Please use this identifier to cite or link to this item: http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/79375
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorจุฬาลักษณ์ เขมาชีวะกุล-
dc.contributor.authorกวิสรา แสนเหนือen_US
dc.date.accessioned2024-01-04T10:49:25Z-
dc.date.available2024-01-04T10:49:25Z-
dc.date.issued2023-12-
dc.identifier.urihttp://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/79375-
dc.description.abstractPouteria cambodiana or “Nom-nang” is a perennial plant that has a wide distribution in tropical regions and the northern region of Thailand. The bark of this plant has been used for the purpose of promoting lactation among breastfeeding mothers. Moreover, P. cambodiana bark has a high nutraceutical potential due to the presence of saponins, which are secondary metabolites. The purpose of this study was to determine the optimal conditions for ultrasound-assisted extraction (UAE) of saponins from the bark of P. cambodiana and to assess the in vitro inhibitory activities of saponin-rich extracts. The purpose of this study was to determine the optimal ultrasound-assisted extraction (UAE) to obtain high of saponins content. The impact of various extraction temperatures (40, 50, and 60 °C) and ethanol concentration levels (50, 60, and 70%) on the saponin compound was assessed. The most effective extraction conditions involved a temperature of 50°C and a 50% concentration level of ethanol as the solvent, which allowed the extraction of saponin content and total phenolic compounds, which were 36.04 ± 0.15 mg/g and 314.70 ± 0.55 mg GAE/g sample, respectively. The maximum antioxidant activity by DPPH was 1224.73 ± 21.01 and FRAP was 521.86 ± 4.65 mg Trolox/g sample, respectively. Saponin that has been hydrolyzed by acid is converted into sapogenin. Saponin-rich extracts and their hydrolysates from P. cambodiana bark were evaluated for their ability to inhibits alpha-glucosidase and pancreatic lipase activities. The study found that the saponin-rich extracts ability to inhibits α-glucosidase displayed the lowest IC50 value of 0.10 ± 0.01 mg/mL, when compared to the IC50 values of the sapogenin-rich extracts (2.98 ± 0.33 mg/mL) and acarbose (0.15 ± 0.01 mg/mL). In the case of pancreatic lipase, the findings indicated that the inhibitory effects of the sapogenin-rich extracts demonstrated an IC50 value of 7.60 ± 0.01 mg/mL, which was significantly lower compared to the saponin-rich extracts (>1000 mg/mL), while Oristat standard had the lowest IC50 value of 2.36 mg/mL. According to the results of the study on the stability of the saponin-rich extract powder transferred to aluminum foil bags and subsequently sealed under vacuum conditions prior to being stored at controlled temperatures at 25, 35, and 45 ˚C for 3 months, both chemical and physical alterations were discovered. It is affected by temperature under different circumstances. The results of this study found that the amount of saponin remaining was 7.29 ± 0.06 mg/g decrease to 70% and the total phenolic compounds remaining was 202.06 ± 0.72 mg GAE/g sample decrease to 80%, respectively. Furthermore, the antioxidation activity of DPPH and FRAP decreased similarly. The DPPH and FRAP exhibited the greatest decrease, resulting in values of 120.38 ± 2.53 decrease to 45%, and FRAP was 79.48 ± 1.56 mg Trolox/g sample decrease to 60%, respectively. For the change in moisture content and water activity values was found that the moisture content was 5.26 - 7.68% and water activity was 0.4, respectively. In terms of colour values, it was discovered that there was a minor rise in trend during the 3 months of storage. L*, a*, and b* values ranging from 79.00±0.88, 7.99 ±0.18, and 14.65± 0.18, respectively. The saponin contents of dried extract stored at a low temperature of 25 °C for 2 months showed the best stability, with saponin content more than 90% retention. In vitro cytotoxicity study of the extract saponin powder was tested to L929 fibroblast cell lines to determine the concentration that causes cytotoxicity. The IC50 value of 37.5 µg/mL. The cell survival value is greater than 80% (89.15%), indicating that the saponin powder extract is lowest toxic tested to L929 fibroblast cell lines. As a result, the herbal bark of Nom Nang can be further developed into functional food products to increase the benefits and value of the products.en_US
dc.publisherเชียงใหม่ : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่en_US
dc.titleการสกัดซาโพนินจากเปลือกไม้สมุนไพรนมนาง (Pouteria cambodiana) และฤทธิ์ในการยับยั้งกิจกรรมของเอนไซม์ไลเปสและกลูโคซิเดสen_US
dc.title.alternativeSaponin extraction from pouteria cambodiana bark and inhibitory activities effect on lipase and glucosidaseen_US
dc.typeThesis-
thailis.controlvocab.thashซาโปนิน-
thailis.controlvocab.thashเปลือกไม้ -- การใช้ประโยชน์-
thailis.controlvocab.thashสารสกัดจากพืช-
thailis.controlvocab.thashคลื่นเสียงความถี่สูง-
thailis.controlvocab.thashการรักษาด้วยสมุนไพร-
thesis.degreemasteren_US
thesis.description.thaiAbstractPouteria cambodiana หรือ “นมนาง” เป็นไม้ยืนต้นที่พบอย่างแพร่กระจายทั่วไปในแถบภูมิภาคเขตร้อนและบริเวณภาคเหนือของประเทศไทย เปลือกของพืชชนิดนี้ถูกนำมาใช้ประโยชน์ด้านการกระตุ้นน้ำนมในมารดาให้นมบุตรจากฤทธิ์ของซาโพนินซึ่งเป็นสารทุติยภูมิและสารออกฤทธิ์ทางชีวภาพที่สำคัญ งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษากระบวนการสกัดสารซาโพนินด้วยวิธีคลื่นเสียงความถี่สูง (ultrasound assisted extraction; UAE) เพื่อให้ได้ปริมาณซาโพนินที่มีความเข้มข้นสูงจากเปลือกไม้สมุนไพรนมนาง โดยเปรียบเทียบอุณหภูมิในการสกัดที่ระดับต่างๆ ได้แก่ 40 50 และ 60 °C และเปรียบเทียบความเข้มข้นของตัวทำละลายเอทานอลร้อยละ 50 60 และ 70 ผลการศึกษาพบว่า สภาวะการสกัดอุณหภูมิที่ 50 °C ที่ระดับความเข้มข้นสารละลายทานอลร้อยละ 50 มีปริมาณซาโพนินและสารประกอบฟีนอลทั้งหมดมากที่สุดเท่ากับ 36.04 ± 0.08 มิลลิกรัมต่อกรัม และ 314.70 ± 0.55 มิลลิกรัมสมมูลกรดแกลลิกต่อกรัม ตามลำดับ กิจกรรมการต้านออกซิเดชันด้วยวิธี DPPH และ FRAP สูงที่สุดเท่ากับ 1,224.73 ± 21.01 และ 512.86 ± 4.65 มิลลิกรัมสมมูลโทรลอกซ์ต่อกรัม ตามลำดับ จากกระบวนการไฮโดรไลซ์สารสกัดซาโพนินด้วยกรดจะทำให้ซาโพนินเปลี่ยนแปลงไปอยู่รูปของซาโพจินิน สำหรับการศึกษาสารสกัดซาโพนินและซาโพจินินต่อฤทธิ์ในการยับยั้งกิจกรรมเอนไซม์แอลฟากลูโคซิเดสและไลเปสจากตับอ่อนในหลอดทดลอง จากการศึกษาพบว่าสกัดซาโพนินต่อฤทธิ์ในการยับยั้งเอนไซม์แอลฟากลูโคซิเดสมีค่า IC50 เท่ากับ 0.10 มิลลิกรัมต่อมิลลิลิตร ซึ่งมีฤทธิ์การยับยั้งมากกว่าเมื่อเปรียบเทียบกับสารสกัดซาโพจินิน (IC50 เท่ากับ 2.98 มิลลิกรัมต่อมิลลิลิตร ) และสารมาตรฐานอะคาร์โบส (IC50 เท่ากับ 0.15 มิลลิกรัมต่อมิลลิลิตร) สำหรับการยับยั้งกิจกรรมเอนไซม์ไลเปสจากตับอ่อน พบว่าสกัดซาโพจินินแสดงฤทธิ์ยับยั้งมากกว่าโดยมีค่า IC50 เท่ากับ 7.60 มิลลิกรัมต่อมิลลิลิตร เมื่อเปรียบเทียบกับสารสกัดซาโพนิน (>1000 มิลลิกรัมต่อมิลลิลิตร) ในขณะที่ สารมาตรฐานออริสแตทแสดงฤทธิ์ยับยั้งมากที่สุดโดยมีค่า IC50 ต่ำที่สุดเท่ากับ 2.36 มิลลิกรัมต่อมิลลิลิตร จากผลการศึกษาความคงตัวของสารสกัดผงซาโพนินที่ผ่านการทำแห้งแบบพ่นฝอยในระหว่างการเก็บรักษาในสภาวะอุณหภูมิที่ 25 35 และ 45 °C เป็นระยะเวลา 3 เดือน บรรจุแบบสุญญากาศในถุงอลูมิเนียมฟอยด์พบการเปลี่ยนแปลงทั้งทางเคมีและทางกายภาพที่เป็นผลกระทบจากอุณหภูมิในสภาวะต่างๆ โดยปริมาณสารสำคัญมีแนวโน้มลดลงตลอดการเก็บรักษาผลิตภัณฑ์เป็นเวลา 3 เดือน โดยมีปริมาณซาโพนินคงเหลือเท่ากับ 7.29 ± 0.06 มิลลิกรัมต่อกรัม ลดลงเหลือร้อยละ 70 และปริมาณสารประกอบฟีนอลทั้งหมดคงเหลือเท่ากับ 202.06 ± 0.72 มิลลิกรัมสมมูลกรดกาลิกต่อกรัม ลดลงเหลือร้อยละ 80 สำหรับกิจกรรมต้านออกซิเดชัน DPPH และ FRAP มีแนวโน้มที่ลดลงเช่นเดียวกัน โดยมีปริมาณคงเหลือเท่ากับ 120.38 ± 2.53 มิลลิกรัมสมมูลโทรลอกซ์ต่อกรัม ลดลงเหลือร้อยละ 45 กิจกรรมการต้านออกซิเดชัน FRAP มีปริมาณคงเหลือเท่ากับ 79.48 ± 1.56 มิลลิกรัมสมมูลโทรลอกซ์ต่อกรั ลดลงเหลือร้อยละ 60 ตามลำดับ สำหรับการเปลี่ยนแปลงการเก็บตัวอย่างสารสกัดผงซาโพนินบรรจุแบบสุญญากาศในถุงอลูมิเนียมฟอยด์ พบว่าปริมาณความชื้นอยู่ในช่วงร้อยละ 5.26 - 7.68 และค่าวอเตอร์แอคทิวิตี้เท่ากับ 0.4 ตามลำดับ สำหรับค่าสี พบว่าค่า L* a* และ b* มีแนมโน้มเพิ่มขึ้นเพียงเล็กน้อย โดยค่า L* a* และ b* มีค่าเท่ากับ 79.03±0.88 7.99± 0.18 และ 14.65 ± 0.18 ตามลำดับ ผลการศึกษาสภาวะที่ใช้ในการเก็บรักษาตัวอย่างผงที่ระดับอุณหภูมิเท่ากับ 25 ˚C เป็นระยะเวลา 2 เดือน มีความคงตัวของสารซาโพนินมากที่สุดโดยมีค่าร้อยละการหลงเหลือของซาโพนินมากกว่าร้อยละ 90 จากการศึกษาความเป็นพิษของสารสกัดซาโพนินผงต่อเซลล์ไฟโบรบลาสต์ชนิด L929 มีค่า IC50 เท่ากับ 37.5 ไมโครกรัมต่อมิลลิลิตร มีค่าการรอดชีวิตของเซลล์มากกว่าร้อยละ 80 (ร้อยละ 89.15) แสดงให้เห็นว่าสารสกัดผงซาโพนินมีความเป็นพิษต่อเซลล์ไฟโบรบลาสต์ชนิด L929 ในระดับที่ต่ำมาก ดังนั้น จากการศึกษาส่วนของเปลือกสมุนไพรนมนางมีความปลอดภัยสำหรับการเป็นวัตถุดิบเพื่อใช้ต่อยอดในการพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์อาหารเชิงหน้าที่ต่อไปen_US
Appears in Collections:AGRO: Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
กวิสรา_แสนเหนือ_641331006.pdf2.93 MBAdobe PDFView/Open    Request a copy


Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.