Please use this identifier to cite or link to this item: http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/79346
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorชัยวุฒิ ตั้งสมชัย-
dc.contributor.authorจุติณัฏฐ์ รวิพรศิริen_US
dc.date.accessioned2023-12-18T10:28:04Z-
dc.date.available2023-12-18T10:28:04Z-
dc.date.issued2023-11-
dc.identifier.urihttp://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/79346-
dc.description.abstractThis independent study aimed to study the feasibility study on investment in chicken jerky dog treat production in Chiang Mai province. The study covered all five areas: environment, marketing, technical, management, and financial. The study was based on in-depth interview with three business operators producing chicken jerky dog treat, using a purposive selection method to gather information on economics, costs, expenses, production, management, and relevant laws. Data were collected through questionnaires from consumers and retailers in Chiang Mai Province, totaling of 384 and 300, respectively. The study focused on marketing and finance, and the results were analyzed and summarized using descriptive statistics, including frequencies, percentages, and averages. The results regarding the environment analysis indicated political effect of an increase in the minimum wage negatively impacted the project. In terms of the economic, society, and technology. however, the project had had a positive effect due to the economic recovery after the COVID-19 pandemic and changing behaviors of consumers, leading people to treat pets more like children. Concerning the industry competition, the study revealed that the dog treat market was highly competitive, requiring a substantial investment to ensure standardized and legitimate production. The results of the market feasibility study indicated a consistent annual growth rate in the dog treat market. This growth was attributed to the societal trend of treating dogs like children, with individuals willing to pay for high value and good pet products. Consequently, there was an opportunity for chicken jerky dog treat to thrive in this industry. The marketing strategy involved packaging of the product in a 300-gram bag, produced under GMP and Department of Livestock Development standards, with a retail price of 199 baht per packet and a wholesale price of 160-165 baht per packet (depending on order quantity). Distribution would occur through both online and offline channels, including retailers. Marketing efforts would be enhanced through activities, discounts, exchanges, and giveaways, especially during online Double Days, and by offering up to 30 days of trade discounts and trade credits to retailers. The technical feasibility study results showed that the factory location was moderately suitable, with adequate transportation facilities, community resources, raw material sources, and various public utilities. The production process involved 13 steps with efficiency controls and adherence to GMP standards. In terms of management feasibility, the study showed that the project had a total of 9 personnel distributed across four departments: production, quality insurance, accounting, and sales and marketing. The emphasis was on hiring quality personnel who would take responsibility and adhere strictly to the organization's regulations. The financial feasibility study results showed that the total starting capital was 8,000,000 baht, entirely from owner's equity. The project was set for ten years, with a payback period of two years, four months, three days, a NPV of 17,558,836 baht, an IRR of 49.96 percent, and profitability index of 2.19 times. Based on the study's assumptions, it was feasible to invest chicken jerky dog treat production in Chiang Mai province.en_US
dc.language.isootheren_US
dc.publisherเชียงใหม่ : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่en_US
dc.titleการศึกษาความเป็นไปได้ของการลงทุนในการผลิตขนมสุนัขสันในไก่อบแห้งในจังหวัดเชียงใหม่en_US
dc.title.alternativeFeasibility study on investment in chicken jerky dog treat production in Chiang Mai Provinceen_US
dc.typeIndependent Study (IS)
thailis.controlvocab.thashอาหารสัตว์-
thailis.controlvocab.thashอาหารสัตว์จากผลิตภัณฑ์สัตว์-
thailis.controlvocab.thashการลงทุน-
thesis.degreemasteren_US
thesis.description.thaiAbstractการค้นคว้าแบบอิสระครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความเป็นไปได้ในการผลิตขนมสุนัขสันในไก่อบแห้งในจังหวัดเชียงใหม่ เพื่อศึกษาความเป็นไปได้ของโครงการทั้ง 5 ด้าน ได้แก่ ด้านสภาพแวดล้อม ด้านการตลาด ด้านเทคนิค ด้านการจัดการ และด้านการเงิน โดยศึกษาจากการสัมภาษณ์เชิงลึกจากผู้ประกอบธุรกิจผลิตขนมสุนัขสันในไก่อบแห้ง จำนวน 3 ราย ด้วยวิธีคัดเลือกแบบเจาะจงเพื่อศึกษาข้อมูลในด้านเศรษฐกิจ ต้นทุน ค่าใช้จ่าย การผลิต การจัดการและกฎหมายต่างๆ และเก็บแบบสอบถามจากกลุ่มผู้บริโภคและกลุ่มผู้ค้าปลีกในจังหวัดเชียงใหม่ จำนวน 384 ราย และ 300 ราย ตามลำดับ ด้วยวิธีการสุ่มตัวอย่างแบบสะดวก เพื่อศึกษาในด้านการตลาดและการเงินโดยวิเคราะห์และสรุปผลในรูปแบบสถิติพรรณนาและการวิเคราะห์เชิงประมาณ โดยใช้ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ และค่าเฉลี่ย ผลการศึกษาความเป็นไปได้สภาพแวดล้อม พบว่า ด้านการเมืองมีการปรับขึ้นอัตราค่าจ้างขั้นต่ำทำให้ส่งผลลบต่อโครงการ ด้านเศรษฐกิจ สังคม และเทคโนโลยี ส่งผลบวกต่อโครงการ เนื่องจากเศรษฐกิจกำลังฟื้นตัวหลังจากการระบาดของโควิด – 19 รวมทั้ง พฤติกรรมที่เปลี่ยนไปทำให้คนนิยมเลี้ยงสัตว์เหมือนลูก ในด้านสภาพแวดล้อมของอุตสาหกรรมพบว่าตลาดขนมสุนัขสันในไก่อบแห้งมีสภาวะแข่งขันสูง และในการเข้ามาในอุตสาหกรรมนี้ใช้เงินลงทุนค่อนข้างสูงเพื่อทำให้การผลิตได้มาตรฐานและถูกต้องตามกฎหมาย ผลการศึกษาความเป็นไปได้ด้านการตลาดพบว่าตลาดขนมสุนัขมีอัตราการเติบโตที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องทุก ๆ ปี จากพฤติกรรมของคนในสังคมที่เลี้ยงสุนัขเหมือนลูกพร้อมจะจ่ายเพื่อซื้อสินค้าที่มีคุณค่าและมีประโยชน์ ส่งผลให้ขนมสุนัขสันในไก่อบแห้งมีโอกาสเติบโตในอุตสาหกรรมนี้ได้โดยกลยุทธ์ทางการตลาด ผลิตภัณฑ์ขนมสุนัขสันในไก่อบแห้งบรรจุซอง ขนาด 300 กรัม ด้วยการผลิตภายใต้มาตรฐานการผลิตผลิตภัณฑ์และกรมปศุสัตว์ มีราคาขายปลีก 199 บาทต่อซอง และราคาขายส่ง 160 -165 บาทต่อซอง (ขึ้นอยู่กับปริมาณการสั่งซื้อ) จัดจำหน่ายช่องทางออนไลน์และช่องทางออฟไลน์ผ่านผู้ค้าปลีก และส่งเสริมการตลาดด้วยวิธีจัดกิจกรรม ลด แลก แจก แถม ในช่วงวันที่มีเลขที่ตรงกับเลขเดือนนั้น ๆ สำหรับช่องทางออนไลน์หรือผู้บริโภคและมอบส่วนลดการค้าและเครดิตการค้าสูงสุด 30 วันให้กับผู้ค้าปลีก ผลการศึกษาความเป็นไปได้ด้านเทคนิค พบว่า ที่ตั้งโรงงานมีความเหมาะสมปานกลาง ประกอบไปด้วยสิ่งอำนวยความสะดวกทั้งด้านการขนส่ง แหล่งชุมชน แหล่งวัตถุดิบรวมถึงสาธารนูปโภคต่าง ๆ ในด้านการผลิตจะประกอบไปด้วยทั้งสิ้น 13 ขั้นตอน ที่มีการควบคุมประสิทธิภาพและมาตรฐานการผลิตผลิตภัณฑ์ ผลการศึกษาความเป็นไปได้ด้านการจัดการ พบว่า ทางโครงการมีบุคลากรรวมทั้งสิ้น 9 คน แบ่งออกเป็น 4 แผนก คือ แผนกผลิต แผนกประกันคุณภาพ แผนกบัญชี แผนกขายและการตลาดโดยมุ่งเน้นบุคลากรที่มีคุณภาพ ความรับผิดชอบ และปฏิบัติตามกฎขององค์กรอย่างเคร่งครัด ผลการศึกษาความเป็นไปได้ด้านการเงิน พบว่า เงินทุนเริ่มต้นทั้งหมดเป็น 8,000,000 บาท เป็นเงินส่วนของเจ้าของทั้งหมด กำหนดระยะเวลาโครงการเป็นเวลา 10 ปี โดยมีระยะเวลาคืนทุน 2 ปี 4 เดือน 3 วัน มูลค่าปัจจุบันสุทธิ 17,558,836 บาท อัตราผลตอบแทนภายในร้อยละ 49.96 ดัชนีกำไร 2.19 เท่า จึงสามารถสรุปได้ว่าโครงการผลิตขนมสันในไก่อบแห้งในจังหวัดเชียงใหม่มีความเป็นไปได้ในการลงทุนen_US
Appears in Collections:BA: Independent Study (IS)

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
641532062 จุติณัฏฐ์ รวิพรศิริ.pdf12.49 MBAdobe PDFView/Open    Request a copy


Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.