Please use this identifier to cite or link to this item:
http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/79246
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | นงค์คราญ วิเศษกุล | - |
dc.contributor.advisor | นงเยาว์ เกษตร์ภิบาล | - |
dc.contributor.author | ชลภัทรธา แก้วสากล | en_US |
dc.date.accessioned | 2023-12-04T16:57:36Z | - |
dc.date.available | 2023-12-04T16:57:36Z | - |
dc.date.issued | 2563-06-23 | - |
dc.identifier.uri | http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/79246 | - |
dc.description.abstract | Multidrug-resistant organisms (MDROs) are an important global public health problem, contributing to increased morbidity and mortality rates. Therefore, providing education for nurses on the transmission of MDROs by using innovative media is crucial to the successful prevention of MDROs and decrease in hospital-associated infections. This developmental research aimed to develop a web application for MDROs transmission prevention for nurses. The sample consisted of 42 nurses who were working in medical wards at a tertiary hospital in Bangkok. Research was conducted from December, 2019 to May, 2020. Research instruments included a development and design plan for the web application, a web application user opinion questionnaire, a demographic data questionnaire, a unit test on preventing MDROs transmission, a post-test on preventing MDROs transmission, and a web application satisfaction questionnaire, all of which were validated by six content experts and three media experts. The content validity index of the unit test, the post-test, and the web application satisfaction questionnaire was .98, .99 and 1.00, respectively and the reliability was .80, .82, and .94, respectively. The efficiency of the web application was tested using one-to-one, small group, and field tests. Data were analyzed using descriptive statistics. | en_US |
dc.language.iso | other | en_US |
dc.publisher | เชียงใหม่ : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ | en_US |
dc.title | การพัฒนาเว็บแอปพลิเคชันเรื่องการป้องกันการแพร่กระจายเชี้อดี้อยาต้านจุลชีพหลายขนานสำหรับพยาบาล | en_US |
dc.title.alternative | Development of web application regarding multidrug-resistant organisms transmission prevention for nurses | en_US |
dc.type | Thesis | |
thailis.controlvocab.thash | โปรแกรมประยุกต์บนเว็บ -- ความพอใจของผู้ใช้บริการ | - |
thailis.controlvocab.thash | โปรแกรมประยุกต์บนเว็บ | - |
thailis.controlvocab.thash | โปรแกรมประยุกต์ | - |
thailis.controlvocab.thash | สารต้านจุลชีพ | - |
thailis.controlvocab.thash | การดื้อยา | - |
thailis.controlvocab.thash | พยาบาล -- กรุงเทพฯ | - |
thesis.degree | master | en_US |
thesis.description.thaiAbstract | เชื้อดื้อยาต้านจุลชีพหลายขนาน เป็นปัญหาที่ทวีความรุนแรงมากขึ้นจนกลายเป็นปัญหา สาธารณสุขระดับ โลก ส่งผลให้อัตราการเจ็บป่วยและเสียชีวิตเพิ่มสูงขึ้น การส่งเสริมให้พยาบาล มีความรู้ในการป้องกันการแพร่กระจายเชื้อดื้อยาต้านจุลชีพหลายขนานในโรงพยาบาล โดยการใช้ สื่อที่เหมาะสมเป็นสิ่งสำคัญที่จะช่วยป้องกันการแพร่กระจายเชื้อดังกล่าว รวมทั้งช่วยลดการติดเชื้อใน โรงพยาบาลได้ การวิจัยเชิงพัฒนานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาเว็บแอปพลิเคชันเรื่องการป้องกัน การแพร่กระจายเชื้อดื้อยาต้านจุลชีพหลายขนานสำหรับพยาบาล ศึกษาในกลุ่มตัวอย่าง คือ พยาบาล ที่ปฏิบัติงานในหอผู้ป่วยอายุรกรรม โรงพยาบาลตติยภูมิแห่งหนึ่ง จังหวัดกรุงเทพมหานคร จำนวน 42 คน ดำเนินการวิจัยตั้งแต่เดือนธันวาคม พ.ศ. 2562 ถึง เดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2563 เครื่องมือที่ใช้ ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ แผนการออกแบบและพัฒนาเว็บแอปพลิเคชัน แบบสอบถามข้อคิดเห็น ต่อเว็บแอปพลิเคชัน แบบสอบถามข้อมูลทั่วไป แบบวัดความรู้ระหว่างเรียนเรื่องการป้องกัน การแพร่กระจายเชื้อดื้อยาต้านจุลชีพหลายขนาน แบบวัดความรู้หลังเรียนเรื่องการป้องกัน การแพร่กระจายเชื้อดื้อยาต้านจุลชีพหลายขนาน และแบบสอบถามความพึงพอใจของพยาบาลต่อ เว็บแอปพลิเคชัน ซึ่งผ่านการตรวจสอบจากผู้ทรงคุณวุฒิด้านเนื้อหาจำนวน 6 ท่าน และผู้ทรงคุณวุฒิ ด้านสื่อจำนวน 3 ท่าน โดยแบบวัดความรู้ระหว่างเรียน แบบวัดความรู้หลังเรียน และแบบสอบถาม ความพึงพอใจต่อเว็บแอปพลิเคชันมีค่าดัชนีความตรงตามเนื้อหาเท่ากับ .98, 99 และ 1.00 ตามลำดับ และมีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ .80, .82 และ .94 ตามลำดับ ประเมินประสิทธิภาพของเว็บแอปพลิเคชัน โดยการนำไปทดสอบแบบหนึ่งต่อหนึ่ง แบบกลุ่มย่อย และแบบภาคสนาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยสถิติ เชิงพรรณนา ผลการวิจัยพบว่าเว็บแอปพลิเคชันเรื่องการป้องกันการแพร่กระจายเชื้อดื้อยาต้านจุลชีพ หลายขนานสำหรับพยาบาล ประกอบด้วยบทเรียน รูปภาพ คลิปวีดิโอ แบบฝึกหัด และแบบทดสอบ หลังเรียน โดยมีเนื้อหาในบทเรียน คือ บทที่ 1 การติดเชื้อดื้อยาต้านจุลชีพหลายขนาน และบทที่ 2 การปฏิบัติในการป้องกันการแพร่กระจายเชื้อดื้อยาต้านจุลชีพหลายขนาน ผลการประเมิน ประสิทธิภาพของเว็บแอปพลิเคชันเรื่องการป้องกันการแพร่กระจายเชื้อดื้อยาต้านจุลชีพหลายขนาน สำหรับพยาบาล มีประสิทธิภาพเท่ากับ 83.47:82.53 ซึ่งผ่านเกณฑ์มาตรฐานที่กำหนดค่าไว้ให้เท่ากับ หรือมากกว่า 80:80 โดยกลุ่มตัวอย่างมีความพึงพอใจต่อเว็บแอปพลิเคชันเรื่องการป้องกัน การแพร่กระจายเชื้อดื้อยาต้านจุลชีพหลายขนานสำหรับพยาบาลในระดับมากที่สุดทั้งในด้านเนื้อหา (4.37-4.57) ด้านการออกแบบและนำเสนอ (4.63-4.87) และด้านประโยชน์ที่ได้รับ (4.73-4.90) ผลการศึกษานี้แสดงให้เห็นว่าเว็บแอปพลิเคชันเรื่องการป้องกันการแพร่กระจายเชื้อดื้อยา ต้านจุลชีพหลายขนานสำหรับพยาบาลมีประสิทธิภาพในการนำไปให้ความรู้แก่พยาบาล และ ควรนำไปเผยแพร่ให้แก่พยาบาลที่ปฏิบัติงานในโรงพยาบาล เพื่อให้พยาบาลมืความรู้เกี่ยวกับ การป้องกันการแพร่กระจายเชื้อดื้อยาต้านจุลชีพหลายขนานเพิ่มขึ้น นำไปสู่การปฏิบัติที่ถูกต้องในการ ป้องกันการแพร่กระจายเชื้อดื้อยาต้านจุลชีพหลายขนานต่อไป | en_US |
Appears in Collections: | NURSE: Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
611231028 ชลภัทรธา แก้วสากล.pdf | 3.18 MB | Adobe PDF | View/Open Request a copy |
Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.