Please use this identifier to cite or link to this item:
http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/79348
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | จิตตวดี เหรียญทอง | - |
dc.contributor.advisor | ศิริรัตน์ ปานอุทัย | - |
dc.contributor.author | ชาตรี สีดาคำ | en_US |
dc.date.accessioned | 2023-12-18T10:49:50Z | - |
dc.date.available | 2023-12-18T10:49:50Z | - |
dc.date.issued | 2023-11 | - |
dc.identifier.uri | http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/79348 | - |
dc.description.abstract | Promotion of health literacy is essential for elderly monks with hypertension to be able to manage their conditions well and keep their blood pressure at an appropriate level. This experimental research aimed to study the effectiveness of PITS and technology-based education to promote health literacy among elderly monks with hypertension. The sample group consisted of elderly monks diagnosed with hypertension who received care at Health Promoting Hospitals in Mueang Nakhon Sawan district, Nakhon Sawan province. Fifty-four participants selected by simple random sampling were divided into a control group and an experimental group of 27 each. The experimental group received four sessions of group teaching and one session of individual teaching over a span of three weeks, while the control group received usual care. Data collection instruments included 1) an interview form on personal and illness data, 2) an interview form on health literacy for elderly monks with hypertension, 3) an interview form on self-management behaviours of elderly monks with hypertension, and 4) an automatic blood pressure measurement device. The data were analyzed using descriptive statistics, the independent t-test, and the dependent t-test. The results show that the elderly monks with hypertension who received PITS and technology-based education had significantly higher mean scores for health literacy than those who received usual care (p < .01) and the scores after receiving teaching were higher than the pre-teaching scores (p < .01). Regarding self-management, the experimental group’s mean scores were significantly higher than the control group’s (p < .01), and they were higher than the pre-teaching scores (p < .01). Also, the experimental group had a significantly lower in mean blood pressure than the control group (p < .01), and their mean blood pressure was significantly lower than the pre-teaching period (p < .01). The results show that PITS and technology-based education are effective in improving health literacy and self-management and result in lower blood pressure levels. Healthcare professionals can apply PITS and technology-based education for health literacy promotion among elderly monks with hypertension for improvement in health literacy and self-management to control blood pressure levels. | en_US |
dc.language.iso | other | en_US |
dc.publisher | เชียงใหม่ : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ | en_US |
dc.title | ประสิทธิผลของการสอนตามหลักพิทส์ร่วมกับการใช้เทคโนโลยีเป็นฐานเพื่อส่งเสริมความรอบรู้ด้านสุขภาพในพระสงฆ์สูงอายุโรคความดันโลหิตสูง | en_US |
dc.title.alternative | Effectiveness of PITS and technology-based education to enhance health literacy among older monks with hypertension | en_US |
dc.type | Thesis | |
thailis.controlvocab.thash | สงฆ์ -- สุขภาพและอนามัย | - |
thailis.controlvocab.thash | ความดันเลือดสูง | - |
thailis.controlvocab.thash | การพยาบาล | - |
thesis.degree | master | en_US |
thesis.description.thaiAbstract | การส่งเสริมความรอบรู้ด้านสุขภาพเป็นสิ่งที่สำคัญสำหรับพระสงฆ์สูงอายุโรคความดันโลหิตสูงเพื่อให้สามารถจัดการสุขภาพของตนเองได้ดีและควบคุมระดับความดันโลหิตให้อยู่ในระดับที่เหมาะสม การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงทดลองมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประสิทธิผลของการสอนตามหลักพิทส์ร่วมกับการใช้เทคโนโลยีเป็นฐานเพื่อส่งเสริมความรอบรู้ด้านสุขภาพในพระสงฆ์สูงอายุโรคความดันโลหิตสูง กลุ่มตัวอย่าง คือ พระสงฆ์สูงอายุโรคความดันโลหิตสูงที่มารับบริการในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล เขตบริการอำเภอเมือง จังหวัดนครสวรรค์ คัดเลือกโดยการสุ่มอย่างง่ายจำนวน 54 ราย และสุ่มเข้ากลุ่มควบคุมและกลุ่มทดลองกลุ่มละ 27 ราย โดยกลุ่มทดลองได้รับการให้ความรู้แบบกลุ่ม 4 ครั้ง และแบบรายบุคคล 1 ครั้ง ใช้เวลาทั้งหมด 3 สัปดาห์ ส่วนกลุ่มควบคุมได้รับการดูแลตามปกติ เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ประกอบด้วย 1) แบบสัมภาษณ์ข้อมูลส่วนบุคคลและข้อมูลความเจ็บป่วย 2) แบบสัมภาษณ์ความรอบรู้ด้านสุขภาพของพระสงฆ์สูงอายุโรคความดันโลหิตสูง 3) แบบสัมภาษณ์การจัดการตนเองของพระสงฆ์สูงอายุโรคความดันโลหิตสูง และ 4) เครื่องวัดความดันโลหิตชนิดอัตโนมัติ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติพรรณนา การทดสอบทีแบบอิสระ และการทดสอบทีแบบไม่เป็นอิสระ ผลการวิจัยพบว่า ค่าเฉลี่ยคะแนนความรอบรู้ด้านสุขภาพของพระสงฆ์สูงอายุโรคความดันโลหิตสูงที่ได้รับการสอนตามหลักพิทส์ร่วมกับการใช้เทคโนโลยีเป็นฐานมากกว่ากลุ่มที่ได้รับการดูแลตามปกติอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < .01) และมากกว่าก่อนได้รับการสอนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < .01) ค่าเฉลี่ยคะแนนการจัดการตนเองของพระสงฆ์สูงอายุโรคความดันโลหิตสูงที่ได้รับการสอนตามหลักพิทส์ร่วมกับการใช้เทคโนโลยีเป็นฐานมากกว่ากลุ่มที่ได้รับการดูแลตามปกติอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < .01) และมากกว่าก่อนได้รับการสอนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < .01) และค่าเฉลี่ยความดันโลหิตของพระสงฆ์สูงอายุโรคความดันโลหิตสูงที่ได้รับการสอนตามหลักพิทส์ร่วมกับการใช้เทคโนโลยีเป็นฐานต่ำกว่ากลุ่มที่ได้รับการดูแลตามปกติอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < .01) และต่ำกว่าก่อนได้รับการสอนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < .01) ผลการวิจัยแสดงถึงประสิทธิผลของการสอนตามหลักพิทส์ร่วมกับการใช้เทคโนโลยีเป็นฐานที่สามารถส่งเสริมความรอบรู้ด้านสุขภาพและการจัดการตนเอง และส่งผลให้ระดับความดันโลหิตต่ำลง ดังนั้นบุคลากรด้านสุขภาพสามารถนำรูปแบบการสอนตามหลักพิทส์ร่วมกับการใช้เทคโนโลยีเป็นฐานไปประยุกต์ใช้ในการส่งเสริมความรอบรู้ด้านสุขภาพเพื่อให้พระสงฆ์สูงอายุโรคความดันโลหิตสูงมีความรอบรู้ด้านสุขภาพและการจัดการตนเองดีขึ้นเพื่อการควบคุมระดับความดันโลหิตได้ | en_US |
Appears in Collections: | NURSE: Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
641231158 ชาตรี สีดาคำ-WM.pdf | 2.24 MB | Adobe PDF | View/Open Request a copy |
Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.