Please use this identifier to cite or link to this item:
http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/79214
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | ชูชาติ สันธทรัพย์ | - |
dc.contributor.advisor | ยุพา จอมแก้ว | - |
dc.contributor.author | ลลิชา พานทอง | en_US |
dc.date.accessioned | 2023-11-20T10:29:48Z | - |
dc.date.available | 2023-11-20T10:29:48Z | - |
dc.date.issued | 2023-10 | - |
dc.identifier.uri | http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/79214 | - |
dc.description.abstract | The study on the effects of different fertilizer managements on yield and qualities of arabica coffee on highland, Chiang Mai province was conducted with the following objective: 1) to determine primary nutrient (nitrogen, phosphorus and potassium) requirements of arabica coffee in each growth stage and 2) comparing the use of chemical fertilizers and organic fertilizers on the quantity and quality of arabica coffee in highland, Chiang Mai province. The experiment were conducted in agricultural faculty field at Khun Chang Khian Highland Research and Training Center (site A) in the Suthep sup-district, Muang district, Chiang Mai province and Nong Hoi Highland Agricultural Research in the Pong Yeang sup-district, Mae Rim district, Chiang Mai province, from June 2020 to January 2021. The study on primary nutrient requirements in each growth stage was carried out in an agricultural faculty field at Khun Chang Khian Highland Research and Training Center (site A) in the Suthep sup-district, Muang district, Chiang Mai province and Nong Hoi Highland Agricultural Research in the Pong Yeang sup-district, Mae Rim district, Chiang Mai province. Arabica coffee samples in each growth stage were collect for determining the nutrient uptake of arabica coffee. The results showed that at harvest period (180 days after flower), the amount of nitrogen (N) phosphorus (P) and Potassium (K) requirements of arabica coffee were about 33.45gram N/plant, 2.94 gram P/plant and 39.15 gram K/plant or 23.78 kilogram N/rai, 2.09 kilogram P2O5/rai และ 27.84 kilogram K2O/rai respectively. The study on the effects of different fertilizer managements on yield and qualities of arabica coffee on highland, Chiang Mai province was conducted in agricultural faculty field at Khun Chang Khian Highland Research and Training Center (site A) in the Suthep sup-district, Muang district, Chiang Mai province and Nong Hoi Highland Agricultural Research in the Pong Yeang sup-district, Mae Rim district, Chiang Mai province. The experiment design was a randomize complete block design (RCBD) with three replications and comprising four fertilizer management methods. These methods were: 1) common fertilization rate for coffee (CFR) (Nitrogen 54.00 grams per plant, Phosphorus 54.00 grams per plant and Potassium 54.00 grams per plant), 2) compost fertilizer application (CF) (3.00 kilograms per plant), 3) site-specific fertilizer managements (SSFM) (Nitrogen 49.98 grams per plant) and 4) control (no fertilizer application). The results demonstrated that fertilizer application treatments (treatments 1-3) did not have a significant impact on the plant height, canopy width, stem diameter, branches, nutrients concentration in leaves, quantity and quality of arabica coffee yields. However, the methods 3 of fertilizer management (Nitrogen 49.98 grams per tree) showed tendency to promote growth and yield better than the other methods on both study sites (fresh weight, fruit diameter, titrable acidity and caffeine contents) The arabica coffee had an average fresh fruits weight was 1.75 and 1.49 grams/fruit while average diameter through the center of the fruit was 14.55 and 13.14 centimeters, average total acidity obtained was 0.16 and 0.13% , average caffeine contents was 12.25 and 11.29 milligram/gram and the average yield was 8.38 and 6.36 kilograms/plant, respectively. | en_US |
dc.language.iso | other | en_US |
dc.publisher | เชียงใหม่ : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ | en_US |
dc.title | ผลของการจัดการปุ๋ยที่แตกต่างกันต่อผลผลิตและคุณภาพของกาแฟอะราบิกาบนพื้นที่สูง จังหวัดเชียงใหม่ | en_US |
dc.title.alternative | Effects of different fertilizer managements on yield and qualities of arabica coffee on highland, Chiang Mai Province | en_US |
dc.type | Thesis | |
thailis.controlvocab.thash | กาแฟ -- เชียงใหม่ | - |
thailis.controlvocab.thash | ปุ๋ยวิทยาศาสตร์ | - |
thailis.controlvocab.thash | ไนโตรเจน | - |
thailis.controlvocab.thash | ฟอสฟอรัส | - |
thailis.controlvocab.thash | โพแทสเซียม | - |
thailis.controlvocab.thash | ปุ๋ยอินทรีย์ | - |
thesis.degree | master | en_US |
thesis.description.thaiAbstract | การศึกษาผลของการจัดการปุ๋ยที่แตกต่างกันต่อผลผลิตและคุณภาพของกาแฟอะราบิกาบนพื้นที่สูง จังหวัดเชียงใหม่ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา (1) ความต้องการธาตุไนโตรเจน ฟอสฟอรัส และโพแทสเซียม ในแต่ละระยะการเจริญเติบโตของกาแฟอะราบิกา และ (2) เปรียบเทียบประสิทธิภาพการใช้ปุ๋ยเคมีและปุ๋ยอินทรีย์ต่อปริมาณและคุณภาพของผลผลิตกาแฟอะราบิกาบนพื้นที่สูง จังหวัดเชียงใหม่ ซึ่งได้ดำเนินงานในแปลงปลูกกาแฟอะราบิกาของคณะเกษตรศาสตร์ ในพื้นที่สถานีวิจัยและศูนย์ฝึกอบรมเกษตรที่สูงขุนช่างเคี่ยนไร่หน้า (site A) ตำบลช้างเผือก อำเภอเมืองเชียงใหม่ และสถานีเกษตรที่สูงหนองหอย ตำบลโป่งแยง อำเภอแม่ริม จังหวัดเชียงใหม่ ในระหว่างเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2563 ถึงเดือนมกราคม พ.ศ. 2564 การศึกษาความต้องการธาตุอาหารหลักของกาแฟอะราบิกาแต่ละระยะการเจริญเติบโตในแปลงปลูกกาแฟอะราบิกาของคณะเกษตรศาสตร์ ในพื้นที่สถานีวิจัยและศูนย์ฝึกอบรมเกษตรที่สูงขุนช่างเคี่ยนไร่หน้า (site A) ตำบลช้างเผือก อำเภอเมืองเชียงใหม่ และสถานีเกษตรที่สูงหนองหอย ตำบลโป่งแยง อำเภอแม่ริม จังหวัดเชียงใหม่ โดยทำการสุ่มเก็บผลกาแฟอะราบิกาทุกเดือนหลังออกดอก เพื่อนำมาประเมินการดูดใช้ธาตุอาหารของกาแฟอะราบิกา ผลการศึกษาพบว่า ที่ระยะเก็บเกี่ยวผลผลิต (180 วันหลังออกดอก) กาแฟอะราบิกามีความต้องการไนโตรเจน ฟอสฟอรัส และโพแทสเซียม เท่ากับ 33.45 2.94 และ 39.15 กรัม/ต้น หรือคิดเป็น 23.78 กิโลกรัม N/ไร่ 2.09 กิโลกรัม P2O5/ไร่ และ 27.84 กิโลกรัม K2O/ไร่ ตามลำดับ การศึกษาการจัดการปุ๋ยที่เหมาะสมสำหรับการผลิตกาแฟอะราบิกาบนพื้นที่สูงของจังหวัดเชียงใหม่ ดำเนินงานในแปลงปลูกกาแฟอะราบิกาของคณะเกษตรศาสตร์ ในพื้นที่สถานีวิจัยและศูนย์ฝึกอบรมเกษตรที่สูงขุนช่างเคี่ยนไร่หน้า (site A) ตำบลช้างเผือก อำเภอเมืองเชียงใหม่ และสถานีเกษตรที่สูงหนองหอย ตำบลโป่งแยง อำเภอแม่ริม จังหวัดเชียงใหม่ โดยวางแผนการทดลองแบบสุ่มสมบูรณ์ภายในบล็อก (randomized complete block design: RCBD) จำนวน 4 ซ้ำ ประกอบด้วยกรรมวิธีการจัดการปุ๋ยที่แตกต่างกัน 4 กรรมวิธี คือ 1) ใส่ปุ๋ยเคมีตามอัตราที่เกษตรกรนิยมปฏิบัติในพื้นที่ (CFR) (ไนโตรเจน 54.00 กรัม/ต้น ฟอสฟอรัส 54.00 กรัม/ต้น และโพแทสเซียม 54.00 กรัม/ต้น) 2) ใส่ปุ๋ยหมัก (CP) (3.00 กิโลกรัม/ต้น) 3) ใส่ปุ๋ยเคมีในอัตราที่ประเมินจากความต้องการธาตุอาหารหลักของกาแฟและความอุดมสมบูรณ์ดิน (SSFM) (ไนโตรเจน 49.98 กรัม/ต้น) 4) กรรมวิธีควบคุม ไม่ใส่ปุ๋ย (control) ผลการศึกษาพบว่าการจัดการปุ๋ยตามกรรมวิธีที่ 1-3 ไม่ส่งผลให้ ความสูง ความกว้างทรงพุ่ม เส้นผ่านศูนย์กลางลำต้น จำนวนข้อกิ่ง และความเข้มข้นธาตุอาหารหลักในใบ ปริมาณและคุณภาพผลผลิตของกาแฟอะราบิกา แตกต่างอย่างมีนัยสำคัญ อย่างไรก็ตามการจัดการปุ๋ยตามกรรมวิธีที่ 3 (ไนโตรเจน 49.98 กรัม/ต้น) มีแนวโน้มช่วยส่งเสริมการเติบโตและปริมาณผลผลิต รวมไปถึงคุณภาพของผลิต (น้ำหนักผลสด เส้นผ่าศูนย์กลางผล ปริมาณกรดทั้งหมดที่ไทเทรตได้ และปริมาณคาเฟอีน)ได้ดีกว่ากรรมวิธีอื่น ๆ ทั้ง 2 พื้นที่ ต้นกาแฟอะราบิกามีน้ำหนักสดผลเฉลี่ย 1.75 และ 1.49 กรัม/ผล เส้นผ่านศูนย์กลางผลเฉลี่ย 14.55 และ 13.14 เซนติเมตร ปริมาณกรดทั้งหมดที่ไทเทรทได้เฉลี่ย 0.16 และ 0.13 เปอร์เซ็นต์ ปริมาณคาเฟอีนเฉลี่ย 12.25 และ 11.29 มิลลิกรัม/กรัม และผลผลิตเฉลี่ย 8.38 และ 6.36 กิโลกรัม/ต้น ตามลำดับ | en_US |
Appears in Collections: | AGRI: Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
610831072 Lalicha Prantong.pdf | 4.02 MB | Adobe PDF | View/Open Request a copy |
Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.