Please use this identifier to cite or link to this item: http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/79234
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorAranya Siriphon-
dc.contributor.advisorYos Santasombat-
dc.contributor.advisorSing Suwannakij-
dc.contributor.authorPittikorn Panyamaneeen_US
dc.date.accessioned2023-12-03T03:06:01Z-
dc.date.available2023-12-03T03:06:01Z-
dc.date.issued2023-09-
dc.identifier.urihttp://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/79234-
dc.description.abstractThe Thai-Indian diaspora communities in Thailand have captured the attention of Thai and international scholars for decades. However, in the past the knowledge gained from these area studies have produced an understanding of this group that has resulted in the general conclusion of a mono/dual nationalism regarding ethnicity and nationality. Whether under the concept of being Thai (Thainess) or Indian (Indianness), past research has often neglected to pay attention to the complex dimensions that arise within the Thai-Indian diasporas, who generally define themselves as a multi-national-ethnic-religious people. This dissertation will argue with these past academic works using an analysis of the northern Thai-Hindu diaspora in Chiang Mai as a case study. It aims to understand the always changing and complex nature of cultural hybridization moments in the history and practices among the northern Thai-Hindu diaspora community in the contemporary era. This research adopted qualitative research methods to complete the literature review and collect data between 2020 and 2022. The research applied the concepts of ‘new ethnicities and diaspora old-new identities’ (Hall, 1990, 1995, 2019), ‘hybridity’ (Bhabha, 1984, 1994, 1995), and the idea of three distinct meanings given to the Hindu diaspora (Vertovec, 2000) in order to conceptualize cultural hybridization moments in history and practice within postcolonial and globalization contexts. The research found that: Firstly, the historical development and migration trajectory of Thai-Hindus in Thailand before and after 1947 sets an important context for a cultural hybridization moment in history. The formation of this cultural hybridization moment in history clashes with mainstream Thai history, especially the local history of Chiang Mai, and links these particular histories to the global Hindu diasporic context. In this sense, the historical context of the northern Thai-Hindu diaspora community reflects a sociocultural complexity inherited from the history of migration of the northern Thai-Hindu diaspora rather than their assimilation into the national-local history of Thailand and Chiang Mai. Secondly, a cultural hybridization moment in practices occurs in three distinct spheres; 1) in the social sphere in which practices are perceived as an alternative Hinduism that combines traditional, hybrid and collective forms of Hinduism and which is reflected in the Dev Mandir Temple/Hindu Samaj which merges both the sacred and secular, 2) the arts sphere, in which works created by a northern Thai-Hindu artist represent a cultural hybridization moment in the multi-type diasporic consciousness, and 3) the sphere of cultural production, where the northern Thai-Hindu diaspora community challenges traditional Hinduism through political, economic, religious, social and cultural lenses. Thirdly, the discovery of cultural hybridization moments in the history and practices of the northern Thai-Hindu diaspora contributes to global Hindu studies. This contribution is especially valuable when Hinduism and diaspora studies continue to fall into the trap of viewing traditional Hinduism as static and homogeneous, with a single or double identity within the modern context of globalization and postcolonialism. In contrast, it is argued here that sociocultural change and complexity can be grasped through the everyday lives of the diaspora who fluidly adopt culture in their encounters within modern contexts, in this case that of the northern Thai-Hindu diaspora.en_US
dc.language.isoenen_US
dc.publisherChiang Mai : Graduate School, Chiang Mai Universityen_US
dc.titleCultural hybridization moments in history and practice: change and complexity of a northern Thai-Hindu diaspora community, Chiang Mai province, Thailanden_US
dc.title.alternativeวัฒนธรรมผสมผสานแบบชั่วขณะในเชิงประวัติศาสตร์และปฏิบัติการ: การเปลี่ยนแปลงและความซับซ้อนของชุมชนคนไทย-ฮินดูพลัดถิ่นภาคเหนือ จังหวัดเชียงใหม่ ประเทศไทยen_US
dc.typeThesis
thailis.controlvocab.lcshCulture-
thailis.controlvocab.lcshHindus -- Chiang Mai-
thailis.controlvocab.lcshEthnohistory-
thailis.controlvocab.lcshDiaspora -- Chiang Mai-
thesis.degreemasteren_US
thesis.description.thaiAbstractชุมชนชาวไทย-อินเดียพลัดถิ่นในประเทศไทยได้รับความสนใจจากนักวิชาการไทยและต่างประเทศมาตลอดหลายทศวรรษ แต่ที่ผ่านมาชุดความรู้ที่ผลิตสร้างเพื่อทำความเข้าใจคนกลุ่มนี้มักนำไปสู่ข้อสรุปภาพรวมแบบเอก/ทวิลักษณ์ชาตินิยมเชิงชาติพันธุ์และสัญชาติ ไม่ว่า ภายใต้แนวคิดความเป็นไทยหรือความเป็นอินเดียก็ตาม โดยมักละเลยความสนใจต่อมิติความซับซ้อนที่เกิดขึ้นภายในกลุ่มคนไทย-อินเดียพลัดถิ่นที่นิยามตนเองว่า เป็นคนหลากหลายทางสัญชาติ-ชาติพันธุ์-ศาสนา ดุษฎีนิพนธ์นี้ต้องการถกเถียงกับงานวิชาการข้างต้น โดยให้ความสำคัญกับชุมชนคนไทย-ฮินดูพลัดถิ่นภาคเหนือในจังหวัดเชียงใหม่เป็นกรณีศึกษา ดุษฎีนิพนธ์นี้ต้องการทำความเข้าใจการเปลี่ยนแปลงและความซับซ้อนของวัฒนธรรมผสมผสานแบบชั่วขณะในเชิงประวัติศาสตร์และปฏิบัติการท่ามกลางกลุ่มคนไทย-ฮินดูพลัดถิ่นภาคเหนือในยุคร่วมสมัย งานศึกษานี้ใช้วิธีการศึกษาเชิงคุณภาพ เก็บข้อมูลจากการสัมภาษณ์กรณีศึกษาช่วงระหว่าง พ.ศ. 2563 ถึง 2565 และการทบทวนวรรณกรรม งานวิจัยนี้ประยุกต์ใช้แนวคิดชาติพันธุ์ต่าง ๆ และเอกลักษณ์พลัดถิ่นต่าง ๆ แบบเก่าใหม่ (Hall, 1990, 1995, 2019) แนวคิดการผสมผสาน (Bhabha, 1984, 1994, 1995) และแนวคิดความหมายหลัก 3 ประการของฮินดูพลัดถิ่น (Vertovec, 2000) มาสร้างกรอบคิดการผสมผสานทางวัฒนธรรมแบบชั่วขณะในเชิงประวัติศาสตร์และปฏิบัติการภายใต้บริบทโลกาภิวัตน์และหลังอาณานิคม การวิจัยนี้มีข้อค้นพบ ได้แก่ ประการแรก พัฒนาการทางประวัติศาสตร์และวิถีการย้ายถิ่นของชาวไทย-ฮินดูในประเทศไทยตั้งแต่ช่วงก่อนและหลัง ค.ศ. 1947 คือ บริบทสำคัญของวัฒนธรรมผสมผสานแบบชั่วขณะในเชิงประวัติศาสตร์ การก่อรูปขึ้นมาของวัฒนธรรมผสมผสานแบบชั่วขณะในเชิงประวัติศาสตร์ เป็นการปะทะประสานกับประวัติศาสตร์ไทย โดยเฉพาะกับประวัติศาสตร์พื้นถิ่นเชียงใหม่ ซึ่งประวัติศาสตร์เหล่านี้ถูกเชื่อมโยงกับประวัติศาสตร์ชนชาวฮินดูพลัดถิ่นทั่วโลก ในแง่นี้ บริบทเชิงประวัติศาสตร์ของชุมชนไทย-ฮินดูพลัดถิ่นภาคเหนือ จึงสะท้อนความซับซ้อนทางสังคมวัฒนธรรมผ่านประวัติศาสตร์การอพยพของชุมชนคนไทย-ฮินดูพลัดถิ่นภาคเหนือมากกว่าการหลอมรวมเข้ากับประวัติศาสตร์ชาติ-พื้นถิ่นของประเทศไทยและเชียงใหม่ ประการที่สอง วัฒนธรรมผสมผสานแบบชั่วขณะในเชิงปฏิบัติการของกลุ่มชาวไทย-ฮินดูพลัดถิ่นภาคเหนือเกิดขึ้นใน 3 พื้นที่หลัก ได้แก่ 1) ในพื้นที่ทางสังคม สัมผัสรู้เสมือน “ศาสนาฮินดูทางเลือก” ผ่านการปรับเปลี่ยนทางสังคมแบบประเพณี แบบผสมผสาน และแบบองค์รวมของศาสนาฮินดู สะท้อนให้เห็นจากภายในวัดเทพมณเฑียร/สมาคมฮินดูซึ่งผนวกรวมความศักดิ์สิทธิ์และทางโลกเข้าไว้ด้วยกัน 2) พื้นที่ศิลปะ ที่สร้างสรรค์โดยศิลปินไทย-ฮินดูพลัดถิ่นภาคเหนือ เป็นการนำเสนอวัฒนธรรมผสมผสานแบบชั่วขณะในรูปแบบจิตสำนึกพลัดถิ่นหลากหลายประเภท และ 3) พื้นที่การผลิตทางวัฒนธรรมของชุมชนไทย-ฮินดูพลัดถิ่นภาคเหนือได้ท้าทายจารีตฮินดูนิยมภายใต้เงื่อนไขการเมือง-เศรษฐกิจ-ศาสนา-สังคม-วัฒนธรรม ประการที่สาม ข้อค้นพบประเด็นวัฒนธรรมผสมผสานแบบชั่วขณะในเชิงประวัติศาสตร์และการปฏิบัติของคนไทย-ฮินดูพลัดถิ่นภาคเหนือมีคุณูปการต่อโลกฮินดูศึกษา การมีคุณค่านี้ต่อเมื่อการศึกษาเกี่ยวกับศาสนาฮินดูและผู้พลัดถิ่นศึกษาหลีกเลี่ยงการตกหลุมพรางของการมองว่าศาสนาฮินดูแบบดั้งเดิมนั้นมีลักษณะหยุดนิ่งและเป็นเนื้อเดียวกันในแง่เอกลักษณ์เดียวหรือทวิลักษณ์ในบริบทสมัยใหม่ของโลกาภิวัตน์และยุคหลังอาณานิคม แต่จำเป็นต้องทำความเข้าใจการเปลี่ยนแปลงและความซับซ้อนทางสังคมวัฒนธรรมผ่านวิถีชีวิตคนพลัดถิ่นผู้ปรับใช้วัฒนธรรมอย่างยืดหยุ่นภายใต้บริบทสมัยใหม่ที่กำลังเผชิญหน้า เฉกเช่น กลุ่มคนไทย-ฮินดูพลัดถิ่นภาคเหนือen_US
Appears in Collections:SOC: Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
610455905-Pittikorn Panyamanee.pdf6.86 MBAdobe PDFView/Open    Request a copy


Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.