genetic trait of MPF and high genetic stability at 97.14%, significantly different from other varieties except EWSCU-173 and EWSCU-989; while the selected male variety (EWSCU-989) showed the genetic trait of single-pistillate flower (SPF) with a high genetic stability of 95.24%, significantly different from other varieties in the SPF group. The selected parental varieties were used to produce the F1 hybrid population. Then, the mid-parent heterosis and heritability for the MPF trait were determined using the number of MPFs per node and the number of nodes with MPF. The results unveiled a negative direction in the values. The heterosis and heterobeltiosis expressed by the number of MPFs per node were -50.23% and -72.07%, respectively while those shown by the number of nodes with MPFs were -90.08% and -95.04%, respectively. The F2 population, consisting of 219 plants, was used to create a linkage map with 244 SNP molecular markers covering all seven cucumber chromosomes. This map was then employed for QTL mapping analysis to identify molecular markers associated with the multi-pistillate flower trait. The dataset included two sets of information: average data for the MPFs per node and the number of nodes with MPFs. The QTL mapping analysis for the MPFs per node revealed three QTL positions, namely qMP2.1, qMP3, and qMP7, located on chromosomes 2, 3, and 7, respectively. These QTLs had LOD scores ranging from 4.34 to 7.53, and phenotypic variation explained (PVE) percentages between 5.6% and 10.3%. Regarding the data on the number of nodes with MPFs, four relevant QTL positions were identified: qMP2.2, qMP3, qMP4, and qMP7 on chromosomes 2, 3, 4, and 7, respectively. The LOD scores for these QTLs ranged from 4.29 to 7.58, and the PVE values were between 5.8% and 10.6%. The QTL analysis related to both datasets found that almost all QTLs were linked with the same SNP molecular markers or had closely adjacent positions. The exception was only qMP4 on chromosome 4, which showed a specific association with the trait related to the data on the number of nodes with more than one female flower. These QTLs demonstrate a promising trend for their potential use in supporting conventional breeding efforts to improve efficiency and accelerate the processes for achieving higher cucumber yields.en_US
dc.language.isootheren_US
dc.publisherเชียงใหม่ : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่en_US
dc.titleการใช้เครื่องหมายโมเลกุลชนิด Single Nucleotide Polymorphisms (SNPs) เพื่อตรวจสอบลักษณะ Multi-pistillate Flower ในแตงกวาen_US
dc.title.alternativeUsing of single nucleotide polymorphisms (SNPs) for verifying multi-pistillate flower trait in cucumberen_US
dc.typeThesis
thailis.controlvocab.thashแตงกวา-
thailis.controlvocab.thashโมเลกุล-
thailis.controlvocab.thashพืชสวน-
thesis.degreemasteren_US
thesis.description.thaiAbstractลักษณะ multi-pistillate flower เป็นลักษณะของต้นแตงกวาที่มีจำนวนดอกเพศเมียมากกว่า 1 ดอกต่อข้อ ซึ่งมีความสำคัญและมีผลต่อผลผลิตของแตงกวา การศึกษานี้ได้ประเมินพันธุ์แตงกวาเพื่อคัดเลือกพ่อแม่พันธุ์สำหรับการสร้างประชากรลูกผสมชั่วที่ 1 (F1) และ ชั่วที่ 2 (F2) ประเมินความคงตัวทางพันธุกรรมของพ่อและแม่ บันทึกจำนวนดอกเพศเมียต่อข้อจำนวนข้อที่มีดอกเพศเมียมากกว่าหนึ่งดอกต่อข้อ ความดีเด่นของลูกผสมจากค่าเฉลี่ยของพ่อและแม่ และพ่อหรือแม่ที่ดีที่สุด จากนั้นได้นำเครื่องหมายโมเลกุลชนิด single nucleotide polymorphisms (SNPs) มาตรวจสอบ multi-pistillate flower ผลการศึกษาพบว่า สายพันธุ์แม่ (EWSCU-809) มีลักษณะพันธุกรรมของการออกดอกแบบ multi-pistillate flower การแสดงเพศดอกแบบ gynoecious และมีความคงตัวทางพันธุกรรมสูง 97.14 % ซึ่งแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติกับพันธุ์อื่น ๆ ยกเว้น EWSCU-173 และ EWSCU-989 ในขณะที่สายพันธุ์พ่อคัดเลือก EWSCU-989 มีลักษณะพันธุกรรมของการออกดอกแบบ single-pistillate flower การแสดงเพศดอกแบบ predominantly gynoecious และมีความคงตัวทางพันธุกรรมสูง 95.24 % ซึ่งแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติกับกลุ่มที่เป็น single-pistillate flower ด้วยกัน เมื่อได้สายพันธุ์พ่อ และแม่แล้วนำมาสร้าง F1 คำนวณค่าความดีเด่นของลูกผสมแบบค่าเฉลี่ยของพ่อและแม่ และพ่อหรือแม่ที่ดีที่สุด ของลักษณะจำนวนดอกเพศเมียเฉลี่ยต่อข้อพบมีค่าเป็นไปในทิศทางลบ ซึ่งค่า heterosis และ heterobetiosis เท่ากับร้อยละ -50.23 และ -72.07 ตามลำดับ สำหรับข้อมูลจำนวนข้อที่มีดอกเพศเมียมากกว่าหนึ่งดอกต่อข้อมีค่าเป็นไปในทิศทางลบเช่นกัน โดยค่า heterosis และ heterobeltiosis มีค่าเท่ากับ -90.08 และ -95.04 ตามลำดับ ประชากรลูกผสมชั่วที่ 2 จำนวน 219 ต้น ถูกนำมาสร้างแผนที่ทางพันธุกรรม (linkage map) ด้วยเครื่องหมายโมเลกุลชนิด SNPs จำนวน 244 เครื่องหมาย ซึ่งมีตำแหน่งครอบคลุมโครโมโซมทั้ง 7 แท่งของแตงกวา และนำมาใช้วิเคราะห์ QTL mapping เพื่อค้นหาเครื่องหมายโมเลกุลที่มีความสัมพันธ์กับลักษณะ multi-pistillate flower จำนวน 2 ชุดข้อมูล ประกอบด้วย ข้อมูลค่าเฉลี่ยดอกเพศเมียต่อข้อ และข้อมูลจำนวนข้อที่มีดอกเพศเมียมากกว่าหนึ่งดอกต่อข้อ ผลการวิเคราะห์ QTL mapping สำหรับข้อมูลค่าเฉลี่ยดอกเพศเมียต่อข้อพบว่า มี QTL 3 ตำแหน่งได้แก่ qMP2.1, qMP3 และ qMP7 บนโครโมโซมที่ 2, 3 และ 7 ตามลำดับ ซึ่งมีค่า LOD ระหว่าง 4.34 – 7.53 และมีค่า phenotypic variation explained (PVE) ที่ 5.6 – 10.3 เปอร์เซ็นต์ ส่วนข้อมูลจำนวนข้อที่มีดอกเพศเมียมากกว่าหนึ่งดอกต่อข้อ มี QTL ที่เกี่ยวข้อง 4 ตำแหน่ง คือ qMP2.2, qMP3, qMP4 และ qMP7 บนโครโมโซม 2, 3, 4 และ 7 ตามลำดับ ค่า LOD อยู่ระหว่าง 4.29 – 7.58 โดยมีค่า PVE ที่ 5.8 – 10.6 เปอร์เซ็นต์ จากผลการวิเคราะห์ QTL ที่สัมพันธ์กับข้อมูลทั้ง 2 ชุด พบว่า เกือบทุก QTL นั้นเชื่อมโยงด้วยเครื่องหมายโมเลกุล SNPs เดียวกันหรือมีตำแหน่งที่ใกล้เคียง ยกเว้นเพียง qMP4 บนโครโมโซมที่ 4 ที่มีความสัมพันธ์ที่เฉพาะกับลักษณะจำเพาะกับข้อมูลจำนวนข้อที่มีดอกเพศเมียมากกว่าหนึ่งดอกต่อข้อ ซึ่ง QTL เหล่านี้มีแนวโน้มที่จะนำมาใช้สนับสนุนการปรับปรุงพันธุ์เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและเพิ่มความรวดเร็วของขั้นตอนเพื่อให้แตงกวามีผลผลิตที่มากขึ้นได้en_US
Appears in Collections:AGRI: Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
620831060-NATTAWAT ANANKUL.pdf1.72 MBAdobe PDFView/Open    Request a copy


Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.