Please use this identifier to cite or link to this item: http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/79349
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorจิตตวดี เหรียญทอง-
dc.contributor.advisorศิริรัตน์ ปานอุทัย-
dc.contributor.authorมัณฑนา อนุจาen_US
dc.date.accessioned2023-12-18T10:55:29Z-
dc.date.available2023-12-18T10:55:29Z-
dc.date.issued2023-10-
dc.identifier.urihttp://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/79349-
dc.description.abstractHydration literacy can help older persons with chronic diseases analyze their own adequate daily water consumption. They can also make decisions to increase or decrease their daily water intake to maintain an appropriate level for their health condition. This correlation descriptive research aimed to describe hydration literacy, fluid intake, and the association between hydration literacy and fluid intake among older persons with chronic diseases. The sample consisted of 213 older persons with chronic diseases who received healthcare service from three sub-district Health Promotion Hospitals in Mueang Lamphun district, Lamphun province, from May to August 2023. The participants were selected using proportional stratified random sampling and met the criteria of having a chronic disease diagnosis from a physician, having normal cognition function, being able to drink orally, and having the ability to measure and record water intake. The tools for data collection included a demographic and illness data recording form, a water intake record form, and a hydration literacy interview measurement. The hydration literacy interview measurement was tested for reliability and an acceptable coefficient of 0.93 was obtained. Data were analyzed using descriptive statistics and Pearson's correlation coefficient. The results showed that the older persons with chronic diseases had a moderate level of hydration literacy. Average daily fluid intake was 2,413.97 milliliters which was above the standard criteria. Hydration literacy was positively and statistically correlated with fluid intake at a moderate level (r = .514, p < .01). The results of this research can be used as information for healthcare professionals involved in caring for older persons with chronic diseases, in promoting hydration literacy to make older persons with chronic diseases receive appropriate amount of fluid intake.en_US
dc.language.isootheren_US
dc.publisherเชียงใหม่ : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่en_US
dc.titleความรอบรู้ด้านความต้องการน้ำและปริมาณสารน้ำที่ได้รับในผู้สูงอายุโรคเรื้อรังen_US
dc.title.alternativeHydration literacy and fluid intake among older persons with chronic diseasesen_US
dc.typeThesis
thailis.controlvocab.thashผู้สูงอายุ -- โรค-
thailis.controlvocab.thashผู้ป่วยโรคเรื้อรัง-
thailis.controlvocab.thashการพยาบาลผู้สูงอายุ-
thailis.controlvocab.thashสารน้ำในร่างกาย-
thesis.degreemasteren_US
thesis.description.thaiAbstractผู้สูงอายุโรคเรื้อรังที่มีความรอบรู้ด้านความต้องการน้ำจะช่วยให้ผู้สูงอายุสามารถวิเคราะห์ถึงความเพียงพอของปริมาณน้ำที่บริโภคต่อวันของตนเองได้ และสามารถตัดสินใจในการเพิ่มหรือลดปริมาณน้ำที่บริโภคต่อวันเพื่อให้อยู่ในระดับที่เหมาะสมกับภาวะการเจ็บป่วย การวิจัยเชิงพรรณนาความสัมพันธ์มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความรอบรู้ด้านความต้องการน้ำและปริมาณสารน้ำที่ได้รับ และความสัมพันธ์ระหว่างความรอบรู้ด้านความต้องการน้ำและปริมาณน้ำที่ได้รับในผู้สูงอายุโรคเรื้อรัง กลุ่มตัวอย่างคือผู้สูงอายุที่มีโรคเรื้อรัง จำนวน 213 ราย ที่มารับบริการที่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล 3 แห่ง ในเขตอำเภอเมืองลำพูน จังหวัดลำพูน ระหว่างเดือนพฤษภาคม ถึง เดือนสิงหาคม พ.ศ. 2566 คัดเลือกกลุ่มตัวอย่างโดยใช้วิธีการการสุ่มตัวอย่างตามสัดส่วนประชากรในแต่ละตำบล โดยมีคุณสมบัติคือได้รับการวินิจฉัยจากแพทย์ว่าเป็นโรคเรื้อรัง มีสติปัญญาและการรับรู้ปกติ ดื่มน้ำทางปากได้ และมีความสามารถในการวัดและการบันทึกปริมาณสารน้ำ เครื่องมือที่ใช้ในการรวบรวมข้อมูลประกอบด้วยแบบสอบถามข้อมูลทั่วไปและข้อมูลการเจ็บป่วย แบบบันทึกปริมาณสารน้ำที่ได้รับ และแบบสัมภาษณ์ความรอบรู้ด้านความต้องการน้ำที่มีค่าสัมประสิทธิ์ความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.93 และวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนาและสถิติสหสัมพันธ์เพียร์สัน ผลการวิจัยพบว่าผู้สูงอายุโรคเรื้อรังมีความรอบรู้ด้านความต้องการน้ำระดับปานกลาง ค่าเฉลี่ยปริมาณสารน้ำที่ได้รับต่อวันคือ 2,413.97 มิลลิลิตรซึ่งอยู่ในระดับมากกว่าเกณฑ์ ความรอบรู้ด้านความต้องการน้ำและปริมาณสารน้ำที่ได้รับในผู้สูงอายุโรคเรื้อรังมีความสัมพันธ์กันทางบวกในระดับปานกลางอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ (r = .514, p < .01) ผลการวิจัยครั้งนี้เป็นข้อมูลสำหรับบุคลากรทางด้านสุขภาพที่เกี่ยวข้องในการดูแลผู้สูงอายุที่มีโรคเรื้อรัง ในการส่งเสริมความความรอบรู้ด้านความต้องการน้ำเพื่อให้ผู้สูงอายุโรคเรื้อรังได้รับน้ำอย่างเพียงพอen_US
Appears in Collections:NURSE: Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
641231116 มัณฑนา อนุจา - WM.pdf6.71 MBAdobe PDFView/Open    Request a copy


Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.