Please use this identifier to cite or link to this item: http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/79185
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorวรรณัย สายประเสริฐ-
dc.contributor.authorประภัสสร วงศ์เสือen_US
dc.date.accessioned2023-11-13T16:12:39Z-
dc.date.available2023-11-13T16:12:39Z-
dc.date.issued2023-10-
dc.identifier.urihttp://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/79185-
dc.description.abstractThis independent research aims to study the motivation for working of medical equipment representatives in the upper northern sales area. Using two-factor theory, consisting of Maintenance factors and Motivation factors. Data were collected by using questionnaires. The sample group was 300 medical equipment representatives in the upper northern region sales area. Data were analyzed by using Descriptive Statistics, including Frequencies, Percentages and Averages and also Inferential Statistics to compare the differences between Mean levels of importance regarding work motivation which consisting of tests to compare the differences in the motivation of the sample group when classified by job position, and used one-way analysis of variance to compare and contrast the motivations of the sample group when classified by age and length of employment as a medical equipment representative. The results of the study found that the majority of sample group were female, aged 36-40 years, with the highest level of education at the bachelor's level. Graduated with the highest level of education in the field of business administration and working for multinational medical equipment companies. Their working years as medical equipment representatives ranged were 1-3 years, 4-6 years, and more than 10 years. Most sample group worked as medical equipment sales representatives. Received salary, other income and compensation in the range of more than 60,000 baht. The results of the study of the level of importance to overall work motivation of the sample group found that overall Maintenance factors were important to the work motivation at a high level. The average values in each aspect were as follows: salary, relationships with colleague, the level and quality of supervision, policy and administration, job security, respectively, while the environment aspect was important for working motivation at a moderate level. As for overall Motivation factors, they were important to work motivation at a high level. The average values in each respect were as follows: success, responsibility, recognition, job characteristics, respectively, while job growth and progress aspects were important for work motivation at a moderate level. When comparing the differences in the Mean levels of importance to work motivation of the sample group, classified by age, length of employee and position, it was found that there were differences in some sub-factors at the significance level of 0.05.en_US
dc.language.isootheren_US
dc.publisherเชียงใหม่ : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่en_US
dc.titleแรงจูงใจในการทำงานของผู้แทนขายเครื่องมือแพทย์ในเขตพื้นที่ การขายภาคเหนือตอนบนของประเทศไทยen_US
dc.title.alternativeMotivation to work of medical equipment sales representatives in upper northern Thailand sales areaen_US
dc.typeIndependent Study (IS)
thailis.controlvocab.thashการจูงใจในการทำงาน-
thailis.controlvocab.thashเวชภัณฑ์ -- การขาย-
thailis.controlvocab.thashพนักงานขาย-
thesis.degreemasteren_US
thesis.description.thaiAbstractการค้นคว้าอิสระนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาแรงจูงใจในการทำงานของผู้แทนขายเครื่องมือแพทย์ในเขตพื้นที่การขายภาคเหนือตอนบนของประเทศไทย โดยใช้ทฤษฎีสองปัจจัยประกอบด้วย ปัจจัยบำรุงรักษาและปัจจัยจูงใจ เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูลคือ แบบสอบถาม กลุ่มตัวอย่างคือ ผู้แทนเครื่องมือแพทย์ในเขตพื้นที่การขายภาคเหนือตอนบน จำนวน 300 ราย วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละและค่าเฉลี่ย และสถิติอนุมานในการเปรียบเทียบความแตกต่างระหว่างค่าเฉลี่ยระดับความสำคัญเกี่ยวกับแรงจูงใจในการทำงาน ประกอบด้วย การทดสอบเพื่อเปรียบเทียบความแตกต่างของแรงจูงใจของผู้ตอบแบบสอบถาม เมื่อจำแนกตามตำแหน่งงาน และการวิเคราะห์ความแปรปวนทางเดียว เพื่อเปรียบเทียบความแตกต่างของแรงจูงใจของผู้ตอบแบบสอบถาม เมื่อจำแนกตามช่วงอายุและอายุงานที่ประกอบอาชีพเป็นผู้แทนเครื่องมือแพทย์ ผลการศึกษา พบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง มีอายุช่วง 36-40 ปี จบการศึกษาสูงสุดในระดับปริญญาตรี และสาขาวิชาที่สำเร็จการศึกษาในระดับสูงสุด คือ บริหารธุรกิจ ทำงานบริษัทเครื่องมือแพทย์ข้ามชาติ อายุงานที่ประกอบอาชีพเป็นผู้แทนเครื่องมือแพทย์คือ 1-3 ปี และ 4-6 ปี และมากกว่า 10 ปี เท่ากัน โดยผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่ทำงานในตำแหน่งผู้แทนขาย ได้รับเงินเดือนรายได้รวมและค่าตอบแทนอื่นๆ อยู่ในช่วงมากกว่า 60,000 บาท ผลการศึกษาระดับความสำคัญต่อแรงจูงใจในการทำงานของผู้ตอบแบบสอบถามโดยรวม พบว่า ปัจจัยบำรุงรักษาในภาพรวมมีความสำคัญต่อแรงจูงใจในการทำงานในระดับมาก โดยเรียงลำดับค่าเฉลี่ยในแต่ละด้าน ดังนี้ ด้านเงินเดือน ด้านความสัมพันธ์กับผู้ร่วมงาน ด้านระดับและคุณภาพของการปกครองบังคับบัญชา ด้านนโยบายและการบริหาร ด้านความมั่นคงในการทำงาน ตามลำดับ ส่วนด้านสภาพแวดล้อมในการทำงานมีความสำคัญต่อแรงจูงใจในการทำงานในระดับปานกลาง ส่วนปัจจัยจูงใจในภาพรวมมีความสำคัญต่อแรงจูงใจในการทำงานในระดับมาก โดยเรียงลำดับค่าเฉลี่ยในแต่ละด้าน ดังนี้ ด้านความสำเร็จในการทำงาน ด้านความรับผิดชอบ ด้านการได้รับการยอมรับ ด้านลักษณะงานที่ปฏิบัติ ตามลำดับ ส่วนด้านการเติบโตและความก้าวหน้าในหน้าที่การงานมีความสำคัญต่อแรงจูงใจในการทำงานในระดับปานกลาง เมื่อเปรียบเทียบความแตกต่างของค่าเฉลี่ยระดับความสำคัญต่อแรงจูงใจในการทำงานของผู้ตอบแบบสอบถาม เมื่อจำแนกตามช่างอายุ อายุงานและตำแหน่งงาน พบว่ามีความแตกต่างกันในบางปัจจัยย่อยที่ระดับนัยสำคัญ 0.05en_US
Appears in Collections:BA: Independent Study (IS)

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
631532064-ประภัสสร วงศ์เสือ.pdf2.27 MBAdobe PDFView/Open    Request a copy


Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.