Please use this identifier to cite or link to this item: http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/79187
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorอรพิณ สันติธีรากุล-
dc.contributor.authorอนุรักษ์ บัณฑิตen_US
dc.date.accessioned2023-11-15T01:23:44Z-
dc.date.available2023-11-15T01:23:44Z-
dc.date.issued2566-09-
dc.identifier.urihttp://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/79187-
dc.description.abstractThis study aims to examine factors contributing to success of mineral water production community enterprises. The study includes four community enterprises, namely Phu Phan Natural Mineral Water in Sangkho Sub-district, Phu Phan District, Sakon Nakhon Province; Aqua La-Or Natural Mineral Water in Mae Chedi Sub-district, Wiang Pa Pao District, Chiang Rai Province; Khao Chaison Natural Mineral Water in Khao Chaison Sub-district, Khao Chaison District, Phatthalung Province; and Phurinn Natural Mineral Water in Dong I Chan Sub-district, Non Suwan District, Buri Ram Province. The data collection tools used were in-depth structured interviews and a combination of open-ended and closed-ended questions. The study finds that among the four community-based natural mineral water production enterprises, there is general basic information available. These groups consist of a total 45 members, with 9 being female, accounting for 20%, and 36 being male, accounting for 80%. The age range with the highest number of members is 31 – 40 years old, comprising 14 individuals, or 31.11%. Following that is the age group 41 – 50 years old, with 13 members, accounting for 28.89%. Most members in these groups have no prior experience in producing natural mineral water, making up 93.33%. The majority of members have secondary occupations as farmers, accounting for 46.67%, and the next most common occupation is general wage labor, making up 24.44%. In terms of the potential of the community-based natural mineral water production enterprises, following the analysis of business potential using the SWOT framework, the strengths include the community enterprise leader having knowledge, skills, experience, and a network within the community and the industry. The weaknesses include the costs associated with transportation, especially factors related to energy, which tend to increase with economic inflation. Opportunities are found in the broad market for health products and participation in trad fairs with government policies at both the community and national levels. Lastly, the threats are the impact of the spread of the COVID-19 virus. Analyzing the situation with the TOWS Matrix, it is revealed that the community enterprises primarily employ a defensive strategy, leveraging its strengths to cope with the COVID- 19 pandemic. Analyzing the business environment using the PESTEL framework, positive factors are identified in politics, culture, technology, the environment and regulations, while negative factors are related to the economic situation. Examining the competitive potential of the enterprises using the 5 Forces Model, positive driving forces include the entry of few new players, strong bargaining power with numerous buyers, low direct product substitution, and relatively low industry competition. Negative driving forces are related to strong bargaining power with suppliers and relatively low production factor requirements, which necessitates cost reduction in production factors. In evaluating the readiness of the community enterprises using the Mckinsey’s 7-S Framework, it is found that the enterprises need to be prepared in all aspects. These aspects include structure, strategy, systems, style, staff, skills and shared values. This includes having an appropriate number of personnel relative to the size of the community enterprise, as well as employing strategies and management styles that align with the local community’s way of life seamlessly. Analyzing success factors for the community enterprises, it is determined that the enterprises must be prepared in every dimension. This includes financial factors, market factors, production factors and management factors. It finds that they have the ability to raise capital primarily by mobilizing funds from local members. They consistently promote sales to their target customer groups, ensuring simplicity and ease of understanding. Their production planning is straightforward, allowing for accurate forecasting and precise raw material calculations. In the contexts of community enterprise management, it finds that marketing management focuses on natural mineral water production enterprises within the community. The key concept is to develop the quality of products that the community customers can perceive and access the value of the products. There are components in marketing management, in term of product management, community enterprises focus on improving product quality and creating differentiation. Regarding pricing, community enterprises emphasize setting prices that are appropriate for product costs. For location and distribution, community enterprises primarily use direct distribution channels from producers to consumers. In terms of marketing promotion and communication, community enterprises use complimentary items and promotions at various product exhibitions as their main strategies. In terms of operational management, a complete quality management cycle is observed, following the PDCA cycle in all aspects. In product inventory management, products are carefully reserved and calculated based on estimated sales. Regarding leaderships, community enterprises should have leaders who are accepted and respected by the community, with good relationships and networks within the community and the business. These leaders should possess knowledge and capabilities and be willing to sacrifice for the common good. In terms of member participation in management, there should be opportunities for members to have a say and participate in decision-making transparently. Clear meeting schedules should be established. In financial and accounting management, community enterprises should maintain regular accounting transaction records and adhere to generally accepted accounting standards. Clear financial plans should be developed and additional funding and investments in production technology should be considered. In the context of environmental, society and governance (ESG) responsibility, community enterprises involved in natural mineral water production in conscious of its impact on various dimensions. Environmental Aspect, the community enterprises manage resources within its area, encompassing water sources and the landscape, it focuses on sustainable resource management and environmentally responsible practices. Social Aspect, the enterprises emphasize the use of local labor as a primary workforce, aligning with the local way of life and fostering a sense of community. Governance Aspect, the community enterprises plan with a focus on member participation and transparency in information disclosure, allowing accessibility in a fair manner. In terms of sustainability, the community enterprises align with the Sustainable Development Goals (SDGs) and have a core policy of contributing to the national economic and social development plan. This is achieved by creating benefits and income for the community. Specifically, Goal 1, which aims to eradicate poverty in all its forms everywhere, is pursued by promoting employment and generating income within the community. Goal 8, which seeks to promote sustained, inclusive, and sustainable economic growth, full and productive employment and decent work for all, is pursued by focusing on creating livelihoods for community members, efficient workforce management and skill development for future generations.en_US
dc.language.isootheren_US
dc.publisherเชียงใหม่ : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่en_US
dc.titleปัจจัยที่ส่งผลต่อความสำเร็จของวิสาหกิจชุมชนกลุ่มผลิตน้ำแร่ธรรมชาติen_US
dc.title.alternativeFactors contributing to success of mineral water production community enterprisesen_US
dc.typeIndependent Study (IS)
thailis.controlvocab.thashน้ำแร่ -- การผลิต-
thailis.controlvocab.thashวิสาหกิจชุมชน-
thesis.degreemasteren_US
thesis.description.thaiAbstractการศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยความสำเร็จของวิสาหกิจชุมชนกลุ่มผลิตน้ำแร่ธรรมชาติ จากวิสาหกิจชุมชนทั้ง 4 แห่ง ประกอบด้วย วิสาหกิจชุมชนกลุ่มน้ำแร่ธรรมชาติไร่ภูพาน ตำบลสร้างค้อ อำเภอภูพาน จังหวัดสกลนคร วิสาหกิจชุมชนกลุ่มน้ำแร่ธรรมชาติอควาละออ ตำบลแม่เจดีย์ อำเภอเวียงป่าเป้า จังหวัดเชียงราย วิสาหกิจชุมชนกลุ่มผลิตน้ำแร่เขาชัยสน ตำบลเขาชัยสน อำเภอเขาชัยสน จังหวัดพัทลุง และวิสาหกิจชุมชนน้ำแร่ธรรมชาติภูริน ตำบลดงอีจาน อำเภอโนนสุวรรณ จังหวัดบุรีรัมย์ โดยเครื่องมือที่ใช้การเก็บข้อมูลเป็นการสัมภาษณ์เชิงลึกแบบโครงสร้างและคำถามปลายเปิด ร่วมกับคำถามปลายปิด ผลการศึกษาพบว่า วิสาหกิจชุมชนกลุ่มผลิตน้ำแร่ธรรมชาติทั้ง 4 กลุ่ม มีข้อมูลพื้นฐานทั่วไปคือ สมาชิกทั้งหมด 45 คนประกอบด้วยเพศหญิง 9 คน คิดเป็นอัตราร้อยละ 20 เพศชาย 36 คน คิดเป็นอัตราร้อยละ 80 มีช่วงอายุ 31 – 40 ปีมากที่สุด 14 คน คิดเป็นอัตราร้อยละ 31.11 รองลงมาคือช่วงอายุ 41 – 50 ปีจำนวน 13 คน คิดเป็นอัตราร้อยละ 28.89 สมาชิกส่วนมากในกลุ่มไม่มีประสบการณ์ในการผลิตน้ำแร่ธรรมชาติมาก่อน คิดเป็นอัตราร้อยละ 93.33 ส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเสริมคือเกษตรกร คิดเป็นอัตราร้อยละ 46.67 รองลงมาคือรับจ้างทั่วไป คิดเป็นอัตราร้อยละ 24.44 ด้านศักยภาพของวิสาหกิจชุมชนกลุ่มผลิตน้ำแร่ธรรมชาติ ตามแนวคิดการวิเคราะห์ศักยภาพธุรกิจโดยใช้แบบวิเคราะห์จุดแข็ง จุดอ่อน โอกาส ข้อจำกัด พบว่า จุดแข็ง คือ ประธานวิสาหกิจชุมชนมีความรู้ความสามารถ มีประสบการณ์และเครือข่ายในวงสังคมและธุรกิจของชุมชน จุดอ่อน คือ ต้นทุนที่เกิดจากการขนส่งโดยเฉพาะปัจจัยทางด้านพลังงานที่มีแนวโน้มสูงขึ้นตามสภาพเงินเฟ้อ โอกาสคือ ตลาดของผลิตภัณฑ์สุขภาพที่เปิดกว้างและการเข้าร่วมงานแสดงสินค้าตามนโยบายของภาครัฐทั้งในระดับชุมชนและระดับประเทศ และอุปสรรค คือ ผลกระทบจากการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด 19 การวิเคราะห์ตามแบบ TOWS Matrix พบว่าวิสาหกิจชุมชนใช้กลยุทธ์เชิงป้องกันเป็นหลัก โดยใช้จุดแข็งของวิสาหกิจนำเพื่อรับมือกับสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด 19 การวิเคราะห์สภาพแวดล้อมทางธุรกิจโดยใช้แบบวิเคราะห์ PESTEL พบว่าสภาพแวดล้อมที่เป็นปัจจัยบวกคือ ด้านการเมือง ด้านสังคมและวัฒนธรรม ด้านเทคโนโลยี ด้านสิ่งแวดล้อม และด้านกฎระเบียบ และปัจจัยลบคือ ด้านสถาพเศรฐกิจ และทางด้านการวิเคราะห์ศักยภาพในการแข่งขันของวิสาหกิจโดยใช้แบบจำลอง 5 Forces Model พบว่า แรงผลักดันที่เป็นผลกระทบเชิงบวก คือ การเข้ามาของผู้เล่นรายใหม่ที่น้อย อำนาจต่อของกับผู้ซื้อที่มีมาก ด้านผลิตภัณฑ์ทดแทนโดยตรงที่ต่ำ และความเข้มข้นของการแข่งขันในอุตสาหกรรมที่ค่อนข้างต่ำ ส่วนแรงผลักดันเชิงลบ คือ อำนาจต่อรองกับผู้ขายปัจจัยการผลิตที่ค่อนข้างต่ำทำให้ต้องแบกรับต้นทุนปัจจัยการผลิต การประเมินความพร้อมขององค์การตามแบบ Mckinsey’s 7-S Framework พบว่า ความพร้อมของวิสาหกิจชุมชนจะต้องมีความพร้อมในทุกๆ ด้าน โดยประกอบไปด้วย โครงสร้าง กลยุทธ์ ระบบ รูปแบบ บุคลากร ทักษะ และค่านิยมร่วม คือ มีจำนวนบุคลากรที่เหมาะสมกับขนาดของวิสาหกิจ รวมถึงกลยุทธ์และรูปแบบการบริหารงานที่อิงกับวิถีชุมชนอย่างกลมกลืน การวิเคราะห์โดยดูจากปัจจัยความสำเร็จของวิสาหกิจ พบว่า วิสาหกิจจะต้องมีความพร้อมของปัจจัยทุกๆ ด้านเช่นกัน โดยประกอบไปด้วย ปัจจัยด้านเงินทุน ปัจจัยด้านการตลาด ปัจจัยด้านการผลิต ปัจจัยด้านการบริหารจัดการวิสาหกิจชุมชน พบว่า มีความสามารถในการจัดหาทุนโดยหลักจะเป็นการระดมทุนจากสมาชิกในท้องถิ่น การทำการส่งเสริมการขายกับกลุ่มลูกค้าเป้าหมายอย่างต่อเนื่อง เข้าใจง่าย มีการวางแผนการผลิตที่ไม่ซับซ้อนสามารถใช้ในการพยากรณ์และคำนวณวัตถุดิบได้อย่างแม่นยำ ด้านการบริหารวิสาหกิจชุมชน พบว่า การบริหารด้านการตลาด คือ วิสาหกิจชุมชนกลุ่มผลิตน้ำแร่ธรรมชาติ ใช้แนวคิดที่มุ่งเน้นการพัฒนาคุณภาพสินค้าที่กลุ่มลูกค้าในชุมชนสามารถมองเห็นและเข้าถึงคุณค่าของสินค้าเป็นหลัก และมีส่วนประสมทางการตลาด ในด้านผลิตภัณฑ์ คือ วิสาหกิจชุมชนกลุ่มผลิตน้ำแร่ธรรมชาติมุ่งเน้นในการพัฒนาคุณภาพผลิตภัณฑ์และสร้างความแตกต่าง ด้านราคา คือ วิสาหกิจชุมชนเน้นการตั้งราคาให้เหมาะสมกับต้นทุนสินค้าเป็นหลัก ด้านสถานที่และการจัดจำหน่าย คือ ทางวิสาหกิจชุมชนใช้ช่องทางการจำหน่ายที่เป็นช่องทางตรงจากผู้ผลิตไปยังผู้บริโภคเป็นหลัก ด้านการส่งเสริมทางการตลาดและการสื่อสารการตลาด คือ วิสาหกิจชุมชนใช้การแถมและการจัดโปรโมชั่นในงานแสดงสินค้าต่างๆ เป็นหลัก ด้านการบริหารการปฏิบัติการ พบว่า วงจรบริหารงานคุณภาพ คือ มีการดำเนินงานตามวงจร PDCA ครบถ้วนทุกด้าน โดยด้านการบริหารสินค้าคงคลัง พบว่า มีการสำรองสินค้าเฉพาะในสัดส่วนที่มีการพิจารณาคำนวณอย่างละเอียดรอบคอบ ตามประมาณการยอดขาย ด้านการบริหารจัดการ พบว่า รูปแบบพฤติกรรมองค์การ คือ สมาชิกเป็นคนดั้งเดิมในพื้นที่ มีรูปแบบความสัมพันธ์และผูกพันกันอย่างสูง ด้านภาวะผู้นำ คือ ผู้นำต้องเป็นผู้ที่ได้รับการยอมรับนับถือจากชุมชน มีความสัมพันธ์อันดีกับทุกภาคส่วน มีเครือข่ายทางสังคมและธุรกิจที่ชัดเจน มีความรู้ความสามารถ เสียสละเพื่อส่วนรวม ยุติธรรม ด้านการบริหารแบบมีส่วนร่วมของสมาชิก คือ มีการเปิดโอกาสให้สมาชิกมีส่วนในการแสดงความคิดเห็นและร่วมรับรู้ความเป็นไปและทิศทางของวิสาหกิจอย่างโปร่งใส มีกำหนดการประชุมชัดเจน ด้านการเงินและการบัญชี พบว่า วิสาหกิจชุมชนควรต้องมีการบันทึกรายการบัญชีรับจ่ายอย่างสม่ำเสมอ ตามหลักเกณฑ์มาตรฐานการบัญชีที่ยอมรับทั่วไป และมีการวางแผนทางการเงินไว้อย่างชัดเจน รวมถึง การจัดหาทุนเพิ่ม และการลงทุนเพิ่มเติมในเทคโนโลยีการผลิต ด้านความรับผิดชอบด้านสิ่งแวดล้อม สังคมและบรรษัทภิบาลขององค์กร คือ วิสาหกิจชุมชนกลุ่มผลิตน้ำแร่ธรรมชาติมีความตระหนักถึงผลกระทบในมิติต่างๆ ทุกด้าน โดยด้านสิ่งแวดล้อม คือ ทางวิสาหกิจชุมชนมีการบริหารจัดการทรัพยากรในพื้นที่ทั้งแหล่งน้ำและภูมิทัศน์โดยรอบ ด้านสังคม คือ ทางวิสาหกิจเน้นการบริหารจัดการโดยใช้แรงงานคนในท้องถิ่นเป็นหลัก และสอดคล้องไปกับวิถีชีวิตชุมชน และด้านธรรมมาภิบาล คือ วิสาหกิจชุมชนมีการวางแผนงานที่เน้นความมีส่วนร่วมของสมาชิกและมีการเปิดเผยข้อมูลเพื่อให้สามารถเข้าถึงได้อย่างเป็นธรรม ด้านความยั่งยืน พบว่า เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน คือ วิสาหกิจชุมชนผลิตน้ำแร่ธรรมชาติมีนโยบายหลักในการรวมกลุ่มที่สอดคล้องไปกับแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติโดยการสร้างประโยชน์และสร้างรายได้ให้ชุมชน โดยเป้าหมายที่ 1 ขจัดความยากจนทุกรูปแบบในทุกพื้นที่ คือ วิสาหกิจชุมชนส่งเสริมให้มีการจ้างงานและสร้างรายได้ให้กับคนในชุมชน และเป้าหมายที่ 8 การส่งเสริมการเติบโตทางเศรษฐกิจที่ต่อเนื่อง ครอบคลุม และยั่งยืน การจ้างงานเต็มที่ มีผลิตภาพและการมีงานที่เหมาะสมกับทุกคน คือ วิสาหกิจชุมชนมุ่งเน้นในการสร้างอาชีพให้กับสมาชิกที่เป็นคนในชุมชนเป็นหลัก มีการคัดสรรบุคลากรตามตำแหน่งและรวมถึงการฝึกอบรมเพื่อเพิ่มทักษะฝีมือที่ส่งต่อสืบทอดกันต่อไปให้ลูกหลานในอนาคตen_US
Appears in Collections:BA: Independent Study (IS)

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
641532121 Anurak Banthit.pdf10.06 MBAdobe PDFView/Open    Request a copy


Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.