Please use this identifier to cite or link to this item: http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/79297
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorมาลินี คุ้มสุภา-
dc.contributor.authorพัชกานต์ ดอกพิกุลen_US
dc.date.accessioned2023-12-12T10:22:49Z-
dc.date.available2023-12-12T10:22:49Z-
dc.date.issued2023-10-28-
dc.identifier.urihttp://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/79297-
dc.description.abstractThis study of “Governmentality through identification card in Thailand (2011-2020)”, would like to answer the following questions: 1) What is the Thai government's control method? and how to governmentality through the identification card. 2) What phenomena affects the methods of governmentality style? and 3) What tools that the Thai government used to control and governmentality through identification card? This independent study is qualitative research used the documentary research in Thai political phenomena related to identification card from the reign of King Rama V until 2022 initially. Then using the research methodology based on in-depth interviews with key informant. There are 3 target population groups: 1) ordinary people 2) academics and 3) government officials. For the people, they are divided into 3 groups: 1) The 9 people living in the area Mueang Chiang Mai District Chiang Mai Province. 2) The 9 people living in the area Chiang Dao District Chiang Mai Province. 3) The 15 general public. The first 2 groups were subdivided into 3 groups according to their income levels: low, middle and high respectively. In addition, Conducted interviews with 5 academics, who are interested and have expertise in Thai political phenomena and there is knowledge related to governmentality. The last part is a group of government officials. Conduct interviews with 3 government officials, namely the official, the district secretary and the district chief who are directly involved in the preparation and practice of national identification card. The results of the research found that: 1) The form that the Thai state used to control and governmentality through identification card is the development of a data-collection system that is embedded in the lives of the people and enact laws to compel citizens to have identification card. It started with the census in 1890-1904 to collect information of people in various localities. Later, the Local Administration act in 1914 was issued, requiring the Amphoe Department to issue passports for citizens. Until the identification card act in 1943 was issued, which required Thai nationals aged 16 years and over in the Phra Nakhon and Thonburi areas to have identification card and the issuance of the identification card act in 1962, which requires all Thai nationals aged 17 years and over to have identification card. 2) Changing the style of governance towards governmentality occurred in 3 periods between 2001 and 2020 that are clearly evident. The first period was during the government of Mr. Thaksin Shinawatra (2001-2006) that brings the concept of identification card into connection with government services, such as the case of the medical welfare policy of 30 baht to treat all diseases and registering the poor. The second period was during the government of Ms. Yingluck Shinawatra (2011-2014) where the policy of 30 baht for all diseases was brought back into use and develop tax collection by changing the tax identification number to the same number as the identification card. The third period was during the government of General Prayut Chan-ocha (2014-2020) where people were allowed to bring their identification card to register at the district office to obtain a state welfare card and open for citizens to use their identification card to register the rights through the application (wallet/money bag). 3) At present, the state uses tools to create governmentality with identification card as a medium in two ways: providing services and controlling. As for the provision of services, it is development of data linkage with the identification card. Citizens can use just one card to access efficient government services, such as verifying their identity to receive government subsidies through the Paotang application and displaying vaccination history through the Doctor Prompt application, etc. In the controlling, section is hidden in the interaction between the government and the people. For example, the government can recognize income and using information through the application (wallet/money bag) to calculate tax collection, the state can control the spread of epidemics through checking people's vaccination history and recording of personal characteristics for use in investigating cases and security work. Keywords: Consensus; Products of Power; Governmentality; Political Fluctuations; Censusen_US
dc.language.isootheren_US
dc.publisherเชียงใหม่ : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่en_US
dc.titleการปกครองแบบชีวญาณผ่านบัตรประจำตัวประชาชนในสังคมไทย (พ.ศ. 2554-2563)en_US
dc.title.alternativeGovernmentality of identification card in Thailand (2011-2020)en_US
dc.typeThesis
thailis.controlvocab.thashบัตรประชาชน -- เชียงใหม่-
thailis.controlvocab.thashเชียงใหม่ -- สำมะโนประชากร-
thailis.controlvocab.thashไทย -- การเมืองและการปกครอง-
thesis.degreemasteren_US
thesis.description.thaiAbstractการศึกษาเรื่อง “การปกครองแบบชีวญาณผ่านบัตรประจำตัวประชาชนในสังคมไทย พ.ศ.2554-2563” ต้องการตอบคำถามต่อไปนี้ คือ 1) รัฐไทยมีรูปแบบวิธีการควบคุม และปกครองแบบชีวญาณผ่านบัตรประจำตัวประชาชนอย่างไร 2) ปรากฏการณ์ใดที่ส่งผลต่อการปรับเปลี่ยนรูปแบบวิธีการสู่การปกครองแบบชีวญาณ และ3) รัฐไทยใช้เครื่องมือใดในการควบคุมและปกครองแบบชีวญาณผ่านบัตรประจำตัวประชาชน การศึกษาวิจัยชิ้นนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative research) ที่เริ่มต้นจากการวิจัยเอกสาร และปรากฏการณ์การเมืองไทยที่เกี่ยวข้องกับบัตรประจำตัวประชาชนตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 5 จนถึง พ.ศ. 2565 ในเบื้องต้น ถัดจากนั้นได้ใช้วิธีวิจัยด้วยการสัมภาษณ์เชิงลึก (In-depth interview) ผู้ที่เกี่ยวข้อง โดยมีประชากรกลุ่มเป้าหมาย จำนวน 3 กลุ่ม คือ 1) ประชาชน 2) นักวิชาการ และ3) เจ้าหน้าที่รัฐ และในส่วนของประชาชนได้แบ่งออกเป็น 3 กลุ่ม คือ 1) ประชาชนที่อาศัยในเขตพื้นที่ อำเภอเมืองเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่ จำนวน 9 คน 2) ประชาชนที่อาศัยในเขตพื้นที่ อำเภอเชียงดาว จังหวัดเชียงใหม่ จำนวน 9 คน และ3) ประชาชนโดยทั่วไป จำนวน 15 คน ซึ่ง 2 กลุ่มแรกถูกแบ่งกลุ่มตัวอย่างแยกย่อย ออกเป็น 3 กลุ่ม ตามระดับรายได้ คือ รายได้น้อย รายได้ปานกลาง และรายได้มาก ตามลำดับ นอกจากนี้ได้ทำการสัมภาษณ์นักวิชาการ จำนวน 5 ท่าน ที่มีความสนใจและเชี่ยวชาญเกี่ยวกับปรากฏการณ์ด้านการเมืองไทย และมีองค์ความรู้ที่เกี่ยวข้องกับการปกครองแบบชีวญาณ ส่วนสุดท้ายกลุ่มเจ้าหน้าที่รัฐ ทำการสัมภาษณ์เจ้าหน้าที่รัฐ จำนวน 3 ท่าน ได้แก่ พนักงานเจ้าหน้าที่ ปลัดอำเภอ และนายอำเภอ ซึ่งเป็นผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการจัดทำและแนวปฏิบัติเกี่ยวกับบัตรประจำตัวประชาชนโดยตรง ผลจากการวิจัยพบว่า 1) รูปแบบที่รัฐไทยใช้ควบคุมและปกครองประชาชนแบบชีวญาณผ่านบัตรประจำตัวประชาชน คือ การพัฒนาระบบการจัดเก็บข้อมูลที่แฝงเข้ามาในการดำเนินชีวิตของประชาชน และออกกฎหมายเพื่อบังคับให้ประชาชนต้องมีบัตรประจำตัวประชาชน โดยเริ่มต้นจากการทำสำมะโนประชากร พ.ศ. 2433-2447 เพื่อรวบรวมข้อมูลประชาชนในท้องที่ต่างๆ ต่อมาได้มีการออกพระราชบัญญัติปกครองท้องที่ พ.ศ. 2457 กำหนดให้กรมการอำเภอเป็นผู้ทำหนังสือเดินทางสำหรับราษฎร จนกระทั่งมีการออกพระราชบัญญัติบัตรประจำตัวประชาชน พ.ศ. 2486 ที่กำหนดให้ผู้มีสัญชาติไทยที่มีอายุ 16 ปีขึ้นไป ในเขตพระนครและธนบุรีต้องมีบัตรประจำตัวประชาชน และการออกพระราชบัญญัติบัตรประจำตัวประชาชน พ.ศ. 2505 ที่กำหนดให้ผู้มีสัญชาติไทยทุกคนที่มีอายุ 17 ปีขึ้นไปต้องมีบัตรประจำตัวประชาชน 2) การปรับเปลี่ยนรูปแบบวิธีในการปกครองเข้าสู่การปกครองแบบชีวญาณ เกิดขึ้นใน 3 ช่วง ระหว่าง พ.ศ. 2544-2563 ที่ปรากฏชัดเจน ช่วงแรก ยุครัฐบาลนายทักษิณ ชินวัตร (พ.ศ. 2544-2549) ที่นำแนวคิดบัตรประจำตัวประชาชนมาเชื่อมโยงกับการบริการภาครัฐ เช่น กรณีนโยบายสวัสดิการรักษาพยาบาล 30 บาทรักษาทุกโรค และการลงทะเบียนคนจน ช่วงที่สอง ยุครัฐบาลนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร (พ.ศ. 2554-2557) ที่มีการนำนโยบาย 30 บาทรักษาทุกโรคกลับมาใช้อีกครั้ง และพัฒนาการจัดเก็บภาษีโดยเปลี่ยนเลขประจำตัวผู้เสียภาษีมาเป็นเลขเดียวกับบัตรประจำตัวประชาชน ช่วงที่สาม ยุครัฐบาลพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา (พ.ศ. 2557-2563) ที่มีการเปิดให้ประชาชนนำบัตรประจำตัวประชาชนมาลงทะเบียน ณ ที่ว่าการอำเภอ เพื่อขอรับบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ และเปิดให้ประชาชนใช้บัตรประจำตัวประชาชนในการลงทะเบียนเพื่อรับสิทธิ์ผ่านแอปพลิเคชัน (เป๋าตัง/ถุงเงิน) 3) ในปัจจุบันรัฐใช้เครื่องมือในการสร้างการปกครองแบบชีวญาณโดยมีบัตรประจำตัวประชาชนเป็นสื่อกลาง ไปใน 2 แนวทางด้วยกัน คือ การให้บริการ (Service) และการควบคุม (Control) ในส่วนของการให้บริการ คือ การพัฒนาการเชื่อมโยงข้อมูลในรูปของบัตรประจำตัวประชาชน ประชาชนสามารถใช้บัตรเพียงใบเดียวในการเข้ารับบริการที่มีประสิทธิภาพของรัฐได้ เช่น การยืนยันตัวตนเพื่อรับเงินอุดหนุนจากรัฐผ่านแอปพลิเคชันเป๋าตัง และการแสดงประวัติการฉีดวัคซีนผ่านแอปหมอพร้อม เป็นต้น ในส่วนของการควบคุมนั้น จะแฝงอยู่ในการปฏิสัมพันธ์ระหว่างภาครัฐกับประชาชน เช่น รัฐสามารถรับรู้รายได้ และข้อมูลการใช้จ่าย ผ่านแอปพลิเคชัน (เป๋าตัง/ถุงเงิน) เพื่อนำมาคำนวณการจัดเก็บภาษี และรัฐสามารถควบคุมการเกิดโรคระบาดผ่านการตรวจเช็คประวัติการฉีดวัคซีนของประชาชน และการบันทึกคุณลักษณะเฉพาะตัวตน เพื่อใช้ในการสืบสวนคดี และงานด้านความมั่นคง คำสำคัญ: ความเห็นพ้องต้องกัน; ผลผลิตแห่งอำนาจ; การปกครองแบบชีวญาณ; ความผันผวนทางการเมือง; การทำสำมะโนประชากรen_US
Appears in Collections:POL: Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
621931004 นายพัชกานต์ ดอกพิกุล.pdf3.16 MBAdobe PDFView/Open    Request a copy


Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.